คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดย ผศ.ดร.ภัทรพร โปสกนิษฐกุล รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ พร้อมด้วย ดร.สรชา เดชะอำไพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ต้อนรับ ศ.ฮิโรชิ อูมาโกชิ (Hiroshi Umakoshi) ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka University) และ คุณอากิระ โยโกตะ (Akira Yokota) ประธาน บริษัท ซูมิโตโม เฮฟวี่ อินดัสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในการประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และร่วมแสดงความยินดีกับ นางสาวพรพินันท์ สุนทรนภาลักษณ์ นักศึกษาวิศวะมหิดลระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรสองปริญญา Double Degree Program ในสาขาวิศวกรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรจากความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยโอซาก้า
นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยคริสเตียนชุงหยวน (Chung Yuan Christian University) แห่งไต้หวัน ได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "Environmental Engineering" โดย ศ.เชง ยี ยู (Sheng-Jie You) และ รศ.เจง ยี เจียง (Jheng-Jie Jiang) จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยคริสเตียนชุงหยวน เดินทางมาถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ "ความก้าวหน้าของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering 2023)" ซึ่งภายในงานมีการอภิปรายและบรรยายพิเศษเกี่ยวกับสองเทคโนโลยีที่ท้าทายและน่าสนใจยิ่ง คือ การใช้เมมเบรนในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Membrane Application in Environmental Engineering) และ ไมโครพลาสติกและการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม: ชะตากรรม แหล่งที่มา และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Microplastics and Emerging Contaminants in the Environment: Fate, Source, and Potential Risk)
รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การพัฒนาวิศวศึกษายุคใหม่ นอกจากการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ผู้เรียนและธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว ความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศทั้งภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยโอซาก้าซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของญี่ปุ่น รวมทั้งการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในรูปของการบรรยายหรือเวิร์กชอป โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคริสเตียนชุงหยวน จากไต้หวัน ช่วยเปิดโลกทัศน์กว้างให้นักศึกษาวิศวะมหิดลได้ก้าวสู่เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ มีโอกาสได้ฝึกฝนความคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนยุคใหม่ และหล่อหลอมการเป็นวิศวกรที่ดีสู่อาชีพในอนาคตอีกด้วย
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี(คนที่ 2 จากซ้าย) อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ โดยพลเอกจิรศักดิ์ บุตรเนียร (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานมูลนิธิปัญพัฒน์เพื่อคนพิการ (รักษาการแทนประธานกรรมการ) ในโครงการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับครอบครัวของคนพิการ สจล. และมูลนิธิปัญพัฒน์ จะร่วมกันส่งเสริม
"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น
—
นายแพทย์ธิต...
วิทยาลัยดุสิตธานี เซ็น MoU กับ 5 สถานประกอบการชื่อดัง มุ่งเป้าพัฒนาทักษะนักศึกษาเพื่อการทำงานในอนาคต
—
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา วิทยาลัยดุสิตธ...
หาดทิพย์ MOU ม.ศิลปากร พัฒนาศักยภาพด้านดนตรีและส่งเสริมการศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาให้แก่เยาวชนภาคใต้
—
บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) หรือ HTC นำโดย คุณดำ...
แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง
—
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...
การเคหะแห่งชาติลงนาม MOU ร่วมกับ AIT ผลักดัน "ที่อยู่อาศัยสีเขียวอย่างยั่งยืน"
—
ดร.สมิทธิ ดารากร ณ อยุทธยา กรรมการการเคหะแห่งชาติ ในฐานะกรรมการด้านการจัด...
ม.หอการค้าไทย ร่วมลงนามความร่วมมือกับ สถาบันอุดมศึกษาตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A
—
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ...
CIBA DPU ลงนามความร่วมมือกับ ฟอร์ท คอร์ปฯ เจ้าของแบรนด์ดัง "เต่าบิน" เปิดประตูสู่การฝึกงานด้านนวัตกรรม พร้อมโอกาสร่วมงานในอนาคต
—
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย...
สาขาภาษาจีนสื่อสารธุรกิจ SPU จับมือ K Food Guru สร้างโอกาสใหม่ให้นักศึกษา เสริมทักษะธุรกิจอาหารยุคดิจิทัล
—
คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาจีนสื่อสารธุรกิจ มหาวิทย...