รัฐบาลเยอรมันสนับสนุนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนามาตรฐานครูฝึกในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาแรงงานฝีมือ
          สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ของ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนา “มาตรฐานครูฝึกในสถานประกอบการในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดยมาตรฐานดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของความร่วมมือจากภาคเอกชนในระบบอาชีวศึกษาในภูมิภาค และเป็นเป้าหมายหลักหนึ่งของโครงการ “การพัฒนาการสอนงานในสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภูมิภาค โดยสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์แรงงานฝีมือของภาคเอกชน และอุปทานแรงงานในไร้ฝีมือในตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวกำหนดจะให้มีขึ้นจำนวน 4 ครั้ง โดยมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐ และเอกชนในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเข้าร่วม คือ กัมพูชา ลาว สหภาพเมียนม่าร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึง ประเทศในอาเซียนอย่างประเทศฟิลิปปินส์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมจะให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนามาตรฐานระดับภูมิภาคอย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ในภูมิภาคอีกด้วย
          โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเยอรมัน โดยกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นผู้สนับสนุนโครงการ โครงการจะมีระยะเวลาดำเนินงานเป็นเวลา 2 ปี และสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2015
          ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานผีมืออย่างมาก และหากเราไม่สามารถผลิตกำลังคนตามความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสม ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแน่นอน ประเทศเวียดนาม และลาวก็กำลังประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เป้าหมายของโครงการที่มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาแรงงานฝีมือจึงเป็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม และเป็นไปในทางเดียวกันกับเป้าหมายของ สอศ. ที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอาชีวศึกษา การเรียนการสอนแบบทวิภาคีที่เกิดจากความร่วมมือของฝ่ายภาครัฐและเอกชน ย่อมตอบสนองและปรับตัวเข้ากับความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการออกแบบและประเมินหลักสูตร จะเป็นการยกระดับคุณภาพของอาชีวศึกษาอีกด้วย”
          มร. คริสเตียน ชเตือร์ ผู้อำนวยการโครงการ GIZ กล่าวว่า “ระบบการศึกษาทวิภาคีเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศเยอรมนีมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โครงการเชื่อว่าการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบการพัฒนาแรงงานไม่เพียงแต่จะสามารถแก้ปัญหาชาดแคลนแรงงานในตลาดแรงงานในปัจจุบันได้ แต่ยังเป็นเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างยั่งยืน”
          “เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแรงงานของภาคเอกชน ทางโครงการจึงมุ่งสร้างมาตรฐานระดับภูมิภาคให้แก่ครูฝึกในสถานประกอบการ เพื่อกำหนดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของครูฝึกและคุณภาพการฝึกอบรมในสถานประกอบการ โดยเป้าหมายสูงสุดของโครงการ คือ การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ ที่ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบตามเกณฑ์ให้แก่ภาคเอกชน โดยจะเริ่มจากประเทศไทยและเวียดนาม จากนั้นจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป” มร. ชเตือร์ กล่าวเสริม
รัฐบาลเยอรมันสนับสนุนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง


ข่าวองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน+การประชุมเชิงปฏิบัติการวันนี้

สทนช. จับมือ GIZ และจุฬาฯ จัดเวทีถก "จัดตั้งกองทุนน้ำ" พร้อมระดมความคิดหาแนวทางจัดเก็บและจัดสรรที่เหมาะสม

วันที่ 19 พ.ค.65 เวลา 09.00 น. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนน้ำ (Water fund) จากการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ (หมวดที่ 4) ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ณ ห้องแมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาต... GIZ ประสานความร่วมมือ มกอช. ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านอารักขาพืช แก้ปัญหาการนำเข้า-ส่งออกพืชในภูมิภาคอาเซียน — สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช....

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หร... GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ "การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ" — บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรค...

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแ... กรมพัฒนาฝีมืองานร่วม giz ติวเข้มครูช่างแอร์ ใช้สารทำความเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม — นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้นางจิรวรรณ ส...

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จ... GGC ผนึก GIZ ประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน — เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (...

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ... N15 Technology ในกลุ่มบริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญร่วมออกบูธในงาน การประชุมวิชาการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ประจำปี พ.ศ.2566 — วันพฤหัสบดี...

สทนช. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเ... สทนช. ผนึก GIZ ชูความสำเร็จโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน — สทนช. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเย...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่ว... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการ Capacity development on Ecolabel establishment ...

องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมั... เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก — องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่า...

กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเท... กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality — กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดิ...