7-8 ก.ย.นี้ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ IEA ระดมสมองการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียนประจำปี 2009 เพื่อก้าวเข้าสู่เจเนอเรชั่นที่ 2 เชื่อมั่นภูมิภาคอาเซียนจะเป็น “OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--กระทรวงพลังงาน

ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2552 กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ(International Energy Agency : IEA) จัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงหน่วยงานด้านพลังงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตไบโอดีเซล สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงาน IEA และเจ้าหน้าที่จากอาเซียนพร้อมทั้ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และบราซิลรวมกว่า 18 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้มากกว่า 200 คน นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทยในการจัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาพลังงานชีวภาพอย่างยั่งยืน” ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพภายใต้แผนปฏิบัติการด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation : APAEC 2010-2015) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพไปสู่การพัฒนาในยุคต่อไป (2nd Generation Biofuels) หรือการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวัตถุดิบด้านพลังงาน ประเด็นสำคัญที่จะมีการพูดคุยครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับอาเซียนและระดับโลก เรื่องของเทคโนโลยีและการถ่ายทอดงานวิจัย โดยเฉพาะประเด็นข้อถกเถียงด้านวัตถุดิบการนำพืชอาหารมาผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งในอนาคตได้มีการแก้ไขไปสู่การพัฒนาพลังงานในยุค 2nd Generation Biofuels เพื่อผลิตจากพืชพลังงานโดยตรงไม่พึ่งพาการใช้พืชอาหาร เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตเอทานอลจากเศษไม้และฟางข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ การหารือที่สำคัญ คือ เรื่องราคาเอทานอลแลกเปลี่ยนแนวคิดในการกำหนดราคาในแต่ละประเทศ ซึ่งมีการสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้ราคาเอทานอลสามารถแข่งขันได้กับราคาน้ำมันโดยไม่มีกลไกการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งประเทศบราซิลประสบความสำเร็จมาแล้ว นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า ในอนาคตกลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพเพียงพอในการเป็นศูนย์กลางผู้ผลิตและผู้ส่งออกพลังงานชีวภาพในระดับโลก หรืออีกนัยหนึ่งเป็น “OPEC แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ” เนื่องจากพบว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพที่เข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น ประทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เป็น ผู้ส่งออกปาล์มอันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ส่วนประเทศไทยนั้น มีศักยภาพความเหมาะสมด้านภูมิศาสตร์การเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านการพัฒนา/ผลิตวัตถุดิบและเชื้อเพลิงชีวภาพสำเร็จรูป เช่น แก๊สโซฮอล์ รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย (Flexible Fuel Vehicle) และไบโอดีเซล สำหรับในระดับภูมิภาคสำนักเลขาธิการอาเซียน และศูนย์พลังงานอาเซียน ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและเน้นให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ด้านการกำกับดูแล กฎหมาย และกฎระเบียบ (Regulatory Framework) ด้านเศรษฐศาสตร์ การค้า และการลงทุน (Economic Trade and Investment) และด้านการเงิน (Financing) โดยมีเป้าหมายในปี 2015 ที่จะถึงนี้ในการเป็น 1 เดียว (ASEAN Community 2015) ในรูปแบบเดียวกับ EU “การจัดงานประชุมครั้งนี้จึงเป็นการสะท้อนทิศทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจังในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทดแทนการนำเข้าพลังงานหรือลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นผู้นำทางด้านพลังงานชีวภาพ เพราะเรามีแหล่งผลิตวัตถุดิบ และเป็นประเทศต้นแบบที่มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี โดยส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างหลากหลาย ซึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ผู้ใช้น้ำมันเบนซินสามารถเลือกเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมเอทานอลได้ตั้งแต่สัดส่วน 10% - 20% และปัจจุบันมีสัดส่วน เอทานอลสูงสุดถึง 85% หรือ E85 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต นอกจากนี้ในน้ำมันดีเซลก็ให้มีการผสมไบโอดีเซลอย่างน้อย 2% และสามารถเลือกเติมไบโอดีเซล B5 ที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 5% ได้” นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าว

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+องค์การพลังงานระหว่างประเทศวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...