การพิจารณาคุณค่าของอาหารและแหล่งอาหารก่อนเลือกรับประทานสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งที่ท้าทายคือจะบริโภคอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ง่ายต่อการดำเนินชีวิต และปลอดภัยต่อสุขภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงดุลยพร ตราชูธรรมกล่าวในฐานะประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย (ภาคปกติ และภาคพิเศษ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลิตบัณฑิตให้เป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่สามารถใช้องค์ความรู้ช่วยให้เกิด "สังคมอาหารปลอดภัย"
และเป็นหนึ่งในผู้อุทิศตนเพื่อการทำหน้าที่ให้ความรู้ประชาชน "ฉลาดบริโภค" โดยสอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น"แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก" เช่นประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ผักและผลไม้" ที่สังคมควรตระหนักว่าบริโภคอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดและปลอดภัยที่สุด ผักและผลไม้เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งมีใยอาหารช่วยปรับสุขนิสัยการขับถ่าย ขับโคเลสเตอรอลออกจากร่างกายและลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้รวมกันให้ได้วันละ 400 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคมะเร็ง และโรคอ้วน เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงดุลยพร ตราชูธรรมได้ให้มุมมองว่า ในชีวิตจริงหากต้องตวงวัดอาหารด้วยเครื่องมือ อาจไม่สะดวกต่อการพกพา และนำออกมาใช้ในทุกครั้งที่ต้องรับประทานร่วมกับผู้อื่น จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการ"กะปริมาณ" ด้วย "วิธีลัด" (Hackathon) ที่ฉับไว และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
โดยใช้หลักว่า ผักและผลไม้ 400 กรัม เทียบเท่ากับ "ผัก 3 ส่วน และผลไม้ 2 ส่วน" ซึ่งสามารถกะปริมาณง่ายๆ โดยใช้ฝ่ามือของเรา ผัก 1 ส่วน เท่ากับผักสุก 1 ฝ่ามือ หรือหนึ่งทัพพีผัก 1 ส่วนเท่ากับผักดิบ 2 ฝ่ามือหรือ 2 ทัพพี ผลไม้ 1 ส่วนก็เท่ากับ 1 ฝ่ามือหรือ 1 ทัพพีเช่นกัน
โดยเป้าหมายของการบริโภคผักและผลไม้ คือ ผักสุกวันละ3 ฝ่ามือ หรือ 3 ทัพพี และผลไม้วันละ 2 ฝ่ามือ หรือ 2 ทัพพี
การบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะได้วิตามิน แร่ธาตุและใยอาหาร ยังได้รับสารพฤกษเคมี(phytochemicals) ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพด้วย
โดยควรรับประทานผักผลไม้หลากสี เพราะแต่ละสีให้สารสำคัญแตกต่างกัน ผักสีส้ม-เหลือง เช่น แครอท ฟักทอง ช่วยบำรุงสายตาจากคุณค่าของเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ผักสีเขียวตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) เช่นกะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ อุดมไปด้วยไอโซไทโอไซยาเนต(Isothiocyanates) ที่ส่งเสริมการกำจัดสารพิษ และลดเสี่ยงโรคมะเร็ง อาทิ มะเร็งเต้านม ตับ ปอด ลำไส้ และช่องปาก
นอกจากนี้ การบริโภคผลไม้ให้เพียงพอยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลไม้ที่วิตามินซีสูง ได้แก่ ฝรั่ง และผลไม้ตระกูลส้ม (citrus fruit) เช่นส้ม มะนาว ส้มโอ ซึ่งช่วยในการสร้างคอลลาเจนที่ผิวหนังจึงช่วยให้แผลหายอีกด้วย
การบริโภคผักใบเขียวไม่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินเค ทำให้เลือดแข็งตัวช้า เมื่อมีบาดแผลแล้วเลือดออกจะหยุดยาก เป็นอันตรายในการถอนฟัน หรือผ่าตัด ดังนั้นการรับประทานผักผลไม้ให้เพียงพอจึงสำคัญอย่างยิ่ง
นอกจากบริโภคผักผลไม้ปริมาณมากพอแล้ว การเลือกแหล่งอาหารให้ปลอดภัย จะลดความเสี่ยงต่อโรคได้อีกทาง เพราะสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยวิธีง่ายๆ ในการเลือกผักผลไม้ให้ปลอดภัย คือ เลือกผักและผลไม้ที่ปลูกตามฤดูกาล เพราะจะใช้สารกำจัดศัตรูพืชน้อยกว่า โอกาสมีสารพิษตกค้างจึงน้อยกว่าผักและผลไม้ที่ปลูกนอกฤดูกาลนอกจากนี้หากปลูกบริโภคเองได้จะดีที่สุด หรือเลือกบริโภค"ผักปลอดสาร" ซึ่งผ่านการตรวจวัดมาแล้วว่า สารตกค้างไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัย
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย (ภาคปกติ และภาคพิเศษ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตั้งแต่บัดนี้ - 15 พฤษภาคม 2566 ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่http://www.inmu2.mahidol.ac.th/foodsafety/?p=138374
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ภาพโดย งานสื่อสารองค์กรและสารสนเทศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อเร็วนี้ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 14 (NCT14) เรื่อง "Toxicology for Sustainable Development" โดยสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพิษวิทยาคลินิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชมรมพันธุพิษแห่งประเทศไทย ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย และ Thailand LAB INTERNATIONAL 2024 เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน พ.ศ.2567 ณ ห้อง MR 224-225 ศูนย์นิทรรศการและการประชุม
สถาบันโภชนาการ และ วิทยาเขตกาญจนบุรี สองส่วนงานจากมหิดล ร่วมผนึกกำลังลงนามความร่วมมือมุ่งพัฒนางานวิจัยและการสอนการร่วมกัน
—
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 สถา...
ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ
—
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...
การประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 13 (NCT13) เรื่อง "Toxicology in BCG Policies of Thailand"
—
เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 9.00 น. รองศาสตราจา...
ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลผลิต'อาหารโฟมโปรตีนสูงเพื่อผู้สูงวัยจากข้าวหอมมะลิไทย'
—
ด้วยเทคโนโลยีทางอาหาร เปลี่ยน "ข้าวหอมมะลิไทย" ให้เป็นนวัตกรรม "อาหารโฟมโปร...
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
ซีเอ็มเอ็มยูเปิดขุมทรัพย์และอานิสงส์สมรสเท่าเทียม โอกาสอัพจีดีพีไทยโต 0.3% กางผลวิจัย "Love Wins Marketing" ถอดรหัสตลาดหัวใจหลากสี
—
ถอดรหัสการตลาดหลัง พ....
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้ง มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัสดุรีไซเคิลจากกระดาษลูกฟูก 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้...