เครือข่ายประมงพื้นบ้านเรียกร้องสหภาพยุโรปให้ตรวจสอบมาตรการต่อต้านประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของไทยให้รอบด้าน โปร่งใสและเป็นธรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงครามและสงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคม (1) รวม 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อผู้แทนคณะกรรมการสหภาพยุโรป ระบุสหภาพยุโรปตรวจสอบมาตรการต่อต้านประมงผิดกฏหมาย (IUU Fishing) ให้รอบด้าน รับฟังความคิดเห็นจากจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านและภาคประชาชน และคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านในระยะยาว

          ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมธิการยุโรป (EU) แจ้งเตือนต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพียงพอในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและขาดการควบคุม (IUU Fishing) โดยให้เวลา 6 เดือนในการดำเนินตามมาตรการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการ
          ต่อมากรมประมงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา IUU Fishing โดยตั้งทีมเฉพาะกิจควบคุมเรือประมงที่ออกจากท่าในพื้นที่ 22 จังหวัด ขณะเดียวกันก็มีแผนการที่จะ “นิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน” (Illegal Fishing) จำนวน 3,199 ลำ โดยจะออกอาชญาบัตรเครื่องมือประมงอวนลากให้กับเรือประมงอวนลากที่ผิดกฏหมายเหล่านี้
          “การใช้ใบเหลืองอียูเป็นข้ออ้างในการนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อนของกรมประมงนี้ถือเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของสหภาพยุโรปในการออกมาตรการ IUU Fishing เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน และยังจะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในการบริหารจัดการประมงและทรัพยากรทางทะเลในประเทศไทยอย่างมหาศาล ตลอดจนสร้างความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรประมงของประชาชนในประเทศเป็นวงกว้างอีกด้วย” บรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าว
          สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงครามและสงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคม มีข้อเรียกร้องถึงคณะกรรมธิการยุโรปดังนี้
          1. ให้คณะกรรมธิการยุโรปตรวจสอบมาตรการที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการอย่างเข้มข้นในการปลดล็อคใบเหลือง เช่น การจดทะเบียนเรือ และออกอาชญาบัตรให้กับเรือประมงไทย เนื้อหาพรบ. ประมง พ.ศ. 2558 และแผนการแก้ไขปัญหาประมงระดับชาติ ว่าสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอียูต่อเป้าหมายในการมุ่งรักษาแหล่งอาหารโปรตีนธรรมชาติในทะเลและสร้างมาตรการการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ยั่งยืน
          2. ให้คณะกรรมธิการยุโรปตรวจสอบเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดมาตรการปลดล็อคใบเหลืองประมงของรัฐบาลไทยเพื่อป้องกันความขัดแย้งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ และป้องกันการกีดกันการเข้าถึงทรัพยากรประมงของชาวประมงขนาดเล็กซึ่งเป็นผู้มีความเปราะบางมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย
          3. ให้คณะกรรมธิการยุโรปแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรการจากหลายภาคส่วนในแต่ละพื้นที่อย่างน้อยในเขต 22 จังหวัดที่มีท่าเรือและการทำการประมงอย่างเข้มข้นเพื่อตรวจสอบมาตรการที่ถูกกำหนดว่าได้มีการปฏิบัติจริงมากน้อยเพียงใด
          4. ก่อนที่คณะกรรมธิการยุโรปจะออกมาตรการไม่ว่าการปลดใบเหลืองหรือการให้ใบแดง ให้คณะกรรมธิการยุโรปจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านและภาคประชาชน
          5. เครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนเห็นว่า หากคณะกรรมาธิการยุโรปยอมรับมาตราการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของรัฐบาลไทยซึ่งมุ่งเพียงผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมประมงขนาดใหญ่โดยแลกกับความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน คณะกรรมาธิการยุโรปต้องตระหนักว่า แทนที่จะเป็นแนวทางออก กลับสร้างปัญหาที่เลวร้ายกว่าเดิมและจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย ความมั่นคงทางอาหาร วิถีการทำประมงและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงชายฝั่ง รวมถึงผู้บริโภคและสังคมไทยโดยรวมในที่สุด

หมายเหตุ
          (1) เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย 1.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 2.สมาคมรักษ์ทะเลไทย 3.มูลนิธิสายใยแผ่นดิน 4.องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย 5.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ข่าวสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย+เครือข่ายประมงพื้นบ้านวันนี้

เครือข่ายประมงพื้นบ้านดักทางรัฐบาล ย้ำนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนไม่ได้ช่วยปลดล็อกใบเหลืองอียู แต่กลับซ้ำเติมวิกฤตทะเลไทย

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงคราม สงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคมรวมกว่า 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมเรียกร้องมาตรการการจัดการปัญหาใบเหลืองประมง เนื่องจากมีข้อกังวลหลายประการในแผนการจัดการปัญหาประมงระดับชาติซึ่งยังไม่นำไปสู่การจัดการปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมธิการยุโรป (European Commission) แจ้งเตือนต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพียงพอ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ... ภาพข่าว: แก้ไขปัญหาประมงพื้นบ้าน — นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ...

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษต... ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ หารือประมงพื้นบ้าน — นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร...

ฟิช โฟล์ค ฟิน กินซีฟู้ดสด อร่อยและปลอดภัยในงาน Fisherfolk in Bangkok

จบลงไปแล้วอย่างอบอุ่น สำหรับงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey การเดินทางของคนจับปลา จัดโดย องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก ...

งาน Fisherfolk in Bangkok ครั้งแรกกับการเปิดตัวมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำ Bluebrand และร้านคนจับปลา ร้านจากชาวประมงสู่ผู้บริโภคโดยตรง

วันที่ 14-15 พฤศจิกายนนี้ ที่ Root Garden ทองหล่อซอย 3 องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก...

เชิญชวนเที่ยวงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey Fish Folk ฟิน!!

ถ้าคุณรู้ว่าปลาที่นอนสงบนิ่งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหรือวางบนถาดน้ำแข็งในตลาดนัด ผ่านการเดินทางจากทะเลมาถึงเราอย่างน้อย 3 ทอด ระหว่างทางถูกตรึงความสดด้วยสารฟอร์มาลีน คุณจะยังซื้ออยู่หรือไม่ ? องค์การอ็อกแฟม แห่งประ...

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไท... ช็อปอาหารทะเลสดๆ ปลอดภัย ช่วยชาวประมงอนุรักษ์ ช่วยทะเลไทย — สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี อาทิ สมาคมรักษ์ทะเลไทย, ...

ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญ... เทศกาลรวมพลคนกินปลา “เรือเล็กในทะเลใหญ่” — ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญหาการทำการประมงแบบทำลายล้างและการทำประมงเกินขนาดจนตกอยู่ในภาวะวิกฤติ...