ผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์ของโลกหนุนใช้จีเอ็มโอ

02 May 2002

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--มอนซานโต้ ไทยแลนด์

ผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์ชี้แนะว่า ออสเตรเลียต้องพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ศาสตราจารย์ทิมโมธี รีฟส์ (Timothy Reeves) ผู้อำนวยการศูนย์การพัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีและข้าวโพดนานาชาติ (CIMMYT) ได้กล่าว ในงานเมล็ดพันธุ์ปี 2002 ที่กรุงเมลเบิร์นว่า ประเทศออสเตรเลียจะเป็นประเทศหนึ่งที่ "ไม่ควบคุม" เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม เพราะเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญต่อตลาดโลกในอนาคต

ศาสตราจารย์ ทิมโมธี กล่าวว่า "ในศตวรรษนี้ โลกต้องเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายประการหนึ่ง คือต้องเลี้ยงดู ประชากรโลก ที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว"

"ในประเทศกำลังพัฒนา จะมีทารกเกิดใหม่ 150-180 คน ทุก ๆ 1 นาที ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อประชากรมากขึ้น ก็จะเกิดความขัดแย้งเพื่อแย้งชิงทรัพยากร และน้ำ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นก่อให้เกิดสงครามได้"

"ถ้าคุณมุ่งไปที่ประเทศออสเตรเลียเป็นผู้แก้ไขปัญหานี้ คุณคิดว่า ออสเตรเลียสามารถช่วยแก้ปัญหาโลกต้องผลิตอาหารเพิ่มเป็น 2 เท่าได้อย่างไร คุณอาจพูดง่าย ๆ ว่า เกษตรกรต้องเพิ่มการผลิตขึ้นเป็น 2 เท่าเพื่อรองรับปัญหานี้จึงมีคำถามว่าเกษตรกรจะทำอย่างไร ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด และทรัพยากรธรรมชาติก็ลดปริมาณลงเรื่อย ๆ การวิจัยและการพัฒนาจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ นำมาพัฒนาพืชทนแล้ง พืชต้านทานโรค"

"เทคโนโลยีชีวภาพทำให้เราสามารถนำคุณลักษณะใหม่ไปใส่ในพืชดั้งเดิม ขณะนี้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และยกตัวอย่างการผลิต ข้าวสาลีสังเคราะห์ (syrithetic wheat) เป็นอีกโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 12 เดือน"

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุ์ข้าวสาลีได้ถูกผสมพันธุ์เพื่อสร้างพันธุ์พืชที่สามารถทนแล้ง ทนความร้อน และทนความหนาวเย็นได้สูง

เขากล่าวว่าการพัฒนาเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมจะช่วยลดข้อจำกัดในตลาดโลกได้ "พืชที่มีภูมิต้านทานโรคจะช่วยลดปัญหาการกีดกันการค้า เพราะพืชมีเชื้อโรคหลายชนิด เชื้อโรคเหล่านี้ไม่สามารถทำลายให้หมดจากโลกนี้ได้วิธีที่ป้องกันได้ แต่ละประเทศจึงห้ามนำเข้า

ศาสตราจารย์ทิม โมธี กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในประเทศกำลังพัฒนา ออสเตรเลียเองก็สนใจประเทศกำลังพัฒนาว่าเป็นตลาดที่สำคัญในอนาคต

"โลกาภิวัฒน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ หลายประเทศพยายามจะยกระดับเศรษฐกิจการเกษตรแบบพอเพียงไปสู่เศรษฐกิจการบริการ โดยไม่ทราบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วได้ใช้เวลาในการพัฒนาไปในเศรษฐกิจระดับสูง ซึ่งมุ่งความชำนาญ ก็ได้ใช้การเกษตรเป็นตัวพัฒนาประเทศ"

"มีนักการเมืองหลายท่านที่ยังคิดว่าอาหารมาจากซุปเปร์มาเก็ต" ประเทศส่งออกที่ร่ำรวยต้องการที่จะส่งเสริมประเทศกำลังพัฒนาเพราะเขาตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตรในอนาคต"

"ประเทศกำลังพัฒนาการเกษตรไม่ใช่อาชีพ แต่มันเป็นวิถีชีวิตของพวกเขา การเกษตรไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นหน้าที่ที่เราต้องกระทำ"--จบ--

-สท-