หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หน่วยวิจัยดีเด่นประจำปี 2566 และ 2567 มีเป้าหมายในการวิจัยนวัตกรรมวัสดุรักษ์โลกในทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและส่งเสริมนโยบายลดการเผา คิดค้น "กระถางย่อยสลายได้จากวัสดุชีวมวล" สำหรับใช้เพาะชำไม้ดอก ไม้ประดับ รวมถึงกล้าไม้อื่น ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่เหลือทิ้งทางการเกษตร ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชุม คำพุฒ นักวิจัยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชุม คำพุฒ นักวิจัยผลงานดังกล่าว เผยว่า "กระถางย่อยสลายได้จากวัสดุชีวมวล เป็นภาชนะสำหรับเพาะกล้าไม้ตั้งแต่อนุบาลจนโตเพียงพอสำหรับการลงปลูกในแปลงปลูกหรือในหลุมหรือการย้ายกระถางปลูกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยไม่ต้องถอดรากออกจากกระถาง ซึ่งทำมาจากชีวมวลที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อาทิ ฟางข้าว แกลบ ใยมะพร้าว ยอดอ้อย-ใบอ้อย ซังข้าวโพด เศษหญ้า เหง้ามัน ใช้เทคโนโลยีการอัดวัสดุชีวมวลร่วมกับตัวเชื่อมประสานธรรมชาติลงในโมลขึ้นรูปกระถาง กระบวนการนี้ต้องการการควบคุมตัวแปรที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และแรงอัด ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของชีวมวลแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณสมบัติทางกลที่เหมาะสม เช่น ความแข็งแรง ทนทาน รากพืชสามารถชอนไชออกจากก้นกระถางและด้านข้างของกระถางได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และระบายอากาศ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน"
ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัล GOLD MEDAL และ SPECIAL AWARD การประกวดในงาน "2023 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE 2023)" จัดโดย World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) ณ Tokyo Ariake Garden Convention Center กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น และ รางวัล BRONZE Award การประกวดในงาน "The 11th Macao International Innovation and Invention Expo 2023 - ONLINE (MiiEX 2022)" จัดโดย Macao Innovation & Invention Association ณ Macau Convention Centre เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระถางย่อยสลายได้จากวัสดุชีวมวล มีกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรต้นทุนต่ำ วัตถุดิบสามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนและฝุ่นละออง PM2.5 ในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านการเกษตร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้สนใจหารายได้เสริม รวมถึงนักวิจัยที่ต้องการต่อยอดนวัตกรรมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีเมล : [email protected] โทรศัพท์ 0-25493410
จากอะโวคาโดเหลือทิ้ง สู่ครีมบำรุงผิวหน้าสุดล้ำ ฝีมือนักวิจัย มทร.ธัญบุรี ผสานนาโนเทคโนโลยี พัฒนา "Anti-Aging Facial Cleansing Hydrogel และ Anti-Aging Nanoemulgel" ต้านริ้วรอยอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ตามแนวคิดคลีนบิวตี้ และพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องสำอางใหม่ล่าสุด A-SHINE Clean Beauty: The Anti-Aging Avocado Secret Collection ผลงานของอาจารย์นักวิจัยคณะการ
มทร.ธัญบุรี เผยความพร้อมก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยืนยันไม่ขึ้นค่าเทอมนักศึกษา
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโ...
คณะศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ สุดยอดคว้าถ้วยรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ 2 ปีซ้อน
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเท...
มทร.ธัญบุรีไม่ห่วงเด็กเข้าใหม่ลดลง
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...
มทร.ธัญบุรีประชุมวิชาการพัฒนาบุคลากร
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานการประช...
มทร.ธัญบุรี เดินเกมส์รุกเปิดสาขาวิชาใหม่
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
เปิดประตูราชมงคลธัญบุรี
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม "...
เครือเฮอริเทจ คว้ารางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและบุคลากรดีเด่นประจำปี 2567 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
—
เครือเฮอริเทจ ผู้ผลิตและจัดจ...