ม.มหิดลเปิดสอนออกแบบวงจรดิจิทัลออนไลน์ ไม่ต้องเป็นช่างมืออาชีพก็ทำได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"ตรรกศาสตร์" ปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของตัวเลขที่นำมาใช้ในการคำนวณบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น

ม.มหิดลเปิดสอนออกแบบวงจรดิจิทัลออนไลน์ ไม่ต้องเป็นช่างมืออาชีพก็ทำได้

อาจารย์ฆนัท พูลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "ออกแบบวงจรดิจิทัล" (Digital Circuit Design) ทาง MUx กล่าวว่า "ดิจิทัล" (Digital) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ตรงกลางระหว่างโลกของ"อิเล็กทรอนิกส์" และโลกของ "คอมพิวเตอร์" ม.มหิดลเปิดสอนออกแบบวงจรดิจิทัลออนไลน์ ไม่ต้องเป็นช่างมืออาชีพก็ทำได้

โดยดิจิทัล (Digital) มาจากคำว่า "Digit" ที่แปลว่าตัวเลข ในขณะที่คอมพิวเตอร์ (Computer) มาจากคำว่า "Compute" ที่แปลว่าคำนวณ เพราะฉะนั้นดิจิทัล จึงเป็นการทำหน้าที่แปลงข้อมูลต่างๆ ที่เป็นตัวเลขก่อนส่งไปคำนวณ และประมวลผล

ก่อนที่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยชุดคำสั่ง จะได้รับการบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติให้เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ในชั้นเรียนประถมศึกษาเช่นปัจจุบัน ที่ผ่านมาผู้ที่เริ่มเรียนพื้นฐานวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และวิทยาการคอมพิวเตอร์จะต้องผ่านบทเรียนศึกษาวงจรอิเล็กทรอนิกส์เรียนรู้ออกแบบวงจรโดยใช้ลอจิกเกต (Logic Gate)

โดยเป็นการใช้หลักตรรกศาสตร์ในการออกแบบตัวรับข้อมูลเข้า (Input) และตัวส่งข้อมูลออก (Output) ให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะปิด-เปิดกระแสไฟ (Switch) ให้เป็นข้อมูลในเลขฐานสอง

ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสู่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานได้มากขึ้น รวมถึงยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมในระบบฝังตัว และอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT : Internet of Things) ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ข้อดีของการสร้างวงจรดิจิทัล คือ สามารถออกแบบได้ง่ายๆด้วยการสร้าง "ลอจิกเกต" เพื่อประมวลผลข้อมูลอันเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิการออกแบบระบบควบคุมการปิด-เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือน หรือสั่งงานตามอุปกรณ์ที่กำหนด เป็นต้น

เนื่องจากดิจิทัลเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง ที่ประกอบไปด้วยเลข 0 และเลข 1 ดังนั้นถ้าเราสามารถแปลงข้อมูลภาพ เสียง หรือข้อมูลใดๆ ให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองได้ เราก็สามารถจัดการข้อมูลดังกล่าวด้วยวงจรดิจิทัลหรือส่งต่อไปประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการใช้งานได้อย่างตรงจุด

รายวิชาออนไลน์ "ออกแบบวงจรดิจิทัล" (Digital Circuit Design) ได้รับการออกแบบเนื้อหาเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนตามอัธยาศัย หรือการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับทั้งเพื่อการพัฒนาทักษะ (Upskill) เพิ่มทักษะ (Reskill) และสร้างทักษะใหม่ (Newskill) โดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางช่างมาก่อน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

สมัครเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับ E-Certificate จากมหาวิทยาลัยมหิดล และอาจสะสมหน่วยกิตรวมกับรายวิชาอื่นๆ ที่กำหนด เพื่อใช้เทียบโอนเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปกติระดับปริญญาตรีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ต่อไปในอนาคต ลงทะเบียนได้ทาง https://mux.mahidol.ac.th

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th


ข่าวคณะวิศวกรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ฝึกบัลเล่ต์เสมือนจริง

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญแม้แต่ทางด้านศิลปะแห่งโลกตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการแสดงในหลากหลายสาขาอย่างเช่น "บัลเล่ต์" (Ballet) ที่ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรพื้นฐาน เพื่อการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วโลก ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีโอกาสร่วมวิจัยกับนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโตรอน

จากความสำเร็จที่ได้ออกแบบระบบโลจิสติกส์อั... ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร — จากความสำเร็จที่ได้ออกแบบระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นับตั้งแต่ช่วงวิก...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกั... วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ "จดจำ" อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ... วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พัฒนาเยาวชน การศึกษา และการวิจัย — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์...

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมี... ม.มหิดลมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอาหารยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติ — การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาหาร ยังคงมีความท้าทายในทุกยุคทุกสมัย เช่นเดียวกับมหาวิทยาล...

ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและปร... ม.มหิดลแนะโลจิสติกส์สีเขียว สร้างได้ไม่เพิ่มต้นทุน เสริมเศรษฐกิจชาติยั่งยืน — ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างกว้างขวา...

ข่าวดีสำหรับเยาวชนนักเรียน ในการเตรียมตัว... 7 ก.ย. วิศวะมหิดล จัดเวิร์กชอปเพื่อเยาวชน "เตรียม Port(folio)แบบตัวตึง สอบสัมภาษณ์แบบถึงใจ" — ข่าวดีสำหรับเยาวชนนักเรียน ในการเตรียมตัวศึกษาต่อสู่อนาคตที่...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำ... วิศวะมหิดล เดินหน้าพัฒนา 'วิศวศึกษายุคใหม่' ผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากญี่ปุ่นและไต้หวัน — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความร่วมมือกับ มห...