สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้โครงการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าว ลุยพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ทดลองภาคสนามประเมินความถูกต้องเนื้อที่เพาะปลูกข้าวที่ได้จากโปรแกรม INAHOR ในกรณีที่พื้นที่นามีพื้นที่อื่นปะปน
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้โครงการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าว ซึ่ง สศก. ได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asia Development Bank : ADB) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการสำรวจเนื้อที่เพาะปลูกและพยากรณ์ผลผลิตข้าว โดยนำเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) มาประยุกต์ใช้สนับสนุนการวางแผนด้านการเกษตรของประเทศ ตลอดจนเพื่อสนับสนุนงานด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในการนำเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) มาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพระบบการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและพยากรณ์ผลผลิตข้าวใน 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย ภายใต้กรอบการช่วยเหลือตามโครงการ R-CDTA 8369 Innovative Data Collection Methods for Agricultural and Rural Statistics โดยโครงการฯ มีระยะดำเนินงานพฤษภาคม 2557 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2559
สำหรับประเทศไทย สศก. และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้นำเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) มาประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวของประเทศ นำร่องพื้นที่จังหวัดอ่างทอง โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม ALOS-2 ซึ่งเป็นข้อมูลดาวเทียมในระบบ SAR ที่มีคุณสมบัติสามารถถ่ายภาพทะลุเมฆได้ ทำให้ได้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับวิเคราะห์แม้กระทั่งฤดูฝน ทั้งนี้ การดำเนินงานตามโครงการฯ ประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ คือการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และวิธีการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและข้อมูลอื่นๆ ร่วมกับวิธีการ Crop Cutting ในระดับจังหวัด และการฝึกอบรมคณะทำงานให้กับประเทศนำร่อง ทั้ง 4 ประเทศ และการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมออนไลน์ (Online) ในการใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับงานด้านสถิติการเกษตรและชนบท ภายหลังจากที่มีการพัฒนาโปรแกรมแล้วเสร็จ
ในการนี้ เมื่อวันที่ 19 – 20 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ สศก. และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก RESTEC ประเทศญี่ปุ่น ได้ลงพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เพื่อสำรวจและจัดเก็บข้อมูลภาคสนามภายใต้โครงการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวที่ได้รับความร่วมมือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ทดลองการปฏิบัติงานภาคสนามในการตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินเนื้อที่เพาะปลูกข้าวที่ได้จากโปรแกรม INAHOR ในกรณีที่พื้นที่นามีพื้นที่อื่นปะปน หรือที่เรียกว่า MIXCEL เพื่อประเมินสัดส่วนของพื้นที่อื่นที่ปะปนกับพื้นที่ปลูกข้าว เนื่องจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ALOS2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้แปลและวิเคราะห์ภายใต้โครงการฯ มีขนาดจุดภาพ 100 x 100 เมตร ซึ่งคิดเป็น 6.25 ไร่ต่อจุดภาพ โดยทำการสุ่มตัวอย่างในลักษณะสุ่มแบบอิสระ (Random Sampling) จำนวน 13 จุด ขนาด 200 x 200 เมตร
ผลการสำรวจภาคสนาม พบว่า พื้นที่นาข้าวส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีการปลูกข้าว เนื่องมาจากการนโยบายของภาครัฐในการไม่สนับสนุนให้เกษตรกรทำนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่คาดว่ารอบการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2558/59 เกษตรกรในพื้นที่จะมีการทำนา นอกจากนี้ จากการสำรวจภาคสนาม พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปะปน ได้แก่ อ้อยโรงงาน พืชผัก ไม้ผล บึง คลอง และถนน เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 - 25 มีนาคมที่ผ่านมา สศก. ยังได้จัดให้มีการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม INAHOR ครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทั้งส่วนกลาง นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายที่อยู่ในภูมิภาค และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...
พร้อมให้บริการ Big Data สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิเกเตอร์ภาคเกษตร เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 909 ชุดข้อมูล จาก 91 หน่วยงาน ให้บริการผ่านเว็บไซต์
—
นายฉันทานนท...
ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ
—
หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...
TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา"
—
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...
สศก. เร่งเครื่อง ลุยแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ ระยะ 5 ปี ให้สมบูรณ์ ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2570
—
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิ...