GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น

GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา วัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงประมาณ 154 ล้านคน หรือนาทีละ 6 คน จากโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรค RSV โรคหัด โรคมาเลเรีย โรคบาดทะยัก และ โรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV เป็นต้น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนซึ่งครอบคลุมทุกเพศทุกวัย จะช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการร่างคำแนะนำฯ เผยแพร่ "คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พ.ศ. 2568" ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมวัคซีนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ วัคซีนบาดทะยัก คอตีบและไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโควิด วัคซีนหัด คางทูมและหัดเยอรมัน วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนเอชพีวี (HPV) วัคซีนนิวโมค็อกคัส วัคซีนอาร์เอสวี (RSV) วัคซีนงูสวัด วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนไข้เหลือง วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น วัคซีนฝีดาษลิง วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนสำหรับผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ รวมถึงวัคซีนในนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง โดยสามารถให้วัคซีนหลายชนิดพร้อมกันในวันเดียวกันได้ โดยให้คนละตำแหน่ง เช่น ฉีดที่แขนคนละข้าง หากฉีดข้างเดียวกันต้องห่างกันอย่างน้อย 1 นิ้ว และไม่นำวัคซีนต่างชนิดมาผสมรวมในกระบอกฉีดยาเดียวกัน กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด ไอ มีน้ำมูก สามารถรับวัคซีนได้ ถ้ามีไข้สูงหรือเจ็บป่วยหนัก ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อนจนกว่าจะหายดี

พญ.บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวว่า การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและเพิ่มความต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการดูแลและป้องกันผู้ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยวัคซีน จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายสูงขึ้นและเพียงพอต่อการป้องกันโรค โดยวัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคภัยต่าง ๆ และช่วยบรรเทาผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคได้

"GSK ในฐานะบริษัท Biopharma ชั้นนำของโลก เรามุ่งผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับความสามารถของบุคลากรและเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถก้าวนำการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ เพื่อปกป้องชีวิตของผู้คนทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนนวัตกรรมเพื่อป้องกันโรคที่มีอยู่เดิมและโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ ซึ่ง GSK มุ่งสนับสนุนแนวทางการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อรับมือความท้าทายด้านสุขภาพในระดับทั่วโลก และเสริมสร้างความปลอดภัยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง ลดโอกาสการเจ็บป่วยและค่าใช้จ่ายด้านการรักษา" พญ.บุษกร กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวองค์การอนามัยโลก+องค์การอนามัยโลวันนี้

แอสตร้าเซนเนก้า เผยความสำเร็จในการใช้ AI คัดกรองมะเร็งปอดจากภาพเอกซเรย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพที่ยั่งยืน

จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 2.5 ล้านรายและผู้เสียชีวิตประมาณ 1.8 ล้านรายต่อปี ในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับสอง โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 17,222 รายต่อปี หรือเฉลี่ยผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดวันละ 40 คน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในงานประชุม European Lung Cancer Congress (ELCC) 2025 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส แอสตร้าเซนเนก้าได้เปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งปอดภายใต้โครงการ CREATE ที่มีการใช้เครื่องมือ qXR-LNMS

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...