ระดมนักโลจิสติกส์ทั่วประเทศวางแผนรับมือภัยพิบัติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--สกว.

อุทกภัยครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้ด้านการจัดการด้านโลจิสติกส์เพื่อรับมือภัยพิบัติ รศ.ดร. ดวงพรรณ กริชชาญชัย ผู้อำนวยการศูนย์โลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ ประเทศเรามักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้เป็นส่วนๆ ดังนั้นเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐต้องเตรียมแผนจัดการภัยพิบัติในสามระยะ ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ (pre-disaster) ระยะเกิดภัยพิบัติ (occurrence) และระยะฟื้นฟู-เยียวยา (rehabilitation) รศ.ดร. ดวงพรรณ ในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติ จะพบว่า มีเรื่องการจัดการด้านโลจิสติกส์เข้าไปเกี่ยวข้องมากมาย เร็วๆ นี้ สกว. จึงจะระดมพลนักโลจิสติกส์ทั่วประเทศมาร่วมกันวางแผนโลจิสติกส์เพื่อการจัดการภัยพิบัติในแต่ละขั้นตอน เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ในระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ ซึ่งเป็นช่วงที่จะเกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณมากกว่าปรกติ และสินค้าขาดแคลน ต้องมีการวางแผนของผู้ผลิตในการกระจายสินค้าและบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เมื่อถึงระยะเกิดภัยพิบัติจะต้องมีแผนปฏิบัติการในการอพยพประชาชนและลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ เช่น รัฐต้องทราบจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในแต่ละเขต จำนวนครัวเรือนที่อพยพ และจำนวนครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ ต้องทราบเส้นทางลำเลียง เพื่อจัดการความช่วยเหลือต่างๆ เช่น เรื่องอาหาร และการดูแลด้านสาธารณสุขและการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เราจะต้องมีกระบวนการค้นหา (search) และให้ความช่วยเหลือ (rescue) ไม่ใช่มีแต่การให้ความช่วยเหลืออย่างเดียว ทำให้บางจุดได้รับความช่วยเหลือมาก ในขณะที่บางจุดไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย ไม่มีความสมดุลกันระหว่างความช่วยเหลือกับความต้องการ และเมื่อผ่านพ้นภัยพิบัติ ก็ต้องมีแผนการเข้าไปฟื้นฟูและเยียวยา ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งสิ้น สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการวิจัยประเด็นเหล่านี้ คาดว่าจะมาจากงบวิจัยเร่งด่วนที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดสรรมาให้ รศ.ดร. ดวงพรรณ กล่าวย้ำด้วยว่า ระบบปฏิบัติการโลจิสติกส์ที่จะแก้ปัญหาภัยพิบัติในแต่ละช่วงได้ จะต้องอาศัยการบูรณาการการทำงานขององค์กรรัฐทั้งหมด จะอาศัยแต่เฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำอย่างเดียวไม่ได้ การแก้ปัญหาโลจิสติกส์นี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้มีอำนาจขับเคลื่อนจะต้องมอง “ระบบ” เป็นสำคัญ”

ข่าวดวงพรรณ กริชชาญชัย+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลแนะโลจิสติกส์สีเขียว สร้างได้ไม่เพิ่มต้นทุน เสริมเศรษฐกิจชาติยั่งยืน

ปัจจุบันทั่วโลกตื่นตัวเตรียมพร้อมวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างกว้างขวางในทุกกิจกรรม ซึ่งรวมถึงระบบโลจิสติกส์ (Logistic) ที่เปรียบเสมือน "สายโลหิต" ของการเดินทางของสินค้าให้เปลี่ยนเป็น "สีเขียว" (Green) หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เป็นกำลังสำคัญในการทำงานวิจัยเพื่อการวางระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยกล่าวว่า "โลจิสติกส์สี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...