สิงคโปร์--28 เม.ย.--ซีเอ็นดับบลิว-เอเชียเน็ท
นายโรเบิร์ต เอ็ม.ไฟรด์แลนด์ ประธานคณะกรรมการและนายอาร์.เอ็ดเวิร์ด ฟลัด ประธานบริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟีลด์ ประกาศเมื่อวานนี้ว่าทางบริษัทและรัฐบาลอินโด นีเซียได้บรรลุเงื่อนไขขั้นสุดท้ายในสัญญารุ่นที่ 6 จำนวน 3 ฉบับเกี่ยวกับการสำรวจเหมือง แร่บนเนื้อที่จำนวน 3 ล้านเฮคเตอร์ (7.4 ล้านเอเคอร์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ รัฐกะลิมันตันแล้ว โดยอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ มีส่วนในผลประโยชน์จำนวน 90 % จาก บริษัทร่วมทุน 3 แห่งที่มีสัญญาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ อินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ ยังสามารถมีส่วนร่วมในผลประโยชน์จำนวน 51 % ในสัญญาการสำรวจเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับบนเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 1.1 ล้านเฮคเตอร์ (2.7 ล้านเอเคอร์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐกะลิมันตันอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้อินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์เคยประกาศค้นพบแร่ทองคำเป็นจำนวนมากในพื้นที่ของบริษัทฮัลลัม แอสเซ็ท ซึ่ง เป็น 1 ในผู้ทำสัญญาการทำงาน 2 ฉบับทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐ ส่วนสัญญาอีก 1 ฉบับที่ทางอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์มีสิทธิอยู่ด้วยนั้น เป็นของบริษัทเบิร์ชเมาน์เท่นรีสอร์ซเซส
ทั้งนี้ สัญญาในรัฐกะลิมันตันทั้ง 5 ฉบับอยู่ในกลุ่มสัญญาการทำงาน 65 ฉบับ ที่มี การลงนามไปเมื่อวานนี้ ณ กรุงจาร์กาต้า ในพิธีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยกระทรวง ทรัพยากรเหมืองแร่ของอินโดนีเซีย ซึ่งจะทำให้อินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์สามารถเร่งโครงการ สำรวจทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐกะลิมันตันในปัจจุบัน และเริ่มการขุดเจาะเป้าหมาย สำคัญเบื้องต้นได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งในสิทธิในการทำเหมืองบนที่ดินใน ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งอาจขยายออกไปเป็น 50 ปีได้ หากยังคงมีการพัฒนาอยู่ อย่างไรก็ดี จนถึงบัดนี้ทางบริษัทได้ทำโครงการสำรวจเหมืองแร่ในรัฐนี้มานาน 18 เดือนแล้ว และถูกจำ กัดอยู่เพียงการทำการสำรวจ, จัดทำแผนที่, เก็บตัวอย่างและขุดค้นพื้นผิวอย่างจำกัด ภายใต้ เงื่อนไขตามใบบอนุญาตเบื้องต้นของทางบริษัทเท่านั้น
บริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์มีพอร์ททรัพย์สินการลงทุนที่รวมทั้งทองคำและทองแดง และอื่นๆในอินโดนีเซีย, พม่า, คาซัคสถาน, เกาหลีใต้, เวียดนามและมหู่เกาะฟิจิ ส่วนหุ้น ของทางบริษัทนั้น มีการเทรดอยู่ในตลาดหุ้นโตรอนโต้และตลาดหุ้นออสเตรเลียภายใต้สัญลักษณ์ ไอเอ็นจี --จบ--
--บิสนิวส์แปลและเรียบเรียง-นส/กก--
ด้วยศูนย์นวัตกรรมสังคม คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มโครงการ Financial Communication Center ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์นวัตกรรมสังคมและโครงการ Townsend’s Thai โดยได้รับการสนับสนุนจาก JPMorgan Chase Foundation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเงินให้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ที่ห่างไกล ภายในงานจะมีการบรรยายสรุปรวมทั้งท่านสื่อมวลชนจะมีโอกาสได้สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ถิรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมสังคม ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต เอ็ม. ทาวน์เซ็นด์ จาก