ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารธุรกิจระดับสูง นักวิชาการ และผู้พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยกว่า 170 คนจากนานาประเทศ จะมารวมตัวกันที่กรุงลอนดอน ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เพื่ออภิปรายถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับทั่วโลกในการรับมือกับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากโรคซึมเศร้า
การประชุมในหัวข้อ ‘The Global Crisis of Depression - The Low of the 21st Century’ จะอภิปรายถึงการแบกรับภาระของทั่วโลกต่อโรคซึมเศร้าซึ่งปัจจุบันส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่า 350 ล้านคน และจะหารือถึงความจำเป็นเกี่ยวกับแนวทางระดับโลกในการแก้ปัญหาซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุของการไร้ความสามารถทั่วโลก โดยในยุโรปนั้น พบว่าลูกจ้าง 1 ใน 10 คนไม่สามารถทำงานได้อันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้า
“โรคซึมเศร้าแพร่ระบาดไปทั่ว และไม่ยกเว้นใครทั้งสิ้น เราเองต่างก็รู้จักโรคนี้ หรือรู้จักคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ โรคนี้มีทางช่วย แต่เราจะต้องปูทางให้ดีกว่านี้ โรคนี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตปกติ” ลินดา โรเซนเบิร์ก ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร National Council for Behavioral Health ของสหรัฐกล่าว
นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติจะเป็นผู้เปิดการประชุม ร่วมด้วยผู้อภิปรายหลักซึ่งจะนำเสนอในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ภาระของสังคมอันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้า ความจำเป็นในการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ ความท้าทายของโรคซึมเศร้าในที่ทำงาน และวิธีการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจากทุกชนชั้นของสังคมมารวมตัวกันเพื่อรับมือกับผลกระทบของโรคซึมเศร้า
ผู้อภิปรายหลักประกอบด้วย:
- โคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ, ประธานมูลนิธิโคฟี อันนัน
- ฯพณฯ นอร์แมน แลมบ์ สมาชิกรัฐสภา, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการดูแลและสนับสนุน สหราชอาณาจักร
- นิค แฮคเครัพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเดนมาร์ก
- เบียทริซ โลเรนซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศอิตาลี
- อลาสแตร์ แคมป์เบลล์ โฆษก นักเขียน และนักกลยุทธ์
- เดวิด ฮาสแลม ประธานสถาบัน NICE (National Institute for Health and Care Excellence)
- ฟานเชสกา โคลอมโบ หัวหน้าแผนกสาธารณสุข OECD
- ลอร์ด เดนนิส สตีเวนสัน อดีตประธาน HBOS, ทรัสตี MQ: Transforming Mental Health
การประชุม The Global Crisis of Depression จัดโดย The Economist Events ภายใต้การสนับสนุนของ Lundbeck สำหรับโปรแกรมล่าสุดของงาน สามารถดูได้ที่ http://www.depression.economist.com หรือติดตามเราได้ทางทวิตเตอร์ที่ #depressionsummit และ @EconomistEvents
เกี่ยวกับ The Economist Events
The Economist Events เป็นผู้นำการจัดการประชุมในระดับนานาชาติสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในประเด็นเชิงกลยุทธ์ การประชุมดังกล่าวประกอบไปด้วยการประชุมอุตสาหกรรม งานบริหารจัดการ และการประชุมโต๊ะกลมของรัฐบาลทั่วโลก The Economist Events เป็นส่วนหนึ่งของ The Economist Group และเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับนับถืออย่างสูง ด้วยประวัติศาสตร์ 162 ปีของแบรนด์ และชื่อเสียงที่ไม่มีใครเทียบได้ในเรื่องความเป็นเลิศและความเป็นอิสระ ทุกการประชุมที่จัดโดย The Economist Events จะมอบการวิเคราะห์อย่างรอบรู้ ตามวัตถุประสงค์ และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง การประชุมของเรานำเสนอการอภิปรายในระดับที่สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะได้รับข้อมูลในเชิงลึก สามารถแลกเปลี่ยนมุมมอง และเปรียบเทียบกลยุทธ์ได้ http://www.economistinsights.com/events
เกี่ยวกับ Lundbeck
Lundbeck เป็นบริษัทเภสัชกรรมระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคทางสมอง เป็นเวลากว่า 50 ปีที่เรายืนอยู่แถวหน้าในเรื่องการวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ขอบเขตความสนใจของเราได้แก่ การเลิกแอลกอฮอล์ โรคอัลไซเมอร์ โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า/วิตกจริต โรคลมชัก โรคฮันติงตัน โรคพาร์คินสัน โรคจิตเภท และโรคหลอดเลือดสมอง เรามีพนักงานประมาณ 6,000 คน ใน 57 ประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า ตั้งแต่การวิจัย การพัฒนา การผลิต การตลาด และการขาย เราอยู่ในระหว่างการพัฒนาแผนงานระยะสุดท้ายในหลายโครงการ และผลิตภัณฑ์ของเรามีวางจำหน่ายในกว่า 100 ประเทศ เรามีศูนย์การวิจัยในจีน เดนมาร์ก และสหรัฐ และมีโรงงานผลิตในจีน เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และอิตาลี Lundbeck มีรายได้ 1.53 หมื่นล้านโครนเดนมาร์ก ในปี 2556 (2.1 พันล้านยูโร, 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) http://www.lundbeck.com
แหล่งข่าว: ดิ อีโคโนมิค อีเวนท์ส
ในวันที่คุณต้องตื่นเช้าขึ้นมา ทั้งที่ยังรู้สึกหมดแรง ทั้งที่ใจไม่ไหว แต่ก็ต้องฝืนเดินต่อ คุณไม่ได้เผชิญสิ่งนี้เพียงลำพัง หลายคนอาจคิดว่า...เหนื่อยก็พัก เดี๋ยวก็หาย แต่ในความเป็นจริง เมื่อความเหนื่อยล้าสะสมทั้งกายและใจ จนเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ หรือหน้าที่การงาน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของความเครียดเรื้อรัง หรือแม้แต่โรคซึมเศร้าโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนว่า...ใจคุณอาจไม่ไหวแล้ว รู้สึกหมดแรงแม้ไม่ได้ใช้แรงกาย นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป ไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบ
การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป
—
เมื่อพูดถึง "การฆ่าตัวตาย" หลายคนมักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริง ปัจจัยที่ผลัก...
ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา
—
ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออก...
ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
—
ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...
ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น
—
มาทำความความรู้จักกับ "ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น" หรือ Masked Depression เป็นภาวะที่หลายคน...
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดผลสำรวจเนื่องในวัน "Blue Monday": โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค ครองแชมป์ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
—
ความเครียดและควา...
ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ
—
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แม้ว่...
4 ขั้นตอนการดูแลจิตใจตัวเองของผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยซึมเศร้า
—
"เหนื่อยไหม?" คำถามที่แพทย์มักถามญาติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสมอ เพราะการดูแลคนที่เรารักที่กำลังเผชิญ...
โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
—
"โรคซึมเศร้า" อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าโรคนี้สามารถร...
การพัฒนาแอปพลิเคชัน "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน"
—
สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคม...