ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างกว้างขวางในทุกกิจกรรม ซึ่งรวมถึงระบบโลจิสติกส์ (Logistic) ที่เปรียบเสมือน "สายโลหิต" ของการเดินทางของสินค้าให้เปลี่ยนเป็น "สีเขียว" (Green) หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เป็นกำลังสำคัญในการทำงานวิจัยเพื่อการวางระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยกล่าวว่า "โลจิสติกส์สีเขียว" (Green Logistic) สามารถสร้างได้โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน เพียงอาศัยการวางระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า
โดยมองว่าปัจจุบันส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกันแต่เรื่องการใช้พลังงานทดแทน แต่ไม่ได้มุ่งไปที่สาเหตุสำคัญของการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ที่มาจากการวางระบบโลจิสติกส์ที่ไม่รัดกุม เช่น การขนส่งเที่ยวเดียว แต่ต้องเสียพลังงานตีรถเที่ยวเปล่ากลับ เป็นต้น
ซึ่งหากทำได้จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้เหลือเท่าที่จำเป็นได้เป็นอย่างมากในทุกการประกอบการ ภายใต้หลักการ "ส่งรอบเดียวแต่ประหยัดและทั่วถึง" (Pool Resources) โดยทำเส้นทางให้เป็นวงกลม และผ่านจุดกระจายสินค้าที่สำคัญ (Hub) เพื่อส่งต่อไปยังที่ต่างๆ
นอกจากนี้การเก็บสินค้าเพื่อรอจำหน่าย (Stock) ไว้มากเกินไป นับเป็นการสิ้นเปลืองทั้งทรัพยากร และพลังงานที่จะต้องสูญเสียไปกับการจัดหาบรรจุภัณฑ์ในการจัดเก็บ อีกทั้งแรงงานที่จะต้องคอยควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและส่งต่อสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ฯลฯ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาบริหารจัดการกันใหม่ภายใต้แนวคิด "Lean" หรือลดปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้เหลือเท่าที่จำเป็น หรือ "ใช้ตามจริง"
ต่อ "นโยบาย BCG ส่งเสริมเศรษฐกิจชาติ" รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย กล่าวทิ้งท้ายว่าเป็นแนวทางที่รัฐออกแบบไว้ดีแล้ว ต้องการเพียงทำให้เกิด"ความยั่งยืน" ซึ่ง "โลจิสติกส์สีเขียว" (Green Logistic) จะช่วยเป็นกำลังเสริม เริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับชุมชน
มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทำหน้าที่ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานฯ เพื่อมอบองค์ความรู้ เปิดประตูสู่แสงสว่างแห่งปัญญา ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ ณ จังหวัดปราจีนบุรี เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้โมเดล "Circular Economy" หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ดั๊บเบิ้ล เอ นำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อม
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5
—
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...
คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
รอบที่ 3 รับสมัครนักศึกษาใหม่ รอบ Admission น้องๆนักศึกษาเตรียมตัวให้พร้อม
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับนั...
'SPU Engineering Camp 2025' ม.ศรีปทุม พานักเรียนสัมผัสโลกวิศวกรรม เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง!
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการ "SPU Enginee...
ม.มหิดล เสนอระบบใหม่โลจิสติกส์เวชภัณฑ์ไทย รวมเส้นทางขนส่ง - บริหารจัดการด้วย AI กู้วิกฤติพลังงานโลก
—
จากความสำเร็จของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้วางระบบการจัดก...