เครือข่ายประมงพื้นบ้านดักทางรัฐบาล ย้ำนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนไม่ได้ช่วยปลดล็อกใบเหลืองอียู แต่กลับซ้ำเติมวิกฤตทะเลไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงคราม สงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคมรวมกว่า 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมเรียกร้องมาตรการการจัดการปัญหาใบเหลืองประมง เนื่องจากมีข้อกังวลหลายประการในแผนการจัดการปัญหาประมงระดับชาติซึ่งยังไม่นำไปสู่การจัดการปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
          ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมธิการยุโรป (European Commission) แจ้งเตือนต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพียงพอในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม(IUU Fishing)โดยให้เวลา 6 เดือนในการดำเนินตามมาตรการต่างๆ เพื่อถอดถอนใบเหลือง
ในมาตรการการจัดการปัญหาภายใต้แผนระดับชาติ กรมประมงมีแผนการ “นิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน” จำนวน 3,199 ลำโดยจะออกอาชญาบัตรเครื่องมือประมงอวนลากให้กับเรือประมงอวนลากที่ผิดกฏหมายเหล่านี้
          อย่างไรก็ตาม อันเนื่องมาจากมาตรการการลดและควบคุมจำนวนเรืออวนลากในน่านน้ำไทยที่ประกาศใช้เป็นระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(1)ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับการลดจำนวนเครื่องมืออวนลากและอวนรุนในปี พ.ศ. 2523 ทำให้เรือประมงอวนลากที่เกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ถือเป็นเรือประมงที่ผิดกฏหมายทั้งสิ้น ดังนั้น กรมประมงไม่สามารถออกอาชญาบัตรเครื่องมือประมงอวนลากให้กับเรือประมงเหล่านี้ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง “เรือประมงอวนลากเถื่อน” คือเรือประมงที่กรมประมงไม่สามารถออกอาชญาบัตรการทำประมงอวนลากให้ได้ (เรือบางลำอาจจะสวมอาชญาบัตรเครื่องมือประมงชนิดอื่นแทน) แต่ยังทำการลากอวนอย่างผิดกฏหมายอยู่ในน่านน้ำไทยและน่านน้ำต่างประเทศ
          งานวิจัย(2)หลายชิ้นสนับสนุนว่าการทำประมงอวนลากในประเทศไทยได้ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมทั้งยังทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของทรัพยากรสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นแนวปะการัง หญ้าทะเล ระบบนิเวศพื้นท้องทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำลายเครื่องมือประมงของชาวประมงพื้นบ้านในทะเลเพื่อดักจับปลาให้เสียหายอยู่เสมอ ซึ่งกรมประมงก็ตระหนักในปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี 
          “ประมงอวนลากได้ทำร้ายทะเลไทยและชุมชนประมงชายฝั่งอย่างรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน การแก้ปัญหา IUU Fishing ต้องไม่ผลักสถานการณ์ประมงไทยให้เลวร้ายไปกว่านี้ด้วยการนิรโทษกรรมเรือประมงอวนลากเถื่อน ในทางกลับกันรัฐควรจะพลิกวิกฤตที่ EU ให้ใบเหลืองประมงไทยเป็นโอกาสต่อมาตรการกำจัดเครื่องมือประมงทำลายล้างเหล่านี้ให้หมดไป” ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ ผู้จัดการโครงการการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง มูลนิธิสายใยแผ่นดินกล่าว
          สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงครามและสงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคม มีข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีดังนี้ :
          1. หยุดนิรโทษกรรมเรืออวนลาก อวนรุน เครื่องมือจับปลากะตักประกอบแสงไฟล่อในเวลากลางคืน และมีแผนการจัดการกับเรือประมงผิดกฎหมายเหล่านี้อย่างชัดเจนและเด็ดขาด
          2. มีมาตรการที่จะหยุด/ยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้างพันธุ์สัตว์น้ำและทำลายห่วงโซ่อาหารสัตว์น้ำในทะเลอย่างรุนแรง 3 ชนิด คืออวนลาก อวนรุน เครื่องมือจับปลากะตักประกอบแสงไฟล่อในเวลากลางคืนอย่างชัดเจน และให้รัฐบาลออกมาตรการคุ้มครองสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำหรือป้องกันการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์น้ำโดยออกมาตรการควบคุมธุรกิจอาหารสัตว์ปลาป่นที่ใช้สัตว์น้ำเศรษฐกิจ วัยอ่อนมาเป็นวัตถุดิบ
          3. ดำเนินการแก้ไขวิกฤตประมงไทยที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้การจัดการวางแผนต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม โดยเฉพาะภาคส่วนประมงพื้นบ้าน/ชาวประมงชายฝั่งและภาคประชาชนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในประเด็นต่อไปนี้เช่น
3.1 มีส่วนร่วมในกระบวนการร่างแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU)
3.2 มีส่วนร่วมในกระบวนการร่างกฏหมายลูกที่จะมารองรับกฏหมายประมง พ.ศ.2558 และควรมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เช่น ภาคส่วนประมงพื้นบ้าน และ ภาคประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

หมายเหตุ

(1) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การลดจำนวนและจำกัดปริมาณเครื่องประมงทำลายล้างในประเทศไทย :
http://www.greenpeace.org/seasia/th/PageFiles/674019/moac-reference.pdf
(2) รายงานเจาะวิกฤตทะเลไทย http://www.greenpeace.org/seasia/th/PageFiles/528232/thai-singlePages.pdf
(3) เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย 1.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 2.สมาคมรักษ์ทะเลไทย3.มูลนิธิสายใยแผ่นดิน 4.องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย 5.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย+เครือข่ายประมงพื้นบ้านวันนี้

เครือข่ายประมงพื้นบ้านเรียกร้องสหภาพยุโรปให้ตรวจสอบมาตรการต่อต้านประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของไทยให้รอบด้าน โปร่งใสและเป็นธรรม

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงครามและสงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคม (1) รวม 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อผู้แทนคณะกรรมการสหภาพยุโรป ระบุสหภาพยุโรปตรวจสอบมาตรการต่อต้านประมงผิดกฏหมาย (IUU Fishing) ให้รอบด้าน รับฟังความคิดเห็นจากจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านและภาคประชาชน และคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านในระยะยาว ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมธิการยุโรป (EU) แจ้ง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ... ภาพข่าว: แก้ไขปัญหาประมงพื้นบ้าน — นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ...

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษต... ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ หารือประมงพื้นบ้าน — นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร...

ฟิช โฟล์ค ฟิน กินซีฟู้ดสด อร่อยและปลอดภัยในงาน Fisherfolk in Bangkok

จบลงไปแล้วอย่างอบอุ่น สำหรับงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey การเดินทางของคนจับปลา จัดโดย องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก ...

งาน Fisherfolk in Bangkok ครั้งแรกกับการเปิดตัวมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำ Bluebrand และร้านคนจับปลา ร้านจากชาวประมงสู่ผู้บริโภคโดยตรง

วันที่ 14-15 พฤศจิกายนนี้ ที่ Root Garden ทองหล่อซอย 3 องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก...

เชิญชวนเที่ยวงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey Fish Folk ฟิน!!

ถ้าคุณรู้ว่าปลาที่นอนสงบนิ่งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหรือวางบนถาดน้ำแข็งในตลาดนัด ผ่านการเดินทางจากทะเลมาถึงเราอย่างน้อย 3 ทอด ระหว่างทางถูกตรึงความสดด้วยสารฟอร์มาลีน คุณจะยังซื้ออยู่หรือไม่ ? องค์การอ็อกแฟม แห่งประ...

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไท... ช็อปอาหารทะเลสดๆ ปลอดภัย ช่วยชาวประมงอนุรักษ์ ช่วยทะเลไทย — สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี อาทิ สมาคมรักษ์ทะเลไทย, ...

ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญ... เทศกาลรวมพลคนกินปลา “เรือเล็กในทะเลใหญ่” — ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญหาการทำการประมงแบบทำลายล้างและการทำประมงเกินขนาดจนตกอยู่ในภาวะวิกฤติ...