ฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ประกาศว่าองค์กรด้านเทคโนโลยีข้อมูลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra Information Technology Corporation: MITC) ได้เลือกฟอร์ติเน็ตให้ช่วยสร้างเครือข่ายไร้สายให้มุมไบในประเทศอินเดีย
มร. วีเจย์ กุมาร์ กุตาม ประธานสายงานเทคโนโลยีข้อมูล แห่งรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดียได้กล่าวว่า "โครงการไวไฟในนครมุมไบนี้มีความสำคัญในการสร้างนครดิจิตอล ซึ่งเราต้องการเชื่อมโยงบริเวณสำคัญๆ ในเมืองด้วยเครือข่ายไร้สายและจะสามารถให้บริการออนไลน์จากรัฐแก่ประชาชนได้อย่างราบรื่น เราต้องการเทคโนโลยีที่สามารถจัดสเกลได้เพื่อรองรับการเชื่อมโยงขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน อุปกรณ์และแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา"
ซึ่งฟอร์ติเน็ตจะรับผิดชอบติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟในสถานที่ 500 แห่งทั่วมุมไบในโครงการดิจิตอลทรานสฟอร์เมชั่นที่รัฐบาลกำลังเร่งยกระดับอินเดียให้มีความทันสมัยมากขึ้น และยังจะเป็นเครือข่ายส่วนหนึ่งในโครงการสมาร์ททรานสปอร์เทชั่นของอินเดียในอนาคตอันใกล้นี้
ในเฟสแรกนั้น รัฐมหาราษฏระ ได้เลือกใช้อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์ประเภทในอาคารและนอกอาคารพร้อมกับเทคโนโลยีเสารับสัญญาณแบบรอบตัว (Omnidirectional antennas) อุปกรณ์ควบคุมไร้สาย (Wireless controllers) และอุปกรณ์จัดการไร้สาย (Wireless manager) เพื่อให้การเชื่อมต่อมีความยืดหยุ่นสามารถปรับขนาดได้อย่างคล่องตัว รองรับการใช้งานเสียงขณะผู้พูดเคลื่อนที่ และการใช้งานระดับสูงอื่นๆ
ช่วยสร้างนครดิจิตอลในมุมไบ
รัฐมหาราษฏระ เป็นหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก เป็นรัฐที่ได้ชื่อว่าเจริญเติบโตเร็วที่สุดรัฐหนึงในอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ
นครมุมไบมีประชากรอาศัยอยู่ถึง 20.5 ล้านคนและเป็นเมืองหลวงที่มีการค้าขายและใหญ่ที่สุดในอินเดีย รัฐมหาราษฏระได้เริ่มโครงการมุมไบไวไฟเพื่อสร้างจุดฮอทสปอทให้ครอบคลุมทั้งเมือง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถให้บริการออนไลน์ของรัฐแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งต่อมาในปีนี้ ได้นำเครือข่ายไวไฟนี้มาใช้ประโยชน์ในด้านสมาร์ทพาร์คกิ้งและสมาร์ททรานสปอร์เทชั่น ซึ่งสามารถให้ข้อมูลของเส้นการเดินทางต่างๆ และจำนวนที่สามารถโดยสารได้ของยานพาหนะสาธารณะในประเภทต่างๆ ได้อย่างเรียลไทม์ ซึ่งโครงการมุมไบไวไฟนี้ได้สร้างวิสัยทัศน์แก่ผู้ว่าการรัฐมหาราษฏระว่าจะมุ่งเป็นรัฐแห่งดิจิตอลรัฐแรกในอินเดีย
โซลูชั่นประเภทซีเคียวแอคเซสจากฟอร์ติเน็ต
ในการปกป้องการสื่อสารสาธารณะบนเครือข่ายไวไฟที่มีการรับส่งข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลด้านการเงิน การแชร์ข้อมูลบนมือถือนั้นมีองค์ประกอบที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย มากกว่าการจัดการเครือข่ายส่วนที่ลูกค้าเข้าใช้งาน (ที่เรียกว่าแอคเซส) เนื่องจากองค์กรทุกแห่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเครือข่ายส่วนแอคเซสนี้อยู่ตลอดเวลา รวมถึงเปลี่ยนวิธีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง และรองรับแอปพลิเคชั่นบนโมบายที่มีการใช้งานสูงขึ้นตลอดเวลา ส่งผลให้ฝ่ายไอทีพบประเด็นท้าทายที่ต้องหาจุดสมดุลย์ระหว่างความปลอดภัยของเครือข่ายและความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นและความหลากหลายของผู้ใช้งาน
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานต้องการใช้ไวไฟที่เร็วและใช้ได้ต่อเนื่องอย่างราบรื่นไม่ว่าจะเป็นบนเครือข่ายมีสายหรือไร้สายก็ตาม ในขณะที่ผู้รับผิดชอบด้านไอทีต้องคำนึงถึงการลดความซับซ้อนของการบริหารเครือข่าย การบริหารแอปพลิเคชั่น และการบริหารอุปกรณ์ปลายทางที่เชือมต่อเข้ามาใช้งาน ซึ่งโซลูชั่นทั่วๆ ไปจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดนี้ได้ แต่โซลูชั่นประเภทซีเคียวแอคเซสจากฟอร์ติเน็ตสามารถจัดการเชื่อมต่อแวนไร้สาย (WLAN) ได้ถึง 3 ประเภท จึงสามารถรองรับความต้องการใช้งาน WLAN ขององค์กรที่หลากหลายได้มากกว่า นอกจาก ความเหนือกว่าในเทคโนโลยี WLAN แล้ว กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานซีเคียวแอคเซสยังสามารถสร้างความปลอดภัยแก่เครือข่ายได้ตั้งแต่ต้นทางจนปลายทางและให้ความยืดหยุ่นในการจัดการสูง ทั้งนี้เป็นโซลูชั่นส่วนหนึ่งจากผืนผ้าซีเคียวริตี้แฟบลิคใหม่ของฟอร์ติเน็ต
มร. จอห์น แมดดิสัน รองประธานอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นจากฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า "ความนิยมในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในงานและไอโอที ได้เปิดโอกาสให้ภัยเขามาคุกคามมากขึ้น และทำให้อุปกรณ์ที่ใช้งานในเครือข่ายส่วนตัวและสาธารณะมีความเสี่ยงสูงขึ้น องค์กรจึงต้องการเครือข่ายส่วนแอคเซสที่มีความปลอดภัยสูง และยังต้องมีศักยภาพสูงสามารถส่งนโยบายด้านความปลอดภัยที่เหมือนกันไปทั่วเครือข่ายได้ ไปจนถึงขอบเครือข่ายที่มักเป็นจุดเป้าหมายแรกๆ ของภัยคุกคามได้เช่นกัน"
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) ในการผลิตบัณฑิตที่สอดรับกับความต้องการของตลาดงานด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้และคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์กกิ้ง ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า ความร่วมมือกับ ฟอร์ติเน็ต เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ในการ
แคสเปอร์สกี้รายงานภัยคุกคามไซเบอร์บนอุปกรณ์โจมตีธุรกิจอาเซียนเพิ่มขึ้น 15%
—
แคสเปอร์สกี้ชี้ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยเครือข่า...
ฟอร์ติเน็ต เผยรายงานภัยคุกคาม ชี้ การโจมตีทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติ ทะลุสถิติ ทะยานสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้โจมตีใช้ AI และเทคนิคใหม่ล่าสุดเป็นเครื่องมือ
—
รายงานภัยคุ...
รายงานแคสเปอร์สกี้ระบุองค์กรอุตฯ เกือบ 40% กังวลความปลอดภัยไซเบอร์ขวางแผนดิจิทัล
—
ผลการวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ความกังวลด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็...
Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 5-7 พฤศจิกายน 2568
—
Secutech Thailand 2025 ปักหมุดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จั...
รายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ปี 2568 เผยว่าเหตุการณ์ภัยไซเบอร์เกือบ 44% เกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์
—
พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ก...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
มั่นใจทุกมิติ! ไอคอนสยามผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ เตรียมพร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มข้นรับสงกรานต์ 2025 สร้างความเชื่อมั่นสูงสุดแก่ผู้มาร่วมงาน
—
ไอคอนสยาม ร...
สายสีแดง เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
—
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มมาตรการในด้านการรักษาความปลอดภัยอย...
เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) คว้ารางวัล National Distributor Award จาก Hikvision
—
บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติรับรางวัล Na...