นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าตั้งแต่ยาเสพติด “สี่คูณร้อย”เริ่มระบาดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน มีผลกระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ“สี่คูณร้อย” เป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำต้มใบกระท่อม และส่วนประกอบอื่นๆ รวม 4 ชนิด เริ่มแรกสูตรสี่คูณร้อยประกอบด้วย น้ำต้มใบกระท่อม เครื่องดื่มโคล่า ยาแก้ไอ และยากันยุง แต่ปัจจุบันสูตรสี่คูณร้อยมีความหลากหลายตามความต้องการของผู้เสพ มีการนำตัวยาแผนปัจจุบันและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทผสมจำนวนมากและหลากหลายชนิด จากข้อมูลการจำแนกองค์ประกอบทางเคมีในสูตรสี่คูณร้อยของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลาและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) พบว่ามีการนำตัวยามาผสมในสูตรสี่คูณร้อย มากกว่า 10 ตัวยา เช่น ไดเฟนไฮดรามีน คลอร์เฟนิรามีน ทรามาดอล อัลปราโซแลม เป็นต้น ซึ่งตัวยาเหล่านี้มักเป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้แก้ไอ แก้ปวด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ดังนั้น
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา จึงเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ของกลางยาเสพติด ด้วยการพัฒนาเทคนิคการตรวจพิสูจน์สูตรสี่คูณร้อย ให้สามารถตรวจพิสูจน์ตัวยาหลายชนิดพร้อมกันในการดำเนินการเพียงครั้งเดียว และสามารถตรวจพิสูจน์ตัวยาในระดับความเข้มข้นต่ำๆ ได้ ทำให้ตรวจพิสูจน์ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าการพัฒนาเทคนิคการพิสูจน์ยาเสพติด “สี่คูณร้อย” ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ทำให้ได้ผลการตรวจพิสูจน์ที่ถูกต้องและรวดเร็ว เป็นประโยชน์โดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ดำเนินคดี สนับสนุนให้กระบวนการพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น
นางสาวธาริยา เสาวรัญ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กล่าวว่าวิธีการตรวจพิสูจน์ที่พัฒนาขึ้น ใช้เทคนิค HPLC ใช้เวลาในการดำเนินการ 23 นาที สามารถตรวจพิสูจน์ตัวยาได้ 10 ชนิดพร้อมกัน คือ มิตราจัยนีน โคเดอีน แคฟเฟอีน ทรามาดอล คลอร์เฟนิรามีน เดกโตรเมทอร์แฟน ไดเฟนไฮดรามีน โปรเมทาซีน อัลปราโซแลม และไดอาซีแพม และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ละเอียดและรวดเร็วกว่าเทคนิค TLC ซึ่งการเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ของกลางสี่คูณร้อยให้สามารถตรวจพิสูจน์ได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ มีส่วนช่วยสนับสนุนกระบวนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศได้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา จึงพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ของกลางยาเสพติดให้เป็นกำลังสำคัญของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจพบยานอนหลับชนิดใหม่อีทิโซแลม (Etizolam) ได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนมากกว่ายานอนหลับไดอาซีแพม(Diazepam) ถึง 10 เท่า อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักยาและวัตถุเสพติด และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้ร่วมกันตรวจวิเคราะห์ของกลางที่ส่งตรวจจากสถานีตำรวจภูธร 7 แห่ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เฝ้าระวังตัวเรือด เชื้อลีจิโอเนลลา และเชื้อไวรัสโนโร ด้วย 3C
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ความเข้าใจ ระบบคุณภาพ OECD GLP สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ
—
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศา...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยโควิด 19 สายพันธุ์ JN.1* ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
—
นายแพทย์ยงย...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาคุณภาพการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพิ่มความแม่นยำในการรักษาเบาหวาน
—
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิท...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...