ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออกว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิด กำลังเผชิญกับอาการแบบไหนกันแน่ อาการทั้ง 3 แบบนี้ แม้จะมีความคล้ายคลึงในเรื่องความเครียดและภาวะอารมณ์ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และต้องการแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสม

ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา

วันนี้โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการทั้ง 3 ให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

  1. โรคซึมเศร้า (Depression)

สัญญาณสำคัญ:

  • รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง ต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์
  • หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ
  • นอนมากไป หรือนอนไม่หลับ
  • เบื่ออาหาร หรือกินมากผิดปกติ
  • รู้สึกผิด คิดว่าตัวเองไร้ค่า
  • ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
  • บางคนอาจมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากจบชีวิต

แนวทางการรักษา:

  • การพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย
  • รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าตามอาการ
  • จิตบำบัด และการปรับมุมมองความคิด (CBT)
  • การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (dTMS) หรือการรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
  1. โรคแพนิค (Panic Disorder)

สัญญาณสำคัญ:

  • มีอาการ "ตื่นตระหนกเฉียบพลัน" โดยไม่รู้สาเหตุ
  • ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มือเท้าชา หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
  • รู้สึกเหมือนกำลังจะตายหรือกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้
  • อาการมักเกิดขึ้นแบบฉับพลันและหายไปภายใน 10-30 นาที แต่ทิ้งความหวาดกลัวเอาไว้

แนวทางการรักษา:

  • การปรึกษาจิตแพทย์เพื่อยืนยันอาการ
  • การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง
  • การฝึกควบคุมลมหายใจ และเทคนิคผ่อนคลาย
  • การทำจิตบำบัด เพื่อช่วยลดความกลัวและความตื่นตระหนกที่สะสม
  1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder - GAD)

สัญญาณสำคัญ:

  • กังวลมากเกินไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ตลอดเวลา
  • คิดวน คิดซ้ำ กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
  • มีอาการกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ
  • ยิ่งพยายามไม่คิด ยิ่งควบคุมไม่ได้ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

แนวทางการรักษา:

  • ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการ
  • ใช้ยาเพื่อลดอาการวิตกกังวล
  • การทำจิตบำบัดแบบ CBT เพื่อช่วยปรับความคิดและวิธีรับมือกับความกังวล
  • ฝึกสมาธิ การหายใจ และการผ่อนคลาย

อย่าปล่อยให้อาการเล็ก ๆ สะสมจนกลายเป็นเรื่องใหญ่

หลายคนอดทนกับอาการเหล่านี้โดยคิดว่า "เดี๋ยวก็หาย" หรือ "เราแค่คิดมากไปเอง" แต่จริง ๆ แล้ว ทุกความเครียด ความเศร้า ความกังวลที่ไม่ได้รับการดูแล อาจลุกลามและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้

โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH เราพร้อมดูแลคุณด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาที่เข้าใจ และบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัย


ข่าวโรคซึมเศร้า+สุขภาพจิตวันนี้

ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยความรวดเร็วและความไม่แน่นอน การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เริ่มประสบปัญหาความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หรือหดหู่จนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น โรค Bipolar หรือ "โรคอารมณ์สองขั้ว" เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมักแสดงอาการที่คล้ายกับโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน เช่น

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจแล... ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ — โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แม้ว่...

สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำน... การพัฒนาแอปพลิเคชัน "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน" — สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคม...

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตป... จิตใจที่ดีกว่าเริ่มต้นที่ศิลปะและเสียงเพลง วิธีบำบัดซึมเศร้าที่คุณอาจไม่รู้! — โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและความสุขของผู้คนในทุกช่วง...

สถิติสุขภาพจิตในประเทศไทยประจำปี 2567 จาก... สุขภาพจิตในที่ทำงาน สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า — สถิติสุขภาพจิตในประเทศไทยประจำปี 2567 จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประช...

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Ban... BMHH พร้อมเปิดนวัตกรรมทางเลือกใหม่ dTMS รักษาโรคซึมเศร้า — โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึม...

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ... โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม — วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันสุขภาพจิตโลก" (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้...

คนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 1 ล้านคน ... ร้านยาท็อปส์แคร์ เปิดบริการใหม่ "Mind Care Service" รับปรึกษาปัญหาสุขภาพใจ - รับยา - ครบจบที่เดียว — คนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 1 ล้านคน ร้านยาท็อปส์...