ค้นหา ‘ความคุ้มค่าของการจัดเก็บข้อมูล’ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--คอร์แอนด์พีค

“ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน นักวิเคราะห์ต่างพากันออกคำเตือนให้เตรียมความพร้อม ขณะที่บริษัทต่างๆ เองก็กำลังจำกัดการใช้งบประมาณในองค์กรของตนอย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพกลายเป็นทางออกที่สำคัญขององค์กร และสิ่งนี้ทำให้ขณะนี้บริษัทต่างๆ กำลังพิจารณาระบบเสมือนจริง (Virtualization) และการปรับเปลี่ยนโครงดิสก์อย่างอิสระ (Dynamic Provisioning) อย่างหนักและกำลังพยายามที่จะใช้ประโยชน์สิ่งที่ตนมีอยู่แล้วให้ได้มากขึ้น” นาย เอเดรียน เดอ ลูกา ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลและป้องกันข้อมูล บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภคเนื่องจากวิกฤตทางการเงินโลก ทำให้การดำเนินธุรกิจกลายเป็นเรื่องยุ่งยากมากขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ต้องทบทวนซ้ำสองรอบถึงเงินทุกบาทที่ต้องเสียไปในส่วนใดก็ตามของธุรกิจและระบบจัดเก็บข้อมูลก็ไม่ได้รับการยกเว้น จริงๆ แล้ว ขณะนี้หลายบริษัทและกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังหาทางลดค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ที่เกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูลอยู่ การจัดซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายบริษัทมีความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลมากเกินจำเป็นและความจุเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่นานมานี้ เช่นปีที่ผ่านมา องค์กรส่วนใหญ่ต่างวุ่นวายอยู่กับการสร้างแบบแผนขนาดใหญ่ที่จะผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ความจุดังกล่าวและหาทางสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจให้ได้ ขณะนี้องค์กรต่างๆ กำลังรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่และรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่มีอยู่แต่เดิมไว้ภายในสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันของตนและกำลังหาทางปลดล็อกความซ้ำซ้อน/ฟุ่มเฟือยและประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ภายใต้สิ่งที่มีอยู่นั้น พื้นฐานของแนวคิดปัจจุบันก็คือว่าองค์กรต่างๆ กำลังพยายามอย่างหนักที่จะสร้างให้เกิดการใช้งานสิ่งที่พวกเขามีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลงนี้ให้ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากยุคของการใช้จ่ายอย่างไม่ยับยั้งชั่งใจและมากเกินจำเป็นก็คือการที่หลายบริษัทกำลังหันมาพิจารณาโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศที่พวกเขาได้ซื้อมาแล้วอีกครั้ง ตลอดจนพยายามหาแนวทางเชิงสร้างสรรค์ที่จะใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้ให้ได้สูงสุด สิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากบรรดาซีไอโอ ซีเอฟโอ และนักวิเคราะห์อย่างมากก็คือการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลให้ดีขึ้น การใช้ประโยชน์: แนวทางใหม่ ในอดีตหลายบริษัทได้สร้างโครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลของตนตามคำแนะนำของผู้ดูแลระบบแอพพลิเคชั่นของตน เมื่อมีการปรับใช้แอพพลิเคชั่นใหม่หรือธุรกิจขยายตัว ทางออกโดยทั่วไปคือการจัดซื้อระบบเซิร์ฟเวอร์ใหม่หรือขยายระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่าฮาร์ดดิสก์มีราคาถูกอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้หลายบริษัทมีโครงสร้างของระบบจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่จัดการได้ยากและมีราคาแพง ซึ่งประกอบไปด้วยชุดทรัพยากรระบบจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันและไม่ได้มาจากผู้ค้ารายเดียว จากการศึกษาล่าสุดพบว่าอัตราการใช้ประโยชน์ของโครงสร้างขนาดมหึมาดังกล่าวส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 20-30% เท่านั้น บริษัท ไอดีซี ธุรกิจด้านการวิจัย ระบุว่าอาร์เรย์ระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมแต่ละชุดที่แต่ละองค์กรซื้อไว้นั้นมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูล การบำรุงรักษา กำลังคน พื้นที่จัดวาง ระบบกำลังไฟ การขยายตัว การควบคุมดูแล การโยกย้าย และประสิทธิภาพการดำเนินงาน แต่องค์กรก็ยังไม่หยุดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูล การขยายตัวของข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ ยังคงมีแซงหน้าความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลที่พร้อมใช้งานในบริษัทส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าในภาวะเศรษกิจที่ยุ่งยากขณะนี้ ตลอดจนการเกิดกฎข้อบังคับใหม่ๆ และความเคร่งครัดของระดับการบริการเพื่อรักษาปริมาณของการทำธุรกรรมไว้ ก่อให้เกิดความกดดันอย่างหนักและส่งผลให้มีการเพิ่มจำนวนทรัพยากรของระบบจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จำเป็นก็คือแนวทางที่ชาญฉลาดและสมเหตุสมผลในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล จะเห็นได้ว่าความต้องการรูปแบบใหม่ในการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลถูกนำมาพิจารณาภายในห้องประชุมของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งซีไอโอและฝ่ายไอทีต่างต้องการให้มีการวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนที่ที่เชื่อถือได้และมีรายละเอียดที่ชัดเจน โดยพิจารณาทั้งจากต้นทุนเริ่มต้นและต้นทุนต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการใช้งบลงทุนที่ประสบผลสำเร็จ บริษัท ไอดีซี ระบุว่า การประเมินต้นทุนการดำเนินงานจะทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์จากสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลตลอดอายุใช้งาน นอกจากนี้ การพิจารณาด้านรายจ่ายที่มีลักษณะของการลงทุนปกติ (Capital Expenditure: CAPEX) ยังสำคัญมากกว่าตัววัดง่ายๆ อย่าง ต้นทุนต่อกิกะไบต์ พวกเขาเชื่อว่าธุรกิจควรให้ความสำคัญกับต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (Total Cost of Ownership: TCO) แทนต้นทุนที่ซื้อมาเท่านั้น เมื่อองค์กรจำนวนมากตั้งเป้าหมายใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ของตนและกำลังหาทางที่จะฟื้นฟูและเพิ่มมูลค่าให้กับสินทรัพย์เหล่านั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Asset: ROA) จึงกลายป็นมาตรวัดความสำเร็จที่สำคัญยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ROA ให้มาตรวัดความสามารถขององค์กรในการทำกำไรจากทุนที่ลงทุนไปแล้วได้ดีขึ้น และถูกคำนวณเป็นอัตราส่วนของกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม แต่เดิมนั้นระบบจัดเก็บข้อมูลถูกวิจารณ์ว่ามี ROA ต่ำ เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ในระดับที่ต่ำมาก การจัดหาทรัพยากรที่มากเกินจำเป็น ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ RAID (redundant array of independent disks) และความจุที่ตกค้างโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในสภาวการณ์ของการระมัดระวังในด้านการใช้จ่ายและมีความจำเป็นที่จะต้องยึดแนวทาง ‘ได้งานมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลง’ ในขณะนี้ ทำให้หลายองค์กรหันไปหาระบบเสมือนจริงและการปรับโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระเพื่อปลดล็อกทรัพยากรระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และปรับปรุงการใช้ประโยชน์โดยรวมให้ดีขึ้น ระบบเสมือนจริง: นำทุกสิ่งมารวมเข้าด้วยกัน ข้อดีของระบบเสมือนจริง (Virtualization) เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก และคุณสมบัติที่ดีของระบบเสมือนจริงนั้นก็ได้รับการโต้แย้งกันไปมาในหลายบทความและหลายฟอรั่มเช่นกัน โดยสรุปแล้ว ระบบเสมือนจริงทำให้ฝ่ายไอทีสามารถรวมทรัพยากรทั้งหมด (ในกรณีนี้เป็นเรื่องของระบบจัดเก็บข้อมูล) ให้เป็นพูลที่สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องแคล่ง จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของแอพพลิเคชั่น และสามารถจัดการได้ภายใต้ชุดกระบวนการทั่วไปเพียงชุดเดียว เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางไอทีได้กลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น ระบบเสมือนจริงจึงเป็นมากกว่าเครื่องมือสำหรับการรวมและการโยกย้ายข้อมูลแบบง่าย โดยเป็นระบบที่สามารถกำหนดให้ข้อมูลไปยังชั้นจัดเก็บที่เหมาะสมที่สุดตามเนื้อหาหรือตามนโยบายได้โดยอัตโนมัติ การรวมสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นพูลเดียวกันและให้อินเตอร์เฟสเดียวสำหรับการจัดการ ทำให้ระบบเสมือนจริงสามารถช่วยปรับปรุงการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยการเรียกคืนระบบจัดเก็บข้อมูลที่ค้างอยู่กลับมาใช้ประโยชน์ได้ และจากการผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นนี้เองทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลใช้งานได้มากขึ้น ช่วยยืดระยะเวลาการจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการลดงบประมาณด้าน CAPEX และค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (Operating Expenditure: OPEX) ได้อย่างมาก แม้ว่าซีไอโอและผู้ดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องพิจารณาเลือกระหว่างค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษากับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนระบบใหม่ แต่ระบบเสมือนจริงสามารถให้การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตัวเลือกของการกำหนดค่าใหม่สำหรับสินทรัพย์เก่าและมักจะถูกมองว่าเสื่อมค่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อีกต่อไป สินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลที่เก่าแล้วสามารถนำมาปรับใช้ใหม่กับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สำคัญหรืออยู่ในพูลระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับชั้นที่ต่ำกว่าภายในสถาปัตยกรรมแบบหลายระดับชั้น ในเวลาเดียวกัน องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถรับรู้ได้ถึงค่าใช้จ่ายด้านสิทธิใช้งานที่ลดลง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จำนวนมากจากหลายผู้ค้าเพื่อป้องกันข้อมูลที่มีค่าของตน สภาพแวดล้อมเสมือนสามารถให้กลยุทธ์การจำลองแบบในลักษณะหนึ่งเดียว ดังนั้นจึงประหยัดค่าสิทธิใช้งานซอฟต์แวร์ การบำรุงรักษา ซึ่งในบางกรณีอาจต้องการผู้มีทักษะด้านไอทีโดยเฉพาะ ระบบเสมือนจริงสามารถถูกเปิดใช้งานได้ในหลายระบบภายในสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล วิธีที่ง่ายที่สุดและมีประสิทธิภาพอย่างมากในการนำระบบเสมือนจริงไปใช้กับสภาพแวดล้อมระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันในปัจจุบัน คือการเปิดใช้ระบบเสมือนจริงในฐานะคอนโทรเลอร์ระบบจัดเก็บ ระบบเสมือนจริงแบบคอนโทรเลอร์จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถจัดการสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลจากหลายผู้ค้าและเป็นระบบต่างชนิดกันที่มีอยู่ของตนให้เป็นพูลระบบจัดเก็บข้อมูลเดียวโดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างเครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ ซึ่งมักจะมีความซับซ้อนและราคาแพง นอกจากนี้ระบบเสมือนจริงยังปลดล็อกสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบระดับชั้นด้วยการให้ข้อเสนอที่น่าสนใจ จะเห็นได้ว่าองค์กรต่างๆ มักปรับใช้สถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบระดับชั้นเดียวสำหรับการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดในพูลเดียว ซึ่งดำเนินการจัดซื้อด้วยอัตราทั่วไปตามอัตราการเติบโตที่คาดไว้ แม้ว่าสิ่งนี้อาจดูมีประสิทธิภาพแต่ไม่ใช่ว่าทุกแอพพลิเคชั่นได้รับการออกแบบมาให้ใช้ทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน บางแอพพลิเคชั่นสำคัญกว่าแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ดังนั้นตัวเลือกของแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีต้นทุนต่ำจึงกลายเป็นทางออกของการจับคู่ต้นทุนระบบจัดเก็บข้อมูลกับความสำคัญของข้อมูล สำหรับผู้ที่ซื้อแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละแอพพลิเคชั่นนั้น โดยปกติพวกเขาจะปรับใช้แยกกันต่างหาก สร้างกลุ่มระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กรทั้งหมดได้ ทั้งนี้ระบบเสมือนจริงเป็นการรวมความสามารถด้านการโยกย้ายข้อมูลโดยที่ไม่ต้องหยุดการทำงานของระบบ ทำให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านมูลค่าของข้อมูลได้ด้วยค่าใช้จ่ายระบบจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับการเพิ่มระบบการบริการให้สูงขึ้นได้ โดยสรุปแล้ว ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบระดับชั้นได้ปรับปรุงการจัดเตรียมและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นทำให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลที่ถูกต้องจะได้รับการกำหนดให้อยู่ในชั้นจัดเก็บที่เหมาะสมตามมูลค่าของธุรกิจและความต้องการด้านการเข้าถึงในอนาคต นอกจากนี้ สิ่งนี้ยังทำให้แน่ใจได้ว่าการจัดการข้อมูลจะสอดคล้องกับมูลค่าและการใช้ข้อมูลอีกด้วย การปรับโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ: จัดสรรระบบจัดเก็บข้อมูลเมื่อต้องการใช้เท่านั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ (Dynamic Provisioning) สามารถขจัดปัญหาการจัดสรรพื้นที่ระบบจัดเก็บข้อมูลไว้เกินความต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องน่าปวดหัวของฝ่ายไอทีอย่างมาก เนื่องจากความจุที่มากเกินไปนั้นอาจไม่เคยถูกใช้งานเลย ถือป็นต้นทุนที่สำคัญของบริษัท เมื่อใช้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ ฝ่ายไอทีสามารถใช้พูลระบบจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการจัดสรรพูลเมื่อมีการร้องขอจากแอพพลิเคชั่นเท่านั้น ข้อดีที่มองเห็นได้ชัดเจนก็คือมีการใช้พื้นที่จัดวางน้อยลง ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ความซับซ้อนลดลง และประหยัด CAPEX การปรับโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระปรับปรุงการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลให้ดีขึ้นได้อย่างมากด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าระบบจัดเก็บข้อมูลใดบ้างที่ควรได้รับการจัดสรร แทนที่จะมีการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้า แอพพลิเคชั่นสามารถคาดการณ์การใช้งานและสามารถถูกกำหนดเข้ากับพื้นที่ใช้งานเมื่อมีการร้องขอได้ทันที ความสามารถแบบ “Just in Time” (ทันเวลา) เพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ความจุที่มีอยู่ และช่วยองค์กรขยายเวลาการจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ในสภาวะการณ์ที่เงินทุกบาทที่ประหยัดได้นั้นสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์ยังปรับปรุง OPEX ให้ดีขึ้น และไม่เพียงทำให้กระบวนการจัดเตรียมระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย แต่ยังเพิ่มจำนวนเทราไบต์ที่ผู้ดูแลหนึ่งคนจะสามารถจัดการได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของทีมไอทีอีกด้วย โดยปกติแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการด้านไอที เช่น การจัดการระบบไฟล์และไดรฟ์ข้อมูล ผู้จัดการเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องจะใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมากในการดำเนินงาน แต่ด้วยซอฟต์แวร์ Dynamic Provisioning ทำให้สามารถจัดเตรียมไดรฟ์ข้อมูลเสมือนขนาดใหญ่ได้โดยที่ไม่เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม งานด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลได้เปลี่ยนจากรูปแบบการรันเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากไปเป็นการจัดการพูลระบบจัดเก็บข้อมูลเดียว ทำให้การดำเนินงานของฝ่ายไอทีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ประหยัดระบบจัดเก็บข้อมูลของคุณ เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่น่าตื่นเต้นอย่างมากสำหรับองค์กรต่างๆ แต่การใช้เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอ จึงต้องทำให้แน่ใจได้ว่าทั้งสองเทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกำจัดการไร้ประโยชน์ของทรัพยากรและปรับปรุง ROA ได้ในท้ายที่สุด เมื่อรวมสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ากับแนวทางด้านเศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูล (Storage Economics), เครื่องมือ, เทคโนโลยี และการบริการ เพื่อตรวจวัดและระบุต้นทุนของระบบจัดเก็บข้อมูล ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถช่วยซีไอโอและผู้จัดการด้านไอทีได้อย่างมากในการปรับขยายการลงทุนปัจจุบันได้อย่างสูงสุด ลด CAPEX และ OPEX และแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ควรค่าแก่การลงทุน จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปี 2545 มีลูกค้ากว่า 600 รายทั่วโลกแสดงความเชื่อมั่นให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เข้ามาช่วยปรับสภาพแวดล้อมระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันของตนเพื่อประหยัดระบบจัดเก็บข้อมูลให้ได้มากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่บริษัท ไอดีซี ได้กล่าวไว้ในรายงานชื่อ Storage Economics: Assessing the Real Cost of Storage เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ว่าแนวคิดของ "บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในเรื่องเศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูลแสดงให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนและทำให้การวิเคราะห์ ROI กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจด้านการลงทุนในระบบจัดเก็บข้อมูลด้วย” Side-box: ระบบเสมือนจริงแจกฟรี การปรับปรุงการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลให้ดีขึ้นไม่กระทบต่อส่วนสำคัญใดๆ แม้แต่น้อย ด้วยโปรแกรม Switch it On ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ขณะนี้บริษัทต่างๆ สามารถเพิ่ม ROA และเรียกคืนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้กลับคืนมาถึง 50% โดยไม่สร้างความยุ่งยากใดๆ โปรแกรมนี้จัดหาซอฟต์แวร์ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงให้คุณฟรี ทำให้คุณสามารถรวมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบต่อภายนอกจากผู้ค้ารายอื่นๆ ทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การจัดการทั่วไปและสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมสูงสุดได้ด้วยความสามารถขั้นสูง เช่น การย้ายข้อมูลอย่างโปร่งใส การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระ การจัดระดับชั้นอย่างชาญฉลาด และการกู้คืนความเสียหายของข้อมูล ตัวอย่างของการประหยัดทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือมหาวิทยาลัยศูนย์สาธารณสุขศาสตร์ของยูทาห์ (University of Utah Health Sciences Center: UUHSC) ซึ่งได้รับ ROI 127% ภายใน 14 เดือนและคาดว่าภายในสามปีของการใช้โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงของฮิตาชิ (Hitachi Storage Virtualization) จะประหยัดเงินได้มากกว่า 1.6 ล้านดอลลาร์ ขณะที่บริษัทสิบอันดับแรกใน Forbes Global 2000 สามารถเรียกคืนความจุที่ไม่ได้ใช้งานกลับคืนได้กว่า 150 เทราไบต์ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 ล้านดอลลาร์เมื่อนำโซลูชั่นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระของฮิตาชิ (Hitachi Dynamic Provisioning) เข้ามาใช้ภายในองค์กร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ กรุณาดูรายละเอียดได้ที่: http://www.hds.com/solutions/resource-centers/virtualization-resource-center/ สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ ศรีสุพัฒ เสียงเย็น บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300 [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวต่างๆ เองก็กำลัง+ภาวะเศรษฐกิจวันนี้

บ๊อช ยืนหยัดด้วยจุดแข็งด้านผู้นำทางเทคโนโลยี

วางกลยุทธ์ปี พ.ศ. 2537 มุ่งมั่นก้าวสู่เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้น ผลประกอบการปี พ.ศ. 2567 รายได้จากยอดขาย 90.3 พันล้านยูโร อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี และ อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ร้อยละ 3.5 เม็ดเงินลงทุนกว่า 13 พันล้านยูโร บ๊อช ประเทศไทย เติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บ๊อช จัดสรรเงินทุนกว่า 250 ล้านยูโร กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ชตุทท์การ์ทและเรนนิงเงน เยอรมนี กลุ่มบริษัท บ๊อช มุ่งมั่นเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ปี พ.ศ

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ทวีความท้าทาย และร... KKP เปิดตัวแคมเปญใหม่ สะท้อนพลังของ "การวางแผนทางการเงิน" ที่ไม่ควรมองข้าม — ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ทวีความท้าทาย และระดับหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังอยู่ในระดั...

ธุรกิจที่อยู่อาศัยเดินหน้าได้ตามแผนแม้ตลา... FPT พิสูจน์ศักยภาพฝ่าภาวะเศรษฐกิจซบ ครึ่งปีแรกกวาดรายได้กว่า 6,000 ล้านบาท — ธุรกิจที่อยู่อาศัยเดินหน้าได้ตามแผนแม้ตลาดไม่สดใส โฟกัสโครงการบ้าน-ทาวน์โฮมระ...

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของ ... XPG ส่งสัญญาณดี แย้มปันผลปีหน้า — การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XPG ที่จัดผ่าน E-AGM ปีนี้...

ภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่เผชิญกับความ... NPS ออกหุ้นกู้สำเร็จตามเป้าหมาย ส่งสัญญาณบวกของตลาดหุ้นกู้สำหรับหุ้นกู้คุณภาพ — ภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่เผชิญกับความท้าทายจากสภาวะเศรษฐกิจโลกและของปร...