ความดันโลหิตสูง (Hypertension: HTN) เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไต รวมถึงการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้
ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คนไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 1 ใน 4 มีภาวะความดันโลหิตสูง แต่มีเพียง 30% เท่านั้นที่สามารถควบคุมความดันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคนี้จึงนับว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่แสดงอาการใด ๆ โดยจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแห่งชาติ (National Health Examination Survey) พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่ทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับโรคนี้
เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันอย่างเหมาะสม
อาหารและความเครียดคือปัจจัยสำคัญ
การบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยวแปรรูป เครื่องดื่มชูกำลัง และอาหารที่มีเนื้อแดงสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รูปแบบการกินแบบดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนไทยบริโภคโซเดียมมากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่แนะนำถึงสองเท่า
ความดันโลหิตสูง (HTN) ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาด้านโภชนาการเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความกดดันในชีวิตและความเครียดทางจิตใจ ทั้งค่าครองชีพที่สูง การจราจรติดขัด การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพเหล่านี้
ลักษณะภัยเงียบของความดันโลหิตสูง
ความละเอียดอ่อนของความดันโลหิตสูง (HTN) นับว่าเป็นหนึ่งในลักษณะอันตรายที่สุดของโรคนี้ ซึ่งหลายคนอาจมีภาวะนี้มาหลายปีโดยไม่มีอาการชัดเจน และมีการทำลายระบบหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้นแล้วก่อนที่จะมีอาการ เช่น ปวดหัวรุนแรง เวียนศีรษะ หรือปัญหาด้านการมองเห็น
การตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ไม่เพียงแต่สำคัญเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยชีวิตได้ ซึ่งการตรวจสุขภาพเป็นประจำยังไม่ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักมองว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูงกำลังถูกวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีอายุช่วงปลาย 20 ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอย่างโรคอ้วน การสูบบุหรี่ และความเครียดเรื้อรัง
การป้องกันคือกุญแจสำคัญ
ความร่วมมือระหว่างประชาชน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาคือกุญแจสำคัญในการพลิกสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยให้ดีขึ้น ซึ่งทุกครั้งที่เลือกของว่างที่ดีต่อสุขภาพแทนของเค็ม ทุกก้าวที่เดินออกกำลังกาย และทุกครั้งที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ล้วนเป็นอีกหนึ่งก้าวที่พาเราทุกคนเข้าใกล้สุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น
หากต้องการทราบว่าโปรแกรมและหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU)สามารถช่วยพัฒนาแพทย์รุ่นใหม่ในประเทศไทยให้มีความรู้ความสามารถในการรับมือกับปัญหาสุขภาพระดับโลกได้อย่างไร สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ SGU ได้ที่นี่
SGU มุ่งตอบโจทย์การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย ผ่านการพัฒนานักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ เปิดโอกาสให้สมัครได้หลายรอบ พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ตั้งอยู่ที่ประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่จากประเทศไทยสำหรับภาคการศึกษาเดือนสิงหาคม 2568 นี้ โดยเป็นการเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาแพทย์ในระดับนานาชาติ ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา SGU เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งแพทย์เข้าสู่ระบบการฝึกงานแพทย์ประจำบ้าน (Residency) ในสหรัฐอเมริกามากที่สุด
นักศึกษาแพทย์ SGU กว่า 1,000 คน คว้าตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในสหรัฐฯในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025
—
SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่ส...
วันสุขภาพโลก 2025: บทบาทของมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จในการเตรียมความพร้อมแพทย์ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลก
—
เนื่องในวันสุขภาพโลกปีนี้ที่มาในธีม...
การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...
เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่
—
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จสร้างอนาคตแห่งการศึกษาทางการแพทย์ผ่าน 'การศึกษาข้ามชาติ'
—
Transnational education (TNE) หรือ การศึกษาข้ามชาติหมายถึงหลักสูตรหรือโปรแ...
วันมะเร็งโลก 2025: มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จให้ความรู้คนไทยด้วยเคล็ดลับป้องกันมะเร็ง
—
มะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย จากรายงานของ G...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผย 5 แนวทางของ AI ที่จะผลักดันวงการแพทย์ไทย พลิกวิถีการดูแลผู้ป่วยที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
—
ในยุคที่วงการสุขภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีน HPV: ก้าวสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย
—
มะเร็งปากมดลูกนับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสี...