กระทรวงวิทย์ฯ เชิญร่วมพิธีเปิดงาน "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และ "วันเทคโนโลยีของไทย"

17 Oct 2002

กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--คอร์ปอเรท พับลิค รีเลชั่น คอนซัลแตนท์

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความยินดีขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมเปิดงาน "พระบิดาแห่งเทคโนโลยี" และ "วันเทคโนโลยี" (Thai-Tech 2002) เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" เพื่อแสดงความจงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาตลอด รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ และพระวิริยะอันสูงส่งที่ทรงศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทรงนำเทคโนโลยี สมัยใหม่มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยให้มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และภาคภูมิใจในความเป็นไทย ด้วยพิธีเปิดงานอย่างสมพระเกียรติ โดยนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายสันทัด สมชีวิต ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2545 เวลา 08.30-11.30 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ อาคารอิมแพค คอนเวนชั่นส์ เซ็นเตอร์

กำหนดการ

พิธีเปิดงานเทิดพระเกียรติ

"พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และ "วันเทคโนโลยีของไทย" ปี 2545

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เวลา 08.30-11.30 น.

ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารอิมแพค คอนเวนชั่นส์ เซ็นเตอร์

08.30-09.00 น.

แขกผู้มีเกียรติลงทะเบียนและนั่งประจำที่

09.00-09.05 น.

ประธานในพิธี เดินทางมาถึงห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม

อาคารอิมแพค คอนเวนชั่นส์ เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี

09.05-09.10 น.

ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน

09.10-09.20 น.

ประธานในพิธี กล่าวถวายราชสดุดี และกล่าวเปิดงาน

09.20-09.30 น.

นำเสนอวีดีทัศน์ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

"พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"

09.30-09.40 น.

พิธีมอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

09.40-09.50 น.

พิธีมอบโล่ห์ผู้มีอุปการะคุณ

09.50-10.05 น.

การแสดงของนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ชุด "ต้นไม้ของพ่อ"

10.05-10.15 น.

พิธีเปิดนิทรรศการงานเทิดพระเกียรติ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"

และ "วันเทคโนโลยีของไทย" ปี 2545

10.15-11.30 น.

ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติชมนิทรรศการ

สำหรับกิจกรรมในงานเทิดพระเกียรติ มีดังนี้

  • นิทรรศการ "บ้านพ่อ" แสดงถึงพระราชประวัติ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านในด้านต่างๆ
  • ผลงานสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น และวิจัย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จำนวน 17 ชิ้น อาทิกังหันชัยพัฒนา เรือใบมด รถม้า เครื่องสีข้าวกำลังคน เครื่องตะบันน้ำ ฯลฯ
  • การฉายหนังส่วนพระองค์ทุกวัน วันละ 4 รอบ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิสัยทัศน์พ่อพสกนิกรชาวไทย
  • นิทรรศการโครงการพระราชดำริ และโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่น นม ผลไม้และสมุนไพร ฯลฯ
  • นิทรรศการผลงานเทคโนโลยี และนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่ คือ พลังงาน ไอที สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ 3 กลุ่มย่อย คือ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการบริการ
  • นิทรรศการที่จัดแสดงการพัฒนาเทคโนโลยีโดยหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และรัฐวิสาหกิจ
  • นิทรรศการที่จัดแสดงเทคโนโลยีและการพัฒนาภาคเอกชน และชุมชน เช่น เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาไทยในแต่ละภาค
  • โครงการประกาศผลและแสดงผลงานรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เพื่อสนับสนุนให้เกดแรงกระตุ้นในการสร้างบุคลากรในการคิดค้น ประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อภาคการผลิต และบริการของประเทศ พร้อมแข่งขันในเวทีโลกได้ นอกจากนี้จัดเสวนาเกี่ยวกับผลงาน โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • โครงการประกาศผล และแสดงผลงานโครงการนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 กว่า 27 ผลงานเด่นที่ผ่านการคัดเลือกเข้าชิงระดับประเทศ เช่น เครื่องออกล็อตเตอรี่ เครื่องทำนายน้ำท่วมเครื่องชมปะการัง ฯลฯ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • โครงการประกาศผล และแสดงผลงานโครงการสนับสนุนโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านไทย ครั้งที่ 1 กว่า 24 โครงการ เช่น เครื่องสกัดสารกำจัดแมลง (แมลงขยาด) ผนังกระดาษสา เครื่องกวักไหมและปั่นหลอดพลังงานแสดงอาทิตย์ ฯลฯ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • การจัดสัมมนาวิชาการ และสัมมนาเทิดพระเกียรติ โดย 2 สถาบัน คือ สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ "พระมหากษัตริย์นักเทคโนโลยี" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายปราโมทย์ ไม้กลัด และ ดร.สันทัด โรจนสุนทร และ สัมมนาการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย เช่น เทคโนโลยีอัญมณีไทย เทคโนโลยีการผลิตกุ้ง แนวทางการพัฒนาอาหารไทย-สมุนไพรไทย นานาทรรศนะกับ 17 มาตรการแก้ปัญหาจราจร โครงการสร้างสะพานพระราม 8 ฯลฯ
  • การฝึกอาชีพ และสาธิต กว่า 27 ประเภท โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จาก 5 สถาบัน คือ
  • สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) เช่น การผลิตเมรัยผลไม้ การทำยาหม่องสมุนไพร การผลิตแท่งเพาะชำ และปุ๋ยอินทรีย์วท. จากกากตะกอน บ่อบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ฯลฯ
  • กรมวิทยาศาสตร์บริการ เช่น การทำเครื่องดื่มชนิดผง การทำเครื่องจักรสาน เซรามิก
  • กรมวิชาการเกษตร เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลวจากสมุนไพร
  • สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น ผ้าบาติกวิทยาศาสตร์ ตุ๊กตานานาชาติจากเปลือกข้าวโพด
  • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช เช่น คุกกี้สมุนไพร ถั่งปรุงรสสมุนไพร ฯลฯ
  • เวทีสัมมนาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น เรื่องการรักษาสิทธิบัตรกับเทคโนโลยี / การพัฒนาเยาวชนกับเทคโนโลยี โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เวทีเสวนา และนำเสนอผลงาน พร้อมการสาธิตของเยาวชน / บุคคลที่มีผลงานชนะการประกวด และผลงานดีเด่น รวมทั้งผลงานเชิงความคิดสร้างสรรค์
  • เป็นแหล่งเชื่อมโยง และเวทีนัดพบเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักเทคโนโลยี ดีเด่น / นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ / นักประดิษฐ์ / นักลงทุน / นักอุตสาหกรรม และผู้สนใจ
  • จัดแสดงชิ้นงาน / สิ่งประดิษฐ์ ผลงานของคนไทยที่ได้รับรางวัล และผลงานที่น่าสนใจ
  • การสาธิตโดยผู้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ / องค์กรต่าง ๆ
  • การจำหน่ายสินค้าจากชุมชน เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยกรมพัฒนาชุมชน รวมทั้งภูมิปัญญาไทยอื่น ๆ
  • การนำเสนอและจัดนิทรรศการเทคโนโลยีด้านการแพทย์กับภูมิปัญญาไทย เช่น สมุนไพรกับการรักษาโรค
  • เกม และการแสดงมากมาย โดยพิธีกรชื่อดัง คุณอนุวัฒน์ อนุตระกูลชัย พิธีกรรายการที่นี่ประเทศไทย รวมทั้งทอล์คโชว์จาก อ.จตุพล ชมพูนิช

สอบถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่ บ. ไมซ์ เมเนจเม้นท์ จำกัด โทร. 0-2717-2788 , 0-2668-7995-6 และ 01-909-9049 , 01-916-4038--จบ--

-ออ/นห-