มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ดร.เศรษฐา วีระธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) กรุงเทพ ในฐานะผู้จัดการโครงการ "EMDT เจาะลึกเทรนด์ละครแนวตั้ง: การสร้างสรรค์ สร้างรายได้ สร้าง Soft Power" กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2568 ที่ มทร.กรุงเทพ ทางโครงการ "EMDT เจาะลึกเทรนด์ละครแนวตั้ง: การสร้างสรรค์ สร้างรายได้ สร้าง Soft Power"คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร. กรุงเทพได้ร่วมกับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมบันเทิง จัดเวิร์กชอปเชิงลึก โดยการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA - Thailand Creative Culture Agency) โครงการ OFOS (One Family One Soft Power)และความร่วมมือจากภาควิชาการ ซึ่งในงานมีบุคคลสำคัญจากวงการบันเทิงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง

มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล

ดร.เศรษฐา กล่าวต่อไปว่า โครงการ EMDT มุ่งเน้น 4 เป้าหมายหลัก คือ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2. เพิ่มทักษะในการสร้างผลงานจริง 3. จุดประกายแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตรุ่นใหม่ และ4. ส่งเสริมการใช้เนื้อหาละครแนวตั้งเป็นเครื่องมือสร้าง Soft Power ไทยที่เข้าถึงผู้ชมทั่วโลก โดยภายในงานได้มีการจัดเวิร์กชอปที่น่าสนใจทั้งการบรรยายและกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตัวของนักเล่าเรื่องไทยกับบทละครแนวตั้งเพื่อการผลิตจริง การถ่ายทอดประสบการณ์จากประเทศจีน โดย ผาง เต้าหมิง ผู้อำนวยการผลิตจาก Shanghai Zuji Culture & Entertainment Co., Ltd. กิจกรรมถ่ายทำภาคสนาม และ การสร้าง Micro Drama จริงจากผู้เข้าอบรม เป็นต้น มทร.กรุงเทพ หนุนผลิตละครแนวตั้ง ดัน Soft Power ไทยสู่สากล

"Micro Drama หรือ ละครแนวตั้ง กำลังเป็นหนึ่งในรูปแบบเนื้อหาที่มาแรงที่สุดในอุตสาหกรรมบันเทิงระดับโลก ด้วยความสามารถในการเข้าถึงผู้ชมผ่านมือถืออย่างรวดเร็ว กระชับ และตรงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล ที่สำคัญละครแนวตั้งยังตอบโจทย์ผู้ชมยุคใหม่ และสามารถสร้างรายได้ได้จริง ดังนั้นจึงควรเร่งพัฒนาบุคลากรไทยให้ผลิตงานคุณภาพทัดเทียมระดับสากล ขณะเดียวกันในการเวิร์กชอปครั้งนี้มีเสียงสะท้อนที่ตรงกันว่า ละครแนวตั้ง คือโอกาสใหม่ในการขับเคลื่อน Soft Power ไทยสู่เวทีโลกและมีความมั่นใจว่า ละครแนวตั้งจะกลายเป็นฟันเฟืองใหม่ของอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ที่ไม่เพียงฟื้นฟูจากภายใน แต่ยังผลักดันวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่างสร้างสรรค์ด้วย"ดร.เศรษฐา กล่าว

ขณะที่ "ไก่" วรายุฑ มิลินทจินดา ผู้จัดละครชื่อดัง กล่าวว่า Micro Drama ไม่ใช่เป็นเพียงเทรนด์ แต่คือโอกาสฟื้นฟูวงการละครไทยหลังภาวะซบเซา และทางภาครัฐสนับสนุนอย่างจริงจังเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการผลักดันคอนเทนต์ไทยให้ไปไกลกว่านี้

ด้าน "กระทิง" ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์ นักแสดงและกรรมการ MinChap แอปพลิเคชันซีรีส์แนวตั้ง กล่าวว่า ผู้ชมกำลังเปลี่ยนพฤติกรรม ละครแนวตั้งตอบสนองได้ตรงจุด สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสร้างอารมณ์ร่วมได้ในระยะเวลาอันสั้น อยากให้ลองเปิดใจ สนับสนุนซีรีส์ ละครแนวตั้งมากขึ้น


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล+คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

มทร.กรุงเทพ จับมือ เกียร์เฮด ผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า มทร.กรุงเทพ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิง โดยความร่วมมือกับบริษัท เกียร์เฮด จำกัด เพื่อช่วยให้นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตภาพยนตร์อย่างครบวงจร ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ด้าน ผศ.ดร.ครรชิต กำลังกล้า คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโน

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ เปิด 3,280 ที่นั่งรับนักศึกษาปริญญาตรี ปี 68 — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มทร.ก...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี ลงนามภาคเอกชนพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมดิจิทัล — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ลงน...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มหาวิทยาลั... มทร.ธัญบุรี เร่งเพิ่มจำนวนบัณฑิตมีงานทำหลังเรียนจบ — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า จากการเก็บรวบร...

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดย... มทร.สุวรรณภูมิ เปิดเวทีรวมนักวิจัยระดับชาติ-นานาชาตินับร้อยนำเสนอในงาน NCOST - INCOST 2023 — มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทค...

ครั้งแรกของโลกกับการค้นพบ "จิ้งจกหินวงจัน... อาจารย์ มทร. พร้อมด้วยทีมวิจัย พบจิ้งจกหินชนิดใหม่ของโลก "จิ้งจกหินวงจันทร์" — ครั้งแรกของโลกกับการค้นพบ "จิ้งจกหินวงจันทร์" (Gehyra wongchan Pauwels, Mee...