วิกฤตมลภาวะทำผู้ป่วยภูมิแพ้พุ่ง นมแพะทางเลือกสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่ม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--เอดีทูวาย

นายมานิตย์ วาสุเทพรังสรรค์ นักวิทยาศาสตร์ 8 ว. กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเชียงใหม่ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากสภาพแวดล้อมและมลภาวะที่แปรเปลี่ยน ในปัจจุบัน ทำให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหวัดเรื้อรัง ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงถึง 10 ล้านคน โดยพบใน เด็กทุก 4 คนใน 10 คน หรือประมาณร้อยละ 40 ส่วน ในผู้ใหญ่พบทุก 2 คนใน 10 คน หรือร้อยละ 20 ขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีประชากรที่เป็นโรคภูมิแพ้ถึง 150 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวสูงถึงปีละเกือบ 200,000 คน ส่วนประชาชนในเขตกรุงเทพฯ พบว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้ นายมานิตย์ กล่าวว่า ได้ทำการศึกษาถึงวิธีป้องกัน โดยเลือกใช้โภชนาการบำบัด พบว่า การบริโภคนมแพะเป็นประจำจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก จะเสริมสร้างภูมิต้านทานและป้องกันโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โปรตีนในน้ำนมแพะช่วยให้เซลส์เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลั่งสารแอนตี้ฮีสตามีน (Anti Histamin) ออกมา โดยเฉพาะ ซีสเตอีน (Cysteine) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลูตาไทโอน (Glutathione) ที่มีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อการเกิดภูมิแพ้ในร่างกาย วิตามินในนมแพะจะเพิ่มการทำงานของเซลส์ที่ดักจับเชื้อโรค ช่วยเซลส์เม็ดเลือดขาวสร้างแอนตี้บอดี้และกำจัดอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย มานิตย์ กล่าวอีกว่า มีงานวิจัยและรายงานจากทั่วโลกว่า นมแพะเป็นนมที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อมนุษย์มากกว่านมจากสัตว์ให้นมทุกชนิด เนื่องจากนมแพะมีคุณสมบัติใกล้เคียงนมมารดา มากที่สุด จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงทารกภายหลังหย่านม และเหมาะที่จะเป็นอาหารเสริมทางเลือกเพื่อสุขภาพให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว และที่สำคัญเพิ่มต้นทุนในระบบภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกนมแพะที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย.) เท่านั้น เมื่อถามถึงเรื่องที่ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริโภคนมแพะแล้วป่วยเป็นโรคแท้งติดต่อ แสดงว่า ดื่มแล้วไม่ปลอดภัยใช่หรือไม่ นายมานิตย์ กล่าวว่า ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะ แพะตัวที่ไปรีดนมมานั้นป่วย แต่เชื้อโรคที่มากับน้ำนมสัตว์ป่วยนั้นสามารถกำจัดได้ จากความร้อนในขบวนการพาสเจอร์ไรส์น้ำนมอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ เมื่อเกษตรกรรีดนมแพะแล้ว จะต้องนำไปผ่านความร้อยโดยการต้ม หรือนึ่งก่อนนำไปบริโภค หรือเก็บไว้ในตู้เย็นก่อน หากไม่มีเวลาก็จะช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนมแพะไว้ไม่ให้เสียได้ระยะเวลาหนึ่ง การต้มนมแพะโดยให้ความร้อนโดยตรงต้องระมัดระวังหมั่นคน หรือกวน เพื่อมิให้นมแพะติดในภาชนะ จะทำให้นมแพะไหม้ได้ การสังเกตความร้อนที่ต้มนมแพะเพียงพอ หรือไม่นั้น สังเกตดูว่าหากอุณหภูมิที่ต้มใกล้ถึงจุดเดือดนมแพะจะเกิดฟองขึ้นให้รีบปิดแก๊ส ตั้งทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เพื่อลดอุณหภูมิจากนั้นนำไปเก็บในตู้เย็นเพื่อบริโภคต่อไป และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 วัน ส่วนการนึ่งวิธีการง่าย ๆ คือ นำภาชนะใส่น้ำนมแพะใส่ในซึ้งนึ่งโดยวางมันเทศหัวย่อม ๆ ใกล้ ๆ ภาชนะใส่น้ำนมแพะ โดยสังเกตดูว่าหากมันเทศสุกได้ที่ การนึ่งนมแพะก็เสร็จเรียบร้อย “น้ำนมแพะมิได้ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้วห้ามดื่ม หรือนำไปบริโภคโดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นอาจทำให้ผู้ดื่มเกิดอันตรายจากเชื้อโรคดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้ “นายมานิตย์ กล่าว ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ อ.มานิตย์ วาสุเทพรังสรรค์ ที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเชียงใหม่ กรมปศุสัตว์ โทร. 01 671 4059 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผกากานท์ (ลูกหยี) 01 489 8419, เสาวนี 01 830 4299 โทรศัพท์ 02 722 8804 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมานิตย์ วาสุเทพรังสรรค์+องค์การอนามัยโลกวันนี้

GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...