สิงคโปร์--19 มิ.ย.--พีเอ็นดับบลิว-เอเชียเน็ท
นายโรเบิร์ต เอ็ม ฟรีดแลนด์ ประธานคณะกรรมการ และนายอาร์ เอ็ด เวิร์ด ฟลัด ประธานบริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ ได้ประกาศเมื่อวานนี้ว่า ทางบริษัทได้ เจรจาเกี่ยวกับข้อเสนอจากบริษัทรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น 2 แห่งที่จะให้เงินสนับสนุนและ ดำเนินการก่อสร้างในโครงการคอมเพล็กซ์เหมืองทองแดงโมนีวาในระยะแรกทางภาค เหนือ-กลางของเมียนม่าร์
ข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการยอมรับของคณะกรรมการร่วมทุนโมนีวา ได้รวมถึง:
- เงินกู้มูลค่า 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในการให้เงินสนับสนุนการก่อสร้างใน ระยะแรกของโครงการดังกล่าว
- สัญญาดำเนินการด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างมูลค่า 77 ล้านดอลล่าร์
- ข้อตกลงการจำหน่ายระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ทองแดงขั้วบวกที่ จะผลิตในช่วงการดำเนินงาน 10 ปีแรก
บริษัทอินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ได้รายงานข้อเสนอการให้เงินสนับสนุนและการ ก่อสร้างโครงการดังกล่าวต่อบริษัทไมนิ่ง เอ็นเตอร์ไพรซ์ นัมเบอร์ วัน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วม ลงทุน 50 % ซึ่งก็เป็นการดำเนินการตามข้อผูกมัดเบื้องต้นประการหนึ่งของบริษัทอินโดไช น่า โกลด์ฟิลด์ในการร่วมลงทุน
นายฟลัดได้กล่าวว่า "โอกาสที่จะเข้าไปมีบทบาทในการดำเนินโครงการ เหมืองทองแดง extraction-electrowinning แบบหลอมละลาย ระดับโลกในเอเชีย ที่มีต้นทุนต่ำเป็นขั้นตอนที่สำคัญในวิวัฒนาการของทางบริษัทจากผู้พัฒนาไปเป็นผู้ผลิต ซึ่งใน ขณะนี้โครงการเหมืองทองแดงโมนีวานี้มีปัจจัยสนับสนุนด้านการเงินที่จะทำให้เหมืองดังกล่าว ดำเนินการผลิตตามกำหนดการภายใน 12 เดือนของการเริ่มการก่อสร้าง"
ทั้งนี้ คณะกรรมการของโครงการร่วมทุนโมนีวาจะตัดสินใจภายใน 60 วัน เกี่ยวกับการยอมรับข้อเสนอให้เงินสนับสนุนและดำเนินการก่อสร้างของบริษัทญี่ปุ่นดังกล่าว
ในโครงการร่วมทุนดังกล่าวได้มีการดำเนินการโรงงานในขั้นทดลองสำหรับ การผลิตทองแดงระบบ extraction-electrowinning แบบหลอมละลาย (SX-EW) บริเวณสถานที่ตั้งเหมืองดังกล่าวมาเกือบ 2 ปีแล้ว โดยการศึกษาด้านการดำเนินการของ บริษัทมินพร็อค เอ็นจิเนียร์ในเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย และการดำเนินงานด้านวิศวกรรม ของบริษัทซีเอ็มพี เอสแอนด์เอฟในบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ได้ยืนยันว่าทองแดงที่ เหมืองโมนีวามีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการดำเนินการกรองและดำเนินการ SX-EW รวมทั้งไม่จำเป็นต้องมีการตั้งโรงหลอมในบริเวณเหมืองด้วย
นายฟลัดได้กล่าวว่า ทางบริษัทได้วางแผนที่จะดำเนินการผลิตในระยะแรกใน การผลิตทองแดงขั้วแดงที่มีความบริสุทธิ์สูง (99.999 %) จำนวน 25,000 ตัน (55 ล้าน ปอนด์) ต่อปีในปี 1999 โดยจะมีต้นทุนการดำเนินการเป็นเงินประมาณ 48 เซนต์สหรัฐต่อ ปอนด์ ซึ่งแผนการผลิตนี้พิจารณาตามเงินสำรองที่เพียงพอสำหรับการสนับสนุนการทำเหมือง ทองแดงตามอัตราที่ได้วางแผนไว้ในระยะเวลามากกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ บริษัทมินพร็อคยังได้เสร็จสิ้นการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการ ดำเนินการเหมืองทองแดงเลทปาดวง ซึ่งเป็นเหมืองขนาด 480 ล้านตันในบริเวณใกล้เคียง ที่ทางโครงการร่วมทุนวางแผนที่จะดำเนินการในระยะที่ 2 ของโครงการโมนีวา โดยคาด ว่าปริมาณการผลิตทองแดงขั้วบวกมีความบริสุทธิ์สูงจากเหมืองเลทปาดวงจะอยู่ที่ระดับ 63,500 ตัน (140 ล้านปอนด์) ต่อปี ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตรวมกันต่อปีจากโครงการ โมนีวาจากระยะที่ 1 และระยะที่ 2 อยู่ที่ระดับ 88,500 ตัน (195 ล้านปอนด์) โดยต้น ทุนในการดำเนินการการผลิตทองแดงจากเหมืองเลทปาดวงที่มีขนาดใหญ่กว่า ประมาณว่า จะอยู่ที่ระดับราว 43 เซนต์/ปอนด์
ทั้งนี้ พอร์ทฟอลิโอสินทรัพย์อื่นๆของทางบริษัทได้รวมถึง เหมืองทองคำและ ทองแดงและการลงทุนอื่นๆในอินโดนีเซีย, คาซัคสถาน, เกาหลีใต้, เวียดนาม และฟิจิ โดยได้มีการซื้อขายหุ้นของทางบริษัทในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต้ และในตลาดหลักทรัพย์ ออสเตรเลียภายใต้ชื่อ ไอเอ็นจี ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับทางบริษัทและโครงการ ของทางบริษัทจะสามารถเรียกดูได้จากเว็บไซด์ดังต่อไปนี้ http://www.goldfields. com --จบ--
--บิสนิวส์แปลและเรียบเรียง-สจ/กก--
ด้วยศูนย์นวัตกรรมสังคม คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มโครงการ Financial Communication Center ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์นวัตกรรมสังคมและโครงการ Townsend’s Thai โดยได้รับการสนับสนุนจาก JPMorgan Chase Foundation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเงินให้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ที่ห่างไกล ภายในงานจะมีการบรรยายสรุปรวมทั้งท่านสื่อมวลชนจะมีโอกาสได้สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ถิรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมสังคม ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต เอ็ม. ทาวน์เซ็นด์ จาก