กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผย กินกุ้งไทย...ปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาการปฏิชีวนะตกค้างในกุ้งกุลาดำส่งออกตั้งแต่ปี 2534-2540 ตรวจพบ สารปฏิชีวนะในกุ้งลดลงอย่างมาก และอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และแนะนำเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงบริหารจัดการฟาร์มให้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใช้สารปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกุ้ง ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำของไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จากระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เพื่อการบริโภคภายในประเทศมาเป็นอุตสาหกรรมส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศปีละประมาณ 60,000 ล้านบาท จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับสารปฏิชีวนะตกค้างในกุ้งกุลาดำส่งออกของไทยนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการตรวจรับรองคุณภาพความปลอดภัยของอาหารก่อนการส่งออก ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว โดยตรวจวิเคราะห์สารปฏิชีวนะ ออกซีเตตราไซคลิน (Oxytetracycline) และกรดออกโซลินิก (Oxolinic acid) ในกุ้งกุลาดำเพาะเลี้ยงแช่แข็งของไทย ตั้งแต่ปี 2534-2540 จำนวน 6,959 ตัวอย่าง พบกุ้งที่มีสารทั้งสองเกินค่าปลอดภัย คือ ออกซีเตตราไซคลินเกินกว่า 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ร้อยละ 4.7 ของตัวอย่างทั้งหมด และกุ้งที่มีกรดออกโซลินิกเกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของตัวอย่างทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจพบสารปฏิชีวนะตกค้าง ในปี 2534 จำนวนตัวอย่างที่มีการตกค้างของออกซีเตตราไซคลินและกรดออกโซลินิก ลดลง 9 และ 4 เท่าตามลำดับ แสดงว่า สารปฏิชีวนะตกค้างในกุ้งกุลาดำลดลงอย่างชัดเจน ดร.เรณู โกยสุโข กล่าวต่อไปว่า การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำจะต้องมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี เพื่อป้องกันการเกิดโรคในกุ้ง หากบริหารจัดการไม่ดีพอเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจำเป็นต้องใช้สารปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกุ้งหากใช้ยาในระยะที่กุ้งกำลังเจริญเติบโตขนาดที่จับขายได้ โดยไม่มีระยะเวลาของการหยุดใข้ยาตามกำหนดประมาณ 15 วัน ก่อนการจับ ก็จะทำให้มีการตกค้างของสารปฏิชีวนะในกุ้ง ฉะนั้น เกษตรกรจึงควระมัดระวังในข้อนี้ เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าที่ส่งไปขายในตลาดที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น จากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดังกล่าว แสดงว่าปัญหาการตกค้างขอสารปฏิชีวนะในกุ้งกุลดำ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินโครงการเฝ้าระวังเพื่อติดตามความปลอดภัยของอาหาร ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอยู่อย่างสม่ำเสมอจึงขอให้ผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกและวิตกกังวลจนเกินไป รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 5910203-14 ต่อ 9016-17 โทรสาร 5911707--จบ--

ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์+กรมวิทยาศาสตร์วันนี้

BKGI ผนึกกรมวิทย์ฯ รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเซลล์บำบัด ดันไทยสู่ศูนย์กลางการแพทย์ภูมิภาค

นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร (ที่3 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) (BKGI) และนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ (ที่ 3 จากขวา) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ลงนามในสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีกรรมวิธีการเตรียมเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดชนิด Dendritic cells (DCs) และ Cytokine induced killer cell (CIK) พร้อมกระบวนการควบคุมภาพให้กับ BKGI เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และบริการด้านการแพทย์ของภูมิภาค (Medical Hub) เพื่อใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ... พิธีเปิดงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 — ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางคว...

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าร... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...