ฟิช โฟล์ค ฟิน กินซีฟู้ดสด อร่อยและปลอดภัยในงาน Fisherfolk in Bangkok

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          จบลงไปแล้วอย่างอบอุ่น สำหรับงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey การเดินทางของคนจับปลา จัดโดย องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก เมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา
          เรียกได้ว่าใครไปงานนี้ครบทั้ง ช็อป ชิม ชิลด์ แถมได้เกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับอาหารทะเลที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมเปิดตัวมาตรฐานอาหารทะเลพื้นบ้าน Blue Brand Standard มาตรฐานอาหารทะเลประมงพื้นบ้านปลอดภัย สด สะอาด ไร้สารพิษ
          ในวงเสวนา "คนกินปลา vs คนจับปลา" ณัฐพงศ์ เทียนดี พ่อหมอเจาะข่าวตื้นแห่ง SpokedarkTVกับ ตุ๊ก ชนกวนันท์ รักชีพ ตัวแทนคนกินชอบกินปลาและอาหารทะเลมากๆ แข่งกันตั้งคำถามมากมาย โดยเฉพาะ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารทะเลที่กิน สะอาดและปลอดภัยจริงๆ" หลังจากที่ได้รู้ว่าอาหารทะเลทั่วไปตามตลาดและห้างสรรพสินค้า เต็มไปด้วยสารฟอร์มาลินเพื่อยืดอายุให้ของสดเสมอ
          "เวลาปลาขึ้นมาเป็นพันสองพันกิโลกรัม พ่อค้าคนกลางจะคัดเลือกไซส์และใช้เวลาชั่งน้ำหนักปลานาน ระหว่างรอมันจะทำให้ปลาไม่สด ชาวประมงก็ต้องดองปลาด้วยฟอร์มาลีนตั้งแต่ในเรือ แพปลาใหญ่ๆ ทำอย่างนี้เหมือนกันหมด เพราะถ้ามาถึงตลาดกลาง ปลาคุณไม่สด หรือไม่สวย จะโดนตีกลับทั้งคันเลย" จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงพื้นบ้านจากร้านคนจับปลา ประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้อมูล
แต่ถ้าผู้บริโภคซื้อจากชาวประมงโดยตรง ที่ใช้วิธีการจับแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และรวมกลุ่มกันภายใต้ชื่อ "ร้านคนจับปลา" โดยชาวประมงลงหุ้นร่วมกัน ร่วมด้วย สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยและสมาคมรักษ์ทะเลไทย 60% เพื่อส่งตรงอาหารทะเลสู่ผู้บริโภคให้เร็วที่สุด คือ เอาขึ้นจากเรือ ทำความสะอาด แล้วแช่แข็ง เพียง 1 วัน ก็ส่งถึงมือผู้บริโภค
          "ซื้อตรงกับชาวประมงเองก็ดี จริงๆ แล้ว ตั้งแต่กินปลา ไม่เคยเจอ ไม่เคยรู้จักหน้าคนจับปลา ถ้าเรารู้จักหน้าคนจับปลา เราก็จะกินปลาอย่างเชื่อถือ เชื่อใจ สบายใจได้จริง" ณัฐพงศ์ หรือพ่อหมอเจาะข่าวตื้น คุยในวงเสวนาเพื่อยืนยันความสดจริง ปลอดภัยจริง ร้านคนจับปลาจาก 4 พื้นที่ คือ ประจวบคีรีขันธ์,นครศรีธรรมราช, สตูล และทะเลสาบสงขลา จึงนำอาหารทะเลทั้งสดและแปรรูปมาจำหน่ายในงาน ได้รับความสนใจจากคอซีฟู้ดกันอย่างล้นหลาม จนพื้นที่จัดงาน Root garden ทองหล่อซอย3 เล็กลงไปถนัดตา นอกเหนือจากความสด สะอาด และปลอดฟอร์มาลีนแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ คือ มาตรฐานอาหารทะเลประมงพื้นบ้าน Blue Brand Standard
          "Blue Brand Standard จะช่วยยืนยันได้ใน 4 เรื่อง คือ ความยั่งยืนของชุมชนประมงพื้นบ้าน ไม่มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใช้เครื่องประมงที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพเพราะมีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ" วีระพงษ์ ประภา ผู้ประสานงานภาคเอกชน องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย ที่อยู่เบื้องหลังมาตรฐานสีฟ้า อธิบาย โดยคาดการณ์ว่า ภายใน 3-5 ปี ตลาดประมงทั่วประเทศ จะมีปริมาณผู้ประกอบการที่ได้รับมาตรฐาน Blue Brand ร้อยละ 10
          ด้าน เสาวลักษณ์ ประทุมทอง ผู้จัดการร้านคนจับปลา เผยว่า ร้านคนจับปลาทำตามมาตรฐานทั้ง4 ข้อของ Blue Brand ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่ใดๆ ก็ได้ โดยใช้ตลอดทั้งสายพานตั้งแต่บนเรือจนถึงขึ้นฝั่ง หากต้องการใช้แบรนด์ร้านคนจับปลา ก็จะมีกติกาของร้านคนจับปลา หรือต้องการสร้าง Blue Brand ของตัวเองก็ได้เช่นเดียวกัน
"เพื่อเป็นการจัดการวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านด้วยตัวเอง ผ่านการพิสูจน์และยืนระยะอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ ต้องซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ทำ" เสาวลักษณ์ ทิ้งท้าย

ข่าวสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย+สมาคมรักษ์ทะเลไทยวันนี้

งาน Fisherfolk in Bangkok ครั้งแรกกับการเปิดตัวมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำ Bluebrand และร้านคนจับปลา ร้านจากชาวประมงสู่ผู้บริโภคโดยตรง

วันที่ 14-15 พฤศจิกายนนี้ ที่ Root Garden ทองหล่อซอย 3 องค์การอ็อกแฟม แห่งประเทศไทย สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย และเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก ขอเชิญร่วมงาน "Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey Fish Folk ฟิน!!" ครั้งแรกกับการเปิดตัว "Bluebrand" มาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำสีฟ้า อาหารทะเลปลอดภัยเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานอาหารทะเล จากองค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย ครั้งแรกกับการเปิดตัว "ร้านคนจับปลา (Fisherfolk)" ร้านจากชาวประมง ที่เกิดขึ้นเพื่อลดการเดินทางของปลา

เชิญชวนเที่ยวงาน Fisherfolk in Bangkok ตอน The Fisherfolk's Journey Fish Folk ฟิน!!

ถ้าคุณรู้ว่าปลาที่นอนสงบนิ่งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำหรือวางบนถาดน้ำแข็งในตลาดนัด ผ่านการเดินทางจากทะเลมาถึงเราอย่างน้อย 3 ทอด ระหว่างทางถูกตรึงความสดด้วยสารฟอร์มาลีน คุณจะยังซื้ออยู่หรือไม่ ? องค์การอ็อกแฟม แห่งประ...

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไท... ช็อปอาหารทะเลสดๆ ปลอดภัย ช่วยชาวประมงอนุรักษ์ ช่วยทะเลไทย — สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี อาทิ สมาคมรักษ์ทะเลไทย, ...

ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญ... เทศกาลรวมพลคนกินปลา “เรือเล็กในทะเลใหญ่” — ในปัจจุบันพบว่าท้องทะเลไทยต้องเผชิญกับปัญหาการทำการประมงแบบทำลายล้างและการทำประมงเกินขนาดจนตกอยู่ในภาวะวิกฤติ...

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ... ภาพข่าว: แก้ไขปัญหาประมงพื้นบ้าน — นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ...

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษต... ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ หารือประมงพื้นบ้าน — นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร...

เครือข่ายประมงพื้นบ้านเรียกร้องสหภาพยุโรปให้ตรวจสอบมาตรการต่อต้านประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ของไทยให้รอบด้าน โปร่งใสและเป็นธรรม

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงครามและสงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคม (1) รวม 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อผู้...

เครือข่ายประมงพื้นบ้านดักทางรัฐบาล ย้ำนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนไม่ได้ช่วยปลดล็อกใบเหลืองอียู แต่กลับซ้ำเติมวิกฤตทะเลไทย

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงคราม สงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคมรวมกว่า 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อนายกรัฐมนตรี...