เตรียมป้องกันโรคฉี่หนู....ด่วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--8 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วางแผนรับมือโรคฉี่หนูปี 42 พร้อมเน้นหน่วยงานในภูมิภาคให้เพิ่มศักยภาพการตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ เตรียมนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ สกัดโรคตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้อย่างถูกต้องทันท่วงที ดร. เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า โรคเลปโตสไปโรซีสหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโรคฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในกลุ่มสไปโรซีส โดยมีสัตว์จำพวกหนู สุนัข วัว ควาย เป็นพาหะนำโรค เชื้อเลปโตสไปโรซีสที่อยู่ในร่างกายของสัตว์ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะแล้วฝังตัวอยู่ในดิน เมื่อมีน้ำท่วมหรือฝนตกก็จะแพร่กระจายไปทั่วบริเวณ ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักเป็นชาวนาหรือเกษตรกรที่ต้องทำงานอยู่ในพื้นที่เฉอะแฉะมีน้ำท่วมขัง เชื้อเลปโตสไปโรซีสนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลบริเวณผิวหนังที่มีรอยขีดข่วนหรืออาจติดมากับมือ เมื่อใช้มือป้ายตาเชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุตาหรืออาจปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป เมื่อเชื้อดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 6-12 วัน ในสัปดาห์แรกผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดงหรือตาเหลือง ตับและไตอักเสบ อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการปวดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วย อาการเหล่านี้จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเชื้อที่ร่างกายได้รับซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปี 2541 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยทั้งหมด 1,593 ราย เสียชีวิต 80 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2541) โดยมีการแพร่ระบาดอยู่ในบางจังหวัด เช่น ภาคเหนือที่จังหวัดแพร่พบผู้ป่วยประมาณ 98 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดบุรีรัมย์ 173 ราย นครราชสีมา 104 ราย ชัยภูมิ 75 ราย มหาสารคาม 65 รายและสุรินทร์ 125 ราย ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการแพร่ระบาดของโรคส่วนใหญ่มักเกิดในแถบจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ระยะเวลาการระบาดของโรคไม่แน่นอนบางช่วงของปีอาจรุนแรงจนมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ละปีเฉลี่ยแล้วจะมีผู้ป่วยประมาณ 100-300 ราย สำหรับปี 2540 มียอดผู้ป่วยสูงถึง 2,331 ราย เสียชีวิต 111 ราย ซึ่งสถานการณ์ที่มีการระบาดเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อสกัดกั้นความรุนแรงของโรคให้อยู่ในข่ายที่สามารถควบคุมได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังและเปิดบริการตรวจวิเคราะห์โรคเลปโตสไปโรซีสในเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข คือ วิธี Indirect Immunofluorescence Technique (IFA) ซึ่งเป็นการใช้น้ำยาสำเร็จรูปตรวจหาเชื้อขั้นต้นที่สะดวกสามารถทราบผลได้ภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงตรวจยืนยันชนิดของเชื้อด้วยวิธี Microscopic Agglutination Test (MAT) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการระบาด ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ให้แก่เจ้าหน้ที่ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีสเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ยังมีการตรวจตัวอย่างเลือดจากพาหะนำโรค เช่น หนู สุนัข ตามจังหวัดที่คาดว่าจะมีการระบาดของโรคอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และเพื่อสนับสนุนการตรวจวินัจฉัยของแพทย์ในการรักษาพยาบาลอย่างถูกแนวทาง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งอย่างต่อเนื่องต่อไป อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า เนื่องจากโรคเลปโตสไปโรซีสเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาเฉพาะที่ให้ผลแน่นอน การรักษาส่วนใหญ่จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกเพนนิซิลินหรือด๊อกซีซัยคลินและต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญหากการวินิจฉัยโรคล่าช้าก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวังหากต้องสัมผัสกับน้ำหรือบริเวณที่ต้องสงสัยว่าจะมีเชื้อโรคดังกล่าวเจือปน รวมทั้งคงรล้างมือล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับน้ำหรือบริเวณที่ต้องสงสัยดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร 591-0203-14 ต่อ 9017. 9081 โทรสาร 591-1707--จบ--

ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์+กรมวิทยาศาสตร์วันนี้

N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง

N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย บริษัท เอ็นเฮลท์ โนโวยีน จีโนมิกส์ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ N Health ในเครือ BDMS ผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมที่ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลและรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล ผ่านห้องปฎิบัติการจีโนมิกส์โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ขั้นสูงและได้มาตรฐานสากล

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าร... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ย... นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในงาน 30 บาทรักษาทุกที่ — นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใ...