รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุขเตือน กินเห็ดต้องระวัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--22 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์เดชา สุขารมณ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนที่นิยมบริโภคเห็ด โดยเฉพาะเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้เลือกรับประทานเฉพาะเห็ดที่รู้จักกันจริงๆ ไม่ควรรับระทานเห็ดที่ไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจ อาจได้รับอันตรายจากเห็ดพิษหรือเห็ดเมาทำให้เสียชีวิตได้ นายแพทย์เดชา สุขารมณ์ เปิดเผยว่า สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ฉะนั้นจึงมีเห็ดจำนวนมากเจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติ และคนไทยเองก็นิยมบริโภคเห็ด เนื่องจากเป็นสิ่งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติสามารถเก็บมารับประทานได้โดยไม่ต้องซื้อหา ประกอบกับเห็ดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม เห็ดไม่สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่นิยมรับประทานเห็ดมีพิษและเห็ดเมาบางชนิด เช่น ที่จังหวัดภูเก็ต และเกาะสมุย มีบางรายนิยมผสมกับสุราทำให้เกิดอาการมึนเมาและประสาทหลอน ซึ่งอาจทำให้สมองพิการ และเกิดอันตรายต่อสุขภาพ จนถึงขั้นเสียชีวิต จึงมักปรากฏข่าวและมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตหรือได้รับอันตรายจากการรับประทานเห็ดมีพิษ ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ประชาชนเลือกรับเห็ดเฉพาะที่รู้จักดี เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เป็นต้น หรือรับประทานเห็ดที่เพาะเอง ไม่ควรรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักชนิดแน่นอนหรือไม่แน่ใจ รวมทั้งเห็ดป่าชนิดต่างๆ สำหรับเห็ดพิษที่ขอให้ประชาชนจำลักษณะไว้ หากพบเห็นไม่ควรเก็บมาบริโภค ได้แก่ - เห็ดระโงกหิน เป็นเห็ดที่ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยว กระจัดกระจายทั่วไปในป่าไม้เบญจพรรณ ลักษณะดอกเห็ดมีสีขาวบริสุทธิ์ หมวกเห็ดกว้าง 6-8 ซ.ม. ผิวเรียบรูปกระทะคว่ำ มีเนื้อหมวกหนา ครีบหมวกไม่ติดกับก้าน โคนใหญ่เป็นกะเปาะผิวเรียบโคนก้านมีเปลือกหุ้ม ดอกอ่อนรูปถ้วยหงายสีขาวหุ้มรองรับอยู่ สปอร์มีสีขาว เป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรงมาก รับประทานเข้าไป ทำให้เสียชีวิตได้ - เห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดที่ชอบขึ้นบนมูลสัตว์ มีสีฟางข้าวอมเหลือง หมวกเห็ดกว้าง 6-9 ซ.ม. กลางหมวกสีน้ำตาลอมเหลือง และมีเกล็ดเล็กๆ กระจายห่างๆ ไปยังขอบหมวก ก้านมีสีเดียวกับหมวกเวลาจับหรือมีแผลฉีกขาดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม ครีบหมวกสีน้ำตาลดำ สปอร์สีน้ำตาล ถ้ารับประทานน้อยจะมีอาการมึนเมา ถ้ารับประทานมากอาจเสียชีวิตได้ - เห็ดขี้วัว เป็นเห็ดที่ขึ้นชุกชุมในกองขี้วัวหรือปุ๋ยหมัก หมวกเห็ดรูปกระทะคว่ำสีขาวนวลหรือน้ำตาลอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซ.ม. ผิวเรียบ และมีสีน้ำเงินเมื่อดอกแก่ ครีบสำเทาหรือดำยึดติดกับก้าน สปอร์สีน้ำตาลดำ เป็นเห็ดมีพิษทำให้เกิดประสาทหลอน - เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน เป็นเห็ดที่ขึ้นเป็นดอกเดียวและขึ้นเป็นวงกลมบนสนามหญ้า หมวกเห็ดกว้าง 6-20 ซ.ม. โคนก้านใหญ่เป็นกระเปาะเล็กน้อย ก้านดอกมีผิวเรียบสีขาว หรือน้ำตาลอ่อน บนก้านดอกมีวงแหวนสีขาว ขอบล่างสีน้ำตาลเป็นปลอกซึ่งสามารถรูดขึ้นลงได้ สปอร์มีสีเขียวอ่อน เป็นเห็ดมีพิษแต่ไม่ร้ายแรง ผู้รับประทานจะมีอาการคลื่นเหียน อาเจียน หน้ามืด ตาลายใจสั่น และอ่อนเพลีย แต่ถ้าเด็กรับประทานมากอาจเสียชีวิต นอกจากนี้ หากพบเห็นผู้รับประทานเห็ดมีพิษ ต้องรีบให้การช่วยเหลือ โดยพยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดพิษที่รับประทานเข้าไปออกให้หมด เช่น การล้วงคอ หรือกรอกไข่ขาว แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที ควรนำเห็ดที่เหลือจากการรับประทานไปตรวจสอบด้วย โดยห่อกระดาษไขไม่ให้แน่นเกินไป ไม่ควรนำเห็ดใส่ถุงพลาสติกเพราะจะทำให้ย่อยสลายไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 591-0203-14 ต่อ 9016-17 โทรสาร 591-1707--จบ--

ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาคุณภาพการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพิ่มความแม่นยำในการรักษาเบาหวาน

นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องเผชิญ โดยอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 300,000 คนต่อปี และมีผู้ป่วยสะสมกว่า 3.4 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นำไปสู่ความพิการและการ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ย... นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในงาน 30 บาทรักษาทุกที่ — นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใ...

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าร... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...