ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. เดินหน้าสร้างนักศึกษา สู่ สตาร์ทอัพ จัดเวทีนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อคว้าทุนต่อยอดผลงานใช้ได้จริง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรม Demo Day นำเสนอแนวคิดผลงาน 9 ทีมสุดท้ายใน "โครงการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจเริ่มต้น (Digital Innovation Startup Apprentice)" หวังเป็นเวทีสร้างประสบการณ์นำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการ รวมถึงสร้างทักษะแก่นักศึกษาตรี-โท-เอก รวมถึงที่จบใหม่ และนักพัฒนาอิสระ ให้สามารถสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ และพร้อมเติบโตเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 ได้ต่อไป ผลทีมวอชอีซี่ (WASH's Easy) จาก ม.ขอนแก่น ทีมปิ่นโต (Pinto) จาก ม.รังสิต และทีม (ฮัพพี่สเปซ) Huppy.Space จาก มจพ. เป็น 3 ทีมที่คว้าเงินสนับสนุนสำหรับผลงานที่สามารถต่อยอดเชิงธุรกิจได้ จำนวนทีมละ 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ โดยมี นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เป็นผู้มอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดี
          นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า "ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. ได้ริเริ่มจัดทำ โครงการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจเริ่มต้น หรือ Digital Innovation Startup Apprentice เพื่อเปิดโอกาสการฝึกงานและสร้างทักษะสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ตรี-เอก) นักศึกษาจบใหม่ หรือนักพัฒนาอิสระ โดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริงด้านการสร้างผลงานนวัตกรรมดิจิทัลต้นแบบเพื่อใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ ด้วยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถเติบโตไปเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคตได้ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องพัฒนาผลงานต้นแบบนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยได้รับการอบรมทั้งด้านเทคนิคและด้านธุรกิจที่จำเป็นสำหรับการเป็น Startup เช่น การบริหารโครงการสร้างนวัตกรรม การออกแบบ Lean Startup (คือการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกยุคดิจิทัล) การลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจตลาดและความต้องการลูกค้า การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และการให้ทุนสนับสนุน เพื่อให้ผลงานนวัตกรรมพร้อมที่จะขยายผลใช้งานได้จริงในอนาคต และสามารถส่งต่อผู้เข้าร่วมโครงการให้หน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจของภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนซึ่งมีอยู่หลายหน่วยงานในปัจจุบันเพื่อบ่มเพาะธุรกิจในโอกาสต่อไป"
          "โดยช่วงที่ผ่านมา (มกราคม - เมษายน 2560) โครงการฯ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาผู้สนใจและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี โท เอก ที่ต้องการจะเป็น Startup และนักศึกษาที่ต้องการฝึกงานในสถานประกอบการ ซึ่งโครงการสามารถออกหนังสือรับรองการฝึกงานให้ได้ รวมถึงนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล บริหารธุรกิจ การตลาด การออกแบบ และอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น สาขาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ มัลติมีเดีย บริหารธุรกิจ เกษตร อาหาร เป็นต้น ตลอดจนผู้จบการศึกษาใหม่ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ซึ่งได้จัดอบรมทั้งในด้านเทคนิคและธุรกิจที่จำเป็นสำหรับการเป็น Startup ไปแล้วกว่า 112 คน จากทั้งสิ้น 68 โครงการ และได้คัดเลือกทีมที่มีความพร้อม จำนวน 9 ทีมสุดท้าย เข้าร่วมกิจกรรม Demo Day นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลงานต้นแบบนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ ซึ่งเวทีดังกล่าวจะช่วยสร้างประสบการณ์การนำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการ เพื่อคว้าเงินสนับสนุนสำหรับผลงานที่สามารถต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ จำนวน 3 ทีม ทีมละ 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ตลอดจนโอกาสพบปะลูกค้า พบเจอนักลงทุน และสตาร์ทอัพรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ" 
          ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. กล่าวต่อว่า "ผลที่จะได้รับจากโครงการ คือ ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีทักษะในการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลต้นแบบเพื่อใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์และสามารถเป็น Startup ในอนาคต ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจจากหน่วยงานต่างๆ ต่อไปได้ ตลอดจนช่วยสร้างให้เกิดนวัตกรรมต้นแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการตลาดและขยายผลใช้งานได้จริง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อันประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร (Food & Agri. Tech) นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Tech) นวัตกรรมการบริการและสื่อ (Service Tech) นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ (Health Tech) และระบบควบคุมอัตโนมัติและ Internet of Things (Industry 4.0) ตามนโยบาย Thailand 4.0 ต่อไป"
          ทั้งนี้ 9 ทีม ที่ร่วมนำเสนอ ได้แก่ ทีมที่ 1 Beauty Click (เว็บไซต์หาช่างแต่งหน้าทำผม) ประเภทเพิ่งจบการศึกษา (ไม่เกิน 2 ปี) จาก ม.Manchester และ ม.เกษตรศาสตร์ / ทีมที่ 2 Everysale (แอพรอคิวร้านอาหารบุฟเฟ่ต์) ประเภทนิสิตนักศึกษา จาก ม.ขอนแก่น / ทีมที่ 3 ZSAPCE (ระบบค้นหาและจองร้านกาแฟหรือร้านอาหาร) ประเภทนิสิตนักศึกษาจาก จากจุฬาลงกรณ์ฯ / ทีมที่ 4 PINTO (แอพบริการส่งอาหารกลางวันจากร้านดัง) ประเภทเพิ่งจบการศึกษา (ไม่เกิน 2 ปี) จาก ม.รังสิต / ทีมที่ 5 WASH'S EASY (แอพเติมเงินออนไลน์เพื่อใช้ในการจ่ายค่าบริการซักผ้า) ประเภทนิสิตนักศึกษา จาก ม.ขอนแก่น / ทีมที่ 6 Worldrounding (แอพหาและจองห้องพัก) ประเภทนักศึกษาที่ต้องการฝึกงาน จาก ม.ศรีปทุม ม.ศรีนครินวิโรฒ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / ทีมที่ 7 TESR (สอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Robot ผ่านสื่อออนไลน์) ประเภทนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ จากจุฬาลงกรณ์ฯ / ทีมที่ 8 Wonga (แอพทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย) ประเภทนิสิตนักศึกษา จาก ม.กรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี / และทีมที่ 9 Huppy.Space (เว็บไซต์รวบรวมจุดรับพัสดุใกล้บ้าน) ประเภทนิสิตนักศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. เดินหน้าสร้างนักศึกษา สู่ สตาร์ทอัพ จัดเวทีนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อคว้าทุนต่อยอดผลงานใช้ได้จริง
 
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. เดินหน้าสร้างนักศึกษา สู่ สตาร์ทอัพ จัดเวทีนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อคว้าทุนต่อยอดผลงานใช้ได้จริง
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. เดินหน้าสร้างนักศึกษา สู่ สตาร์ทอัพ จัดเวทีนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อคว้าทุนต่อยอดผลงานใช้ได้จริง
 
ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. เดินหน้าสร้างนักศึกษา สู่ สตาร์ทอัพ จัดเวทีนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อคว้าทุนต่อยอดผลงานใช้ได้จริง

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...