จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทค/สวทช. และกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกระบือไทยพันธุ์ดีเป็นชุดสุดท้าย ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลและเปิดเผยไซส์กระบือไทยที่ถูกต้องได้มาตรฐาน เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคัดลักษณะกระบือที่สวยงามเพื่อใช้เป็นพ่อ แม่พันธุ์ และการใช้งาน ซึ่งมีความสาคัญต่อผลผลิตที่ต้องการ เช่น การเติบโต การใช้แรงงาน และความคงทนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูตามวิถีของเกษตรกรไทยให้เป็นสากล
กระบือ คือ สัตว์ที่อยู่กับสังคมและวัฒนธรรมทางด้านเกษตรกรรมของไทยมาช้านาน กระบือมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งจนถึงขั้นการประกวดกระบือสวยงามซึ่งได้รับความสนใจและจัดให้มีขึ้นทุกปี และทั้งนี้แม้จะเป็นการประกวดความสวยงาม แต่จากการสืบค้นและติดต่อสอบถามกับปราชญ์ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดพันธุ์กระบือ พบว่าทุกลักษณะของความสวยงามตามอุดมคติที่ใช้ในการประกวดมีความสัมพันธ์กับลักษณะการให้ผลผลิต ความสมบูรณ์พันธุ์ การใช้แรงงาน และความยืนยาวของอายุการใช้งานซึ่งเป็นลักษณะทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามเกณฑ์การให้คะแนนกระบือสวยงามยังเป็นลักษณะนามธรรม ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีประสบการณ์มากมาทำการประเมินตามความดีเด่นของลักษณะ (Type classification) และประเมินคะแนนมากน้อยตามความถูกต้องของลักษณะเด่น ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการให้คะแนนแบบเส้นตรง (Linear assessment) โดยยังไม่มีผู้ศึกษาการประเมินวิธีนี้ในกระบือมาก่อน เป็นการให้คะแนนตามลักษณะที่ปรากฏ โดยไม่คำนึงถึงลักษณะในอุดมคติ ค่าที่ได้ตามมาตรวัดนำมาจัดลำดับคะแนนอีกทีหนึ่ง วิธีนี้จำเป็นต้องวัดตำแหน่งสำคัญบนร่างกายกระบือ อย่างไรก็ตามการวัดตำแหน่งสาคัญของร่างกายกระบือเพื่อประเมินส่วนที่สาคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานยังมีข้อจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากกระบือมีขนาดใหญ่และบางตัวยังไม่สามารถบังคับให้ยืนนิ่งได้นาน การวัดโดยอาศัยเทคโนโลยีการสแกน 3 มิติ โดยคอมพิวเตอร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามกระแสพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้เพื่อนำค่าที่ได้ไปกำหนดลักษณะที่สาคัญ และคะแนนที่จะใช้ในการตัดสิน
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้การคัดเลือกกระบือพันธุ์ดีและสวยงามยังเป็นเรื่องยาก ขึ้นกับความสามารถในการรับรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนรู้เป็นหลัก องค์ความรู้ที่ได้จากการประกวดจึงคงเผยแพร่และถ่ายทอดอยู่ในวงจำกัดในหมู่นักวิชาการและปราชญ์ผู้รู้เท่านั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงความสาคัญของการคัดเลือก เพื่อปรับปรุงพันธุ์กระบือของไทยให้มีลักษณะที่ดีพร้อมเพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงกระบือไทยได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคัดลักษณะกระบือที่สวยงามเพื่อใช้เป็นพ่อ แม่พันธุ์ และการใช้งาน ซึ่งมีความสาคัญต่อผลผลิตที่ต้องการเช่น การเติบโต การใช้แรงงาน และความคงทนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูตามวิถีของเกษตรกรไทยให้เป็นสากล และให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เข้าใจ และปฏิบัติได้ง่าย โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น อินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างกว้างขวาง และเกษตรกรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง “โครงการพัฒนาฐานข้อมูลการประเมินรูปร่างกระบือ”จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จ
ะนำองค์ความรู้ที่ปรับเป็นสากล เข้าใจง่ายขึ้นเผยแพร่ และให้บุคคลากรได้ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง โดยมี ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ชลลดา บูรณกาล จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการฯ
เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงตามกระแสพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทค/สวทช. ได้วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและจัดสร้างเครื่องมือ “การประเมินรูปร่างกระบือโดยใช้เครื่องสแกนแบบสามมิติ (3D scanning)” มาสนับสนุนภารกิจสำคัญของโครงการฯ การทำงานของเครื่องมือนี้ทำงานโดยอาศัยหลักการการวัดระยะทางในการหาระยะความลึกของวัตถุตามตำแหน่งต่างๆ บนวัตถุทีละจุดไปเรื่อยๆ จนได้ข้อมูลครอบคลุมร่างกายทั้ง 360 องศา ซึ่งวิธีการวัดระยะทาง สามารถแบ่งกว้างๆได้เป็นสองแบบ คือ 1. แบบสัมผัส เช่น Coordinate Measuring Machines (CMMs) ซึ่งใช้หัววัดแบบสัมผัสและเคลื่อนที่ได้ติดอยู่บนแขนกล ทำการวัดระยะโดยการแตะหัววัดซึ่งไปยังผิววัตถุ และ 2. แบบไม่สัมผัส ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกกว่า โดยการวัดระยะทางใช้หลักการการสะท้อนกลับ (reflective) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วิธีดังกล่าวนี้ยังจำแนกออกเป็นวิธีทาง (i) non – optical ที่ใช้หลักการของ radar และ sonar กับ (ii) optical โดยใช้ภาพถ่ายในการหาระยะทางซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกจากการสร้างเครื่องมือแล้ว
เนคเทคยังได้พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ความสวยของกระบือและจัดทำ website เพื่อใช้เผยแพร่ข้อมูลทั้งหมด
การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลรูปร่างกระบือ ณ โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ อ.เมือง จังหวัดสระแก้ว ในครั้งนี้เป็นการดำเนินงานเป็นครั้งที่ 6 โดยครั้งที่ 1 จัดเก็บข้อมูลที่จังหวัดสุรินทร์ มีกระบือสวยงามที่กรมปศุสัตว์และปราชญ์ชาวบ้านคัดเลือกมาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 19 ตัว ครั้งที่ 2 จัดเก็บข้อมูลที่จังหวัดอุทัยธานี มีกระบือสวยงามที่กรมปศุสัตว์และปราชญ์ชาวบ้านคัดเลือกมาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 39 ตัว ครั้งที่ 3 จัดเก็บข้อมูลที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีกระบือสวยงามที่กรมปศุสัตว์และปราชญ์ชาวบ้านคัดเลือกมาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 10 ตัว ครั้งที่ 4 จัดเก็บข้อมูลที่จังหวัดอุทัยธานี มีกระบือสวยงามที่กรมปศุสัตว์และปราชญ์ชาวบ้านคัดเลือกมาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 51 ตัว ครั้งที่ 5 จัดเก็บข้อมูลที่จังหวัดนครพนม มีกระบือสวยงามที่กรมปศุสัตว์และปราชญ์ชาวบ้านคัดเลือกมาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 61 ตัว และครั้งที่ 6 ครั้งสุดท้าย เป็นกระบือของโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จำนวน 7 ตัว รวมจำนวนกระบือสวยงามที่เป็นตัวอย่างการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด 187 ตัว โดยข้อมูลทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ ประมวลผล และเปิดเผยไซส์กระบือไทยสวยงาม ในโอกาสต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก“โครงการพัฒนาฐานข้อมูลการประเมินรูปร่างกระบือ” ในครั้งนี้ คือ ประเทศไทยจะมีฐานข้อมูลลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ถึงการเป็นกระบืองานที่ดีเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ของกระบือไทยเพื่อการใช้งาน , ความสัมพันธ์ที่ได้จากการประเมินโดยวิธี มองจากรูปร่างลักษณะภายนอก และจากให้คะแนนในลักษณะ เส้นตรง สามารถนำมาเปรียบเทียบ และจัดทำมาตรฐานการประกวดกระบือลักษณะดี เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจและเกษตรกรต่อไป และมีอุปกรณ์เเครื่องสแกนกระบือที่สามารถใช้ในพื้นที่ได้จริง โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในปศุสัตว์ชนิดอื่นๆที่มีการใช้ค่าวัดเพื่อปรับปรุงลักษณะรูปร่าง เช่น โคนม แพะ เป็นต้น
ผู้สนใจสามารถชมเทคโนโลยีและเครื่องมือ “การประเมินรูปร่างกระบือโดยใช้เครื่องสแกนแบบสามมิติ (3D scanning” ได้ที่งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. NAC2011 ในวันที่ 24-26 มีนาคม 2554 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีCall Center 0-2564-8000
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน
27 มกราคม 2568 08:32 น.
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...
ต.ค. 65