ผู้เชี่ยวชาญ iTAP ศึกษา “แทนนิน” จากใบมันฯ หวังเกษตรกรพึ่งตนเอง ลดใช้สารเคมี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--iTAP

รศ.ดร.วัลลภ อารีรบ ม.เกษตรฯ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ iTAP ศึกษาสาร “แทนนิน” จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่าง “ใบมันสำปะหลัง” นำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัด เช่น บำบัดน้ำเสีย, ทำปุ๋ย, แก้ปัญหาเพลี้ยแป้งในไร่มันฯ หวังช่วยเกษตรกรลดการใช้สารเคมีอันตราย นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด แทนนิน (Tannin) สารที่ทำให้เกิดรสฝาดในพืช ความเป็นพิษของแทนนินจะยับยั้งการเกิดเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะสัตว์ นอกจากนี้ยังพบในพืชหลายชนิดและแทนนินมีความสามารถในการป้องกันการเข้าทำลายของแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลงกัดกิน ฯลฯ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของแทนนินจึงทำให้มีผู้เชี่ยวชาญสนใจศึกษา “แทนนิน” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานหลากหลายด้าน รศ.ดร.วัลลภ อารีรบ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ iTAP (โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย) เปิดเผยว่า สนใจศึกษาสารแทนนินจากประโยชน์และความน่าสนใจของสารชนิดนี้ อาทิ พบว่าหากเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง(สี่กระเพาะ)กินแทนนินเข้าไปมากจะทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารลดลง หรือประโยชน์ในแง่ของการฆ่าแบคทีเรียนำมาใช้ใส่ยาสีฟัน และใช้เป็นยาสมานแผล นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าแทนนินจากต่างประเทศเพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย ฯลฯ ดังนั้นเมื่อพบว่าแทนนินมีคุณสมบัติหลายประการ จึงสนใจจะศึกษาสารชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นเริ่มนำ แทนนิน ทดสอบบำบัดน้ำเสียในโรงอาหารมหาวิทยาลัย โรงนม ฯลฯพบว่าสารสกัดแทนนินสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมง เมื่อใส่สารสกัดแทนนินลงในสารละลายที่เป็นน้ำทิ้งแล้วตรวจสอบค่า BOD ในน้ำทิ้งพบว่า มีค่าต่ำลง ทั้งนี้สารสกัดแทนนินสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการจับตัวของตะกอนแขวนลอยในน้ำเสียให้ตกตะกอนได้ดี ทำให้น้ำใสขึ้น ดังนั้นหากนำแทนนินที่สกัดได้ไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานต่างๆ เช่น โรงงานรีดเหล็ก โรงานผลิตแบตเตอรี่ ฯลฯ จะช่วยลดต้นทุนด้านการใช้น้ำของโรงงาน รวมทั้งช่วยกำจัดกลิ่นอีกด้วย รศ.ดร.วัลลภ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังเป็นความบังเอิญที่ค้นพบว่า สารแทนนินสามารถยับยั้งการระบาดของเพลี้ยแป้ง “ปลูกสบู่ดำไว้และเห็นว่ามีเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย จึงนำแทนนินไปรดเมื่อเวลาผ่านไปพบว่าเพลี้ยแป้งที่เคยขึ้นหายไป จึงเก็บข้อมูลไว้และให้ทีมวิจัยช่วยกันวิเคราะห์ก็พบว่า สารตัวนี้ยังทำให้เพลี้ยแป้งไม่เข้ามากินอาหาร การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งลดลง” ขณะนั้นยังมีปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลังจึงสนใจที่จะนำแทนนินเข้าไปทดสอบ และเลือกพืชคือ มันสำปะหลังมาสกัดแทนนิน “เมื่อนำจะมันสำปะหลังมาสกัดแทนนินจึงคิดว่าควรใช้ส่วนไหนของพืชชนิดนี้ และมองเห็นว่าใบมันสำปะหลังเป็นส่วนเหลือทิ้ง หากสามารถนำมาสกัดเป็นแทนนินได้ เมื่อราคาพืชชนิดนี้ตกต่ำน่าจะเป็นแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้อีกทางหนึ่ง” ด้วยความตั้งใจดีและต้องการสร้างแนวทางการทำงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย งานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดแทนนินกับเพลี้ยแป้งจึงเกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน โดยเบื้องต้นได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชน บริษัท กิตติรัตนพรรณ จำกัด อาทิ ในโครงการการพัฒนาสารสกัดแทนนินจากใบมันสำปะหลังเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช และพัฒนาสารสกัดแทนนินในรูปที่บริสุทธิ์มากขึ้น สำหรับควบคุมการเจริญเติบโตของแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งช่วยให้ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งลดการพึ่งพาสารเคมีปราบศัตรูพืชจากต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ iTAP เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้ศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า สารสกัดแทนนินที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นที่ 1,500 ppm มีแนวโน้มส่งผลให้การเข้าทำลายส่วนของพืชลดลง 32.52 % และเมื่อนำไปทดลองการขับไล่เพลี้ยแป้งในสภาพไร่ยังพบว่า การใช้สารสกัดแทนนินที่ความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm ช่วยทำให้แปลงมันสำปะหลังสะอาด คือ เพลี้ยแป้งเข้าทำลายน้อย ต้นมันสำปะหลังแตกยอดใหม่ได้ดี ไม่หงิกงอ ลำต้นยืดยาวได้เป็นปกติ แตกทรงพุ่มได้ดีจึงเป็นความเข้มข้นที่เหมาะแก่การขับไล่เพลี้ยแป้ง “การเข้าทำลายแมลงลดลง แสดงว่าสารตัวนี้มีผลยับยั้งการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง ไม่ฆ่า แต่น้อยลง เพราะว่าสารตัวนี้ไม่เป็นอันตรายกับเรา สารเคมีอื่นๆคนสเปรย์ตาย และต้องใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะว่ามันดื้อยาขึ้น แต่สารอินทรีย์ชนิดนี้ได้เปรียบเนื่องจากมีอยู่แล้วในธรรมชาติ แมลงไม่ปรับตัวแต่เบื่ออาหาร สารอินทรีย์นี้ดูดซึมเข้าไปในพืชได้ด้วย เราปกคลุมหน้าผิวของต้นด้วยแทนนินมันก็ขม ฝาด เพลี้ยไม่ชอบ” นอกจากนี้ยังมีโครงการ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากใบมันสำปะหลังโดยศึกษาปริมาณธาตุอาหารใบมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวและที่ผ่านกระบวนการจากการสกัดสารแทนนินออกไปแล้วมาพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่างๆที่เหมาะสมต่อระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง เป็นต้น ผลที่ได้จากการทำงานนี้ คือ สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เพิ่มมูลค่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์และลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น เมื่อการทำงานร่วมกับภาคเอกชนประสบความสำเร็จและต้องการช่วยเหลือเกษตรกรเป็นทุนเดิม รศ.ดร.วัลลภ จึงต้องการให้เกษตรกรนำความรู้การสกัดแทนนินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ “อยากให้เกษตรกรสามารถสกัดแทนนินใช้ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้ เป็นความปรารถนาที่อยากเห็นเกษตรกรไทยยืนอยู่บนแข้งของตัวเองไม่ต้องพึ่งยา สารเคมี หากใช้สารเคมีมากจะอันตรายกับชีวิตและส่งผลต่อกระทบกับการรักษา ซึ่งหากลดตรงนี้ก็เท่ากับเป็นการป้องกันโรค ขณะเดียวกันเกษตรกรสามารถใช้พืชที่มีอยู่อาจจะเปลือกไม้ ต้นไม้อะไรก็ได้ สกัดหาสารแทนนิน และบอกข้อมูลกลับมาหาผู้เชี่ยวชาญว่าได้ผลอย่างไรบ้าง เราต้องการตรงนั้น คือ กลายเป็นงานวิจัยย่อยกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถหาสารแทนนินไปใช้ประโยชน์ได้มากในที่สุด” นอกจากนี้ รศ.ดร.วัลลภ มองการทำงานร่วมกับ iTAP ว่าเป็นความโชคดีทำให้เปิดโลกทัศน์กว้างขึ้นในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและยังเป็นหน่วยงานรัฐที่มีความคล่องตัวในการทำงาน และอนาคตยังคงทำงานวิจัยเกี่ยวกับแทนนินอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้องการทำแทนนินบริสุทธิ์ในรูปผง เพื่อสะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่ง เป็นต้น จากอดีตนักศึกษาด้านชีววิทยาและคลุกคลีกับการทำงานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์มาตลอดโดยเฉพาะการศึกษาสารแทนนินในพืชชนิดต่างๆ นอกจากนี้ รศ. ดร.วัลลภ อารีรบ ยังจบนิติศาสตร์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านบริหารเพื่อนำความรู้เกี่ยวกับตลาดสินค้าเกษตรและอื่นๆไปถ่ายทอดให้กับนิสิตเกษตรช่วยให้เยาวชนเหล่านี้มีมุมมองหลากหลายมิตินอกเหนือจากความรู้ด้านเกษตรเพียงอย่างเดียว และยังคงสานต่อการทำงานร่วมกับ iTAP เพื่อพัฒนาความรู้ด้านนี้ โดยคาดหวังว่าจะนำความรู้เกี่ยวกับ“แทนนิน”ไปสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยได้ต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ iTAP สามารถติดต่อได้ที่ โทร.02-564 -7000 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวเกษตรกรพึ่งตน+บำบัดน้ำเสียวันนี้

เฟอร์ริกคลอไรด์ กับบทบาทสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมขาดไม่ได้

ถ้าพูดถึง "เฟอร์ริกคลอไรด์ (Ferric Chloride, FeCl?)" หลายคนอาจคุ้นหูกับบทบาทของมันในอุตสาหกรรมการกัดลายแผงวงจรพิมพ์ (PCB) หรือในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย แต่ความจริงแล้ว เฟอร์ริกคลอไรด์ยังมีประโยชน์มากมายในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การผลิตยา ไปจนถึงการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมเคมี มารู้กันก่อนว่าเฟอร์ริกคลอไรด์คืออะไร? เฟอร์ริกคลอไรด์ (FeCl?) เป็นสารประกอบเคมีของ ธาตุเหล็ก (Iron) กับ คลอรีน (Chlorine) มีลักษณะเป็นผลึกสีน้ำตาลเข้มหรือสีเขียวเข้ม และสามารถละลายในน้ำได้ดี โดยละลายแล้วจะ

STA เร่งเครื่องสู่ Net Zero ลงทุนขยายการต... STA เร่งเครื่องสู่ Net Zero ลงทุนขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน — STA เร่งเครื่องสู่ Net Zero ลงทุนขยายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เทคโนโลยีป...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ ชู "บัลลังก์โมเดล" สร้าง สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ปลูกข้าวโพดยั่งยืน — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส...

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท กรุงเท... กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรุงเทพโปรดิ๊วส ยกระดับเกษตรกรไทยสู่ 4.0 — กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ได้คัดเลือกเกษตรกร...

ภาพข่าว: MOU ข้าวโพด

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ระหว่างนายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และนายสมชาย กังสมุทร...

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ลงนา... ซีพี จับมือ ส.ป.ก.เดินหน้าโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” — บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อกา...