ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหลักสูตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตร "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ หน่วยวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์ AIoT พร้อมเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมฟรี
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ให้การสนับสนุนหลักสูตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ร่วมกับหน่วยวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์ AIoT เพื่อใช้ในการฝึกอบรม โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตร "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการป้องกันภัยไซเบอร์ที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และใบรับรองจากฟอร์ติเน็ต (Fortinet Certificate)
ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ผ่านหลักสูตรการอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (AI + NLP) ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตามมาตรฐาน CompTIA Security แนวคิดและทักษะการวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามหัวข้อหลักสูตร Certified Ethical Hacker (CEH) รวมถึงการเรียนผ่านระบบ e-Learning ของฟอร์ติเน็ต สำหรับ Fortinet Certified Fundamentals (FCF) และ Fortinet Certified Associate (FCA) ตลอดจนกิจกรรมแฮกกาธอน และแล็บฝึกปฏิบัติ
หลักสูตรนี้เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษา หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้ทำงานและต้องการพัฒนาทักษะเพื่อประกอบอาชีพ หรือผู้ที่ทำงานแล้ว และต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยการอบรมจัดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ รวมถึงการเรียนผ่านระบบ e-Learning ของฟอร์ติเน็ต เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครบถ้วนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตร "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2568 และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 40 คน ในวันที่ 30 เมษายน 2568 และเริ่มการอบรมระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2568 โดยจัดการเรียนการสอนทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์
รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) กล่าวว่ามทร.ล้านนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมี 6 วิทยาเขต 1 สถาบัน คือ เขตพื้นที่ภาคพายัพ เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่ตาก เขตพื้นที่น่าน เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่พิษณุโลก และสถาบันวิจัยลำปาง ซึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในพื้นที่เชียงรายเคยเกิดกรณีแผ่นดินไหวขึ้น ขณะนั้นทางมหาวิทยาลัยไม่ได้รับความเสียหายในเรื่องของโครงสร้างอาคาร มีเพียงความเสียหายภายนอกเล็กน้อยเท่านั้น และทางมหาวิทยาลัย
มทร.ล้านนา ปรับ 8 หลักสูตร รองรับนักศึกษาต่างชาติ รับมือเด็กเกิดน้อย
—
รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (...
วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาส...
"มทร.ล้านนา" เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล...
ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร
—
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...
คนไทยไม่ทิ้งกัน มทร.ล้านนามอบถุงยังชีพ
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำทีมผู้บริหาร มอบถุงยังชีพให้...
"เบทาโกร" จับมือ "มทร.ล้านนา" และ "มจธ." ยกระดับทักษะพนักงานระดับ ปวส. ศึกษาต่อปริญญาตรี ด้วยรูปแบบ "โรงเรียนในโรงงาน"
—
"บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)" โด...
เอไอเอส จับมือ มทร. ล้านนา มุ่งนำศักยภาพโครงข่ายดิจิทัล สร้างการเติบโตร่วมกันของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
—
เอไอเอส เดิ...
ม.ราชมงคลล้านนา รับรางวัล "ASIC Premier Institution" จากประเทศอังกฤษ การันตีสถาบันการศึกษาคุณภาพมาตรฐานระดับสากล
—
ม.ราชมงคลล้านนา รับรางวัล ASIC ระดับ Pr...