กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินนมแม่จากเต้า อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ความรัก ความผูกพัน ผ่านการโอบกอดระหว่างแม่กับลูก
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าให้ลูกได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมง แรกหลังคลอด กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และหลังจากนั้นควรกินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกด้วยมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดและมีการสร้างสารอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีวิตามินและฮอร์โมน รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยอีกด้วย ซึ่งในเด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยในแบบที่ไม่สามารถหาได้จากการกินนมผง
แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่อไปว่า ลูกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีชนิดของไขมันที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสมอง เช่น DHA , ARA ฯลฯ และสามารถนำไปใช้ได้เต็มที่ เพราะมีสารช่วยย่อยไขมันมาพร้อมด้วย ไขมันในนมแม่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งเหมาะสมกับสมองเด็กกำลังโต ในขณะที่ข้าว กล้วย มีไขมันต่ำมากและระบบการย่อยของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และยังมีสารอื่น ๆ ที่มีมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น taurine, สารช่วยการเจริญเติบโตของสมอง น้ำย่อย และฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งไม่มีในนมผสม นอกจากนี้ ระบบย่อยอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ การได้รับอาหารที่ไม่สัมพันธ์กับช่วงวัย ทำให้เสี่ยงต่อลำไส้อุดตัน และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ ซึ่งนมแม่มีความเหมาะสมกับการทำงานของทางเดินอาหารของทารกที่สุด อีกทั้ง สมรรถภาพของตับ ไต ยังไม่แข็งแรงดีพอในการขับของเสียออกจากร่างกาย
นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กล่าวเพิ่มเติมว่า นมแม่มีประโยชน์ ดังนี้ 1) มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่า 200 ชนิด และสร้างสารอาหารที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตทางร่างกายในแต่ละช่วงวัย 2) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งน้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกที่ลูกน้อยได้รับ 3) เสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ทำให้ลูกน้อยเฉลียวฉลาด 4) ลดการเกิดโรค เช่น ภูมิแพ้ ท้องเสีย และ 5) ผลดีด้านจิตใจ สร้างความรักความผูกพัน ความไว้วางใจผ่านการโอบกอดขณะแม่ให้นมลูก นอกจากนี้ การดูดนมจากเต้าจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกรับรู้ได้ทันที ลูกจะคุ้นเคยกับการดูดนมและแม่จะเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของลูกได้ดีกว่าการดูดนมจากขวด เนื่องจากการดูดนมขวดแตกต่างจากการดูดจากเต้านมแม่ เพราะลักษณะการเคลื่อนที่ของลิ้นและการขยับของขากรรไกรของลูกจะไม่เหมือนกัน การกินนมจากเต้าจะมีการหายใจที่สัมพันธ์กับการดูดและกลืนน้ำนม โดยมีอัตราส่วนการหายใจ การดูด และการกลืนน เป็น 1:1:1 ในขณะที่ลูกที่กินนมขวด น้ำนมจะไหลเร็ว ทำให้ลูกหยุดหายใจและหายใจออกเร็วกว่า การให้ลูกกินนมจากขวดจึงทำให้คุ้นเคยกับการดูดนมจากขวดที่ไหลได้เร็ว และลูกไม่ได้เคลื่อนลิ้นไปด้านหน้าในขณะกินนม เมื่อนำลูกมากินนมแม่จากเต้าจึงอาจมีความลำบาก ต้องฝึกลักษณะการดูดนมใหม่จากการศึกษาพบว่า ประมาณร้อยละ 50 ของทารกที่ได้ดูดจุกนมยางในช่วงอายุน้อยกว่า 1-2 เดือน มีโอกาสเกิดการปฏิเสธไม่ยอมดูดนมแม่ อีกทั้ง นมขวดอาจเสี่ยงปนเปื้อนไมโครพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ได้
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายลดการคลอดก่อนกำหนดของหญิงไทย พร้อมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เพื่อดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เน้นย้ำ การตรวจคัดกรองโรคที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การคลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะที่ทารกยังพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายหลายด้าน อาทิ ปอดของทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังสร้างสารลดแรงตึงผิวได้ไม่เพียงพอ ทำให้ปอดขยายตัวได้ยาก
กรมอนามัย-AOT-อบต.หนองปรือ การันตรีด้วยมาตรฐาน SAN 102 ร้านอาหาร ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว
—
กรมอนามัย กระท...
ร้อนจัดอันตราย! ภูเก็ต ร้อนสุด กรมอนามัย แนะประชาชนเตรียมรับอากาศร้อน-พายุฤดูร้อน
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยจังหวัดภูเก็ต Heat Index อยู่ในระดับอันต...
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด
—
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...
สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่
—
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่ม...
กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
'เดชอิศม์' ชื่นชม 2 แพทย์หญิงกรมอนามัย ช่วยชีวิต 2 หนูน้อยแรกคลอด ขณะเกิดเหตุ แผ่นดินไหว
—
เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒารัตน์ และ แพทย์หญิงพิ...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สธ. - ภาคีเครือข่าย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ นายม...