อพท. (DASTA) จุดประกายท่องเที่ยวแนวใหม่ Low Carbon Tourism พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผู้ประกอบการสู่ธุรกิจท่องเที่ยวสีเขียวเต็มรูปแบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 มี.ค.--อพท.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จุดประกายท่องเที่ยวแนวใหม่ Low Carbon Tourism มุ่งสร้างความตระหนักในการลดการใช้พลังงานนำไปสู่การลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังได้ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยบูรพา บริษัทอเดลฟี ประเทศเยอรมนี และมูลนิธิใบไม้เขียวในการพัฒนาเครื่องมือการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านความร่วมมือและสนับสนุนงานด้านวิชาการ ตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์จากเยอรมัน โดยการลงพื้นที่หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อศึกษาวิจัยตามโครงการการท่องเที่ยวและการปกป้องสภาพภูมิอากาศ พบว่าอัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการท่องเที่ยวสูงถึง 19.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่ง อพท. มุ่งหวังให้ภาคีที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการและวางแผนให้ “หมู่เกาะช้างและจังหวัดตราด” เป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศอย่างบูรณาการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า จากการศึกษาวัดร่องรอยการใช้คาร์บอนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง จังหวัดตราด พบว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 47,835 ตัน/ปี จากการเก็บข้อมูลในหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงพบว่า ปัญหาหลักอยู่ที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร และเรือเฟอร์รี่ ดังนั้น จึงนำไปสู่การคิดคิดค้นและพัฒนาเครื่องมือการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยประสานความร่วมมือกับมูลนิธิใบไม้เขียว โดยเครื่องมือดังกล่าวเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปริมาณขยะ น้ำมัน และแก๊สฯลฯ ภายในโรงแรม ซึ่งจะทำให้ทราบว่า โรงแรมเหล่านั้น ในช่วงเวลาหนึ่งคืนจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณเท่าไหร่ และสูญเสียค่าใช้จ่ายส่วนเกินไปจากสาเหตุใดบ้างซึ่งอาจหามาตรการลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนเป็นจุดขายและประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดสีเขียวให้กับผู้ประกอบการ เพื่อหรือสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวแนวใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไว้รองรับนักท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ยืนต้นร่วมกับนักท่องเที่ยว “ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ผ่านมา อพท. และ GIZ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในขณะนี้อยู่ในกระบวนการปรับปรุงให้โปรแกรมดังกล่าวมีความสมบูรณ์มากที่สุดและการนำไปใช้งานอย่างสะดวกและง่ายดาย สิ่งที่มุ่งหวังก็คือ ผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้อย่างจริงจังกับสถานประกอบการในจังหวัดตราดอันเป็นพื้นที่นำร่อง และเป็นพื้นที่ต้นแบบที่ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ และทราบแนวทางปฏิบัติว่าจะสามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับ สิ่งเเวดล้อมต่อไปได้อย่างไร ซึ่งก็หวังว่าผู้ประกอบการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะนำเอาสิ่งนี้ไปต่อยอดให้เป็นรูปธรรม โดยในอนาคตทางมูลนิธิใบไม้เขียวอาจนำโปรแกรมคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจการโรงแรม ไปผนวกเข้ากับกระบวนการในการออกใบประกาศของมูลนิธิใบไม้เขียว ซึ่งเป็นองค์กรที่หน้าที่ในการออกมาตรฐาน Green Hotel หรือ Climate Friendly Hotel ต่อไป” พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค กล่าว หลังจากนี้ ผลจากแนวคิดและการดำเนินโครงการดังกล่าวในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง จังหวัดตราด ภายใต้ความร่วมมือของ อพท. GIZ และมูลนิธิใบไม้เขียว จะถูกนำไปเผยแพร่ต่อสายตาชาวโลก ในงานตลาดการท่องเที่ยวนานาชาติ หรือ ITB Berlin 2011 เดือนมีนาคม ศกนี้ ในฐานะต้นแบบของการท่องเที่ยวแนวใหม่ Low Carbon Tourism ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม อนึ่ง โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศภาคการท่องเที่ยว นับเป็นหนึ่งในโครงการที่องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรือ อพท. ได้ดำเนินการร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์กรที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2552-2554 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: งานประชาสัมพันธ์ อพท. โทร.0 2357 3580 ต่อ 401 โทรสาร 0 2357 3599 หรือที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ คุณปัทมา เปรมปรี โทร. 0 2967 7713 – 4

ข่าวองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน+องค์การบริหารการพัฒนาพื้นวันนี้

ภาพข่าว: GIZ และอพท.จัดสัมมนาส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย เน้นการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ

ในภาพ จากซ้าย 1) มร. ไอเค ออตโต ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว จากประเทศเยอรมนี 2) นายอนุวัต เชื้อเย็น อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์ สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3) นายดำรงค์ แสงกวีเลิศ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรืออพท. 4) มร.ฟรันซ์ แอลเลอร์มันส์ ผู้อำนวยการโครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย 5) พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. 6)

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หร... GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ "การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ" — บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรค...

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแ... กรมพัฒนาฝีมืองานร่วม giz ติวเข้มครูช่างแอร์ ใช้สารทำความเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม — นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้นางจิรวรรณ ส...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่ว... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการ Capacity development on Ecolabel establishment ...

องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมั... เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก — องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่า...

กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเท... กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality — กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดิ...