5 หนุ่ม.มทร.ธัญบุรีวิชาชีพคอม แนะภัยออนไลน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--มทร.ธัญบุรี

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีใครให้ความสนใจ ข่าวการแฮกข้อมูล twitter นายกรัฐมนตรี ได้รับการกล่าวขานกลายเป็นข่าวที่ได้รับความนิยม แต่บนกระแสความนิยมเหล่านั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ในฐานะของนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวข้องกับสาขาคอมพิวเตอร์ พวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “ตี๊” นายมานิจ คุมสุสี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทียบโอน สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล่าว่า ไม่มีใครที่สามารถความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ได้ ตนเป็น 1 ใน บุคคลที่ต้องสื่อสารบนโลกออนไลน์ อย่างน้อยก็ต้องเปิดอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งการบ้านอาจารย์ สาขาวิชาที่เรียนก็เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สำหรับข่าวคราวของการแฮกข้อมูล โดยแฮกเกอร์ ถ้ามองในแง่บวก ดีสำหรับผู้ที่ถูกแฮกจะทำให้ตัวผู้ที่ถูกแฮกข้อมูล ทราบว่าตนเองมีข้อบกพร่องในการป้องกันความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้ระวังตัวมากขึ้น ส่วนในทางลบ ถือว่าเป็นการก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว ฝากถึงผู้ที่ชอบ ล็อกอินพาสเวริด์ตามร้านอินเตอร์เน็ตอยากให้ระมัดระวัง ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่าง ต้องล็อกอินเข้าเว็บไซต์ หลังจากที่ใช้เสร็จล็อกเอาท์ออก และแนะนำว่าให้เปลี่ยนพาสเวริด์ไปเลย เพราะว่า ร้านอินเตอร์เน็ตบ้างร้านจะมีโปรแกรมที่สามารถจำพาสเวริด์ของผู้ที่เข้าไปใช้บริการได้ ทางด้าน “เนอส” นายปกรณ์ ทองพลับ เพื่อนร่วมชั้นของตี๊ เล่าว่า ปัจจุบันวิธีการในการแฮกเกอร์ สามารถเรียนรู้ได้เองถ้าใครมีพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ ในความคิดของตนเองพวกที่ชอบแฮกข้อมูลของคนอื่นคงอยากลองความสามารถตนเองว่าสามารถเข้าถึงและทำสำเร็จหรือไม ไม่ว่าเหตุผลที่พวกเขาเหล่านั้นทำไปเพื่ออะไร แต่บนหลักของสัจธรรมไม่สมควรทำ เอาเวลาในการแฮกข้อมูลไปผลิตหรือว่าเขียนโปรแกรมที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า อยากจะตื่นคนที่ชอบตั้งรหัสพาสเวริด์ง่ายๆ เพื่อสะดวกในการจำ อย่างเช่น ตั้งวันเกิดเดือนปี หรือว่าเบอร์โทรศัพท์ ง่ายต่อการคาดเดา ควรเปลี่ยนพาสเวริด์ใหม่ หรือให้ล็อกอินผ่านทาง HTTPS ลักษณะการล็อกเอาผ่าน HTTPS คือ ก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่งต้องเข้ารหัสก่อน ไม่สามารถถูกดักจับได้ ข้อมูลสามารถอ่านได้ด้วยตัวผู้ใช้และ Server เอง “เอ็ม” นายศุภกร แน่นอุดร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า ที่เลือกเรียนสาขาวิชานี้ เพราะว่า อยากจะพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ข่าวเกี่ยวกับการแฮกข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เรื่องของการแฮกข้อมูลถึงแม้นว่าจะมีกฏหมายคุ้มครองแต่เรื่องพวกนี้ก็ไม่หมดไป สำหรับใครที่ชอบล๊อกเอาท์ ผ่าน WiFi ตามสถานที่ต่างๆ ให้ระมัดระวัง เพราะว่า อาจจะมีการจำพาสเวิรด์ของผู้ใช้ไว้ได้ แต่บ้างคนอาจจะกลัวจนเลิกเล่นหรือไม่เข้ามาใช้ สื่อออนไลน์อีกต่อไป “สื่อออนไลน์” มีความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แต่เมื่อได้เข้ามาใช้แล้วก็ควรระมัดระวัง ใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด “ยุทธ” นายยงยุทธ ใจสูงเนิน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า การที่สามารถเข้าไปแฮกข้อมูลคนอื่นได้ จะต้องเป็นคนที่เก่งมาก “แต่เก่งแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะเข้าไปแฮกข้อมูลของคนอื่น” ภัยออนไลน์ที่ลงหนังสือพิมพ์ไม่เว้นแต่ละวัน เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยทุกวันนี้ จะใช้สื่อนี้กันมากขึ้น ตั้งแต่ตื่นจนนอน ยกตัวอย่าง facebook,twitter สื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหนต้องมีการอัพสเตตัส อยู่ที่ไหนก็ต้องบอก อัพรูปภาพขึ้น ซึ่งบ้างครั้งสิ่งราวนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น โดยส่วนตัวจะเข้า Facebook เพื่อเข้าไปส่งการบ้านอาจารย์ ใช้ในการพูดคุยกับเพื่อนๆ “เพื่อนๆหรือน้องๆที่อยู่ในวัยที่อยากลองอยากรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเองหรือเทคนิคต่างๆในเว็บไซต์ แต่ควรในกรอบที่ถูกที่ควรและมีประโยชน์” ภัยที่ขึ้นจากสื่อออนไลน์ เป็นภัยมืดที่ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อไร เราอาจจะไม่ได้เป็นบุคคลที่น่าสนใจในการเข้ามาแฮกข้อมูลเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน แต่อาจจะแฮกข้อมูลที่สำคัญเพื่อทำไปประโยชน์อย่างอื่น อย่าลืมว่าสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่รวดเร็วและมีภัยมหาสาร

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชวันนี้

มทร.กรุงเทพ จับมือ WUST ยกระดับศักยภาพ สู่การเป็นศูนย์กลางพัฒนาทักษะกำลังคนด้านวิศวกรรมฯ

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) กรุงเทพ (RMUTK) เปิดเผยว่า จากการประชุม ISPEM 2025 (The Fifth International Conference on Intelligent Systems in Production Engineering and Maintenance) ที่เมืองวรอตซวัฟ( Wroc?aw) ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2025 ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่รวบรวมนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำภาคอุตสาหกรรมในสาขาวิศวกรรมการผลิต การบำรุงรักษา และระบบอัจฉริยะ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรม และสร้างความร่วมมือของ

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพ... "นวัตกรชุมชน" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม — หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับโครงการสังเคราะห์และขับเคล...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... นักศึกษา มทร.กรุงเทพ เดินสายกวาดรางวัล โชว์ศักยภาพในการแข่งขันหลากหลายเวที — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) กรุงเทพ เปิ...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพติดอาวุธบุคลากรสู่การเป็นผู้นำเข้มแข็ง — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ท...

ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาว... มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล — ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเท...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธ... "มทร.ล้านนา" ประเมินความเสียหาย พร้อมจัดทำคู่มือข้อปฏิบัติรับมือแผ่นดินไหว — รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้...