พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยรายงานการสนองตอบต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ประจำปี 2568 ที่พบว่าปัจจุบันคนร้ายได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนจากการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขโมยข้อมูลแบบเดิม ไปสู่การมุ่งขัดขวางการดำเนินธุรกิจ มีการใช้ AI ช่วยในการโจมตี และอาศัยบุคคลภายในสร้างภัยคุกคาม รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า เกือบครึ่งหนึ่งของเหตุการณ์ความปลอดภัย (44%) มีความเกี่ยวข้องกับเว็บเบราว์เซอร์
เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) รายงานว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ภัยไซเบอร์เกิดขึ้น 392 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2568โดยภาคการศึกษาได้รับผลกระทบจากการโจมตีสูงสุด (27%) ตามมาด้วยหน่วยงานราชการ (17%) ภาคการเงินและธนาคาร (17%) และภาคเอกชนไทย (12%) ที่น่าสังเกตคือ ภัยคุกคามที่มุ่งโจมตีสถาบันการเงินและธนาคารมักเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ปลอมที่ออกแบบมาเพื่อหลอกลวงประชาชน ซึ่งสอดคล้องตามรายงานการรับมือเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ที่เน้นย้ำถึงการแพร่ระบาดของเว็บไซต์หลอกลวง
ขณะที่สถาบันการเงิน สถานดูแลสุขภาพ และหน่วยงานราชการทั่วโลกต่างเผชิญกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลระดับภูมิภาคจึงเร่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเฟรมเวิร์กซีโรทรัสต์ (Zero Trust) และนำโซลูชันระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ขุมพลังแห่ง AI เข้ามาช่วยจัดการ รวมถึงการบังคับใช้มาตรการและกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนเป้าหมายจากการกรรโชกทรัพย์ทั่วไปมาเป็นการขัดขวางการดำเนินธุรกิจทุกส่วน ทำให้องค์กรจำเป็นต้องทบทวนมาตรการป้องกันภัยทางไซเบอร์ก่อนที่จะถูกโจมตี โดยเฉพาะในภาคส่วนต่างๆ ที่พึ่งพาระบบคลาวด์และผู้ให้บริการภายนอก
รายงานการตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ประจำปี 2568 จัดทำขึ้นเพื่อเน้นย้ำถึงความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการที่คนร้ายดำเนินการ โดยการวิเคราะห์เหตุการณ์ภัยไซเบอร์ครั้งใหญ่นับร้อยเหตุการณ์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาท้าทายที่ธุรกิจทั่วโลกต้องเผชิญ
ประเด็นสำคัญในรายงานการรับมือเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ประจำปี 2568 มีดังนี้
"อาชญากรไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ไม่ได้เพียงแค่ต้องการขโมยข้อมูลอีกต่อไป แต่ประสงค์ที่จะยับยั้งการดำเนินกิจการทั้งหมด" ฟิลิปปา ค็อกส์เวลล์ รองประธานและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Unit 42 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น จากพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าว "แนวทางความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปที่จะรับมือกับจุดบอดที่มองไม่เห็นและปัญหาที่ทวีคูณความท้าทายที่องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญในวันนี้ ดังนั้นธุรกิจจึงควรเริ่มติดตั้งโซลูชั่นระบบรักษาความปลอดภัยแบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้ก้าวนำภัยคุกคามที่นับวันยิ่งอันตรายขึ้น พร้อมรับมือกับอันตราย และให้การปกป้องระบบแบบเรียลไทม์โดยสมบูรณ์"
นายปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทยของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ของอาชญากรไซเบอร์อย่างรวดเร็วสะท้อนถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนที่องค์กรต่างๆ ในไทยจะต้องยกระดับความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คนร้ายยุคปัจจุบันยกระดับจากการเรียกค่าไถ่และกรรโชกทรัพย์ปกติมาเป็นการโจมตีที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อขัดขวางการดำเนินกิจการ องค์กรจึงควรนำหลักการซีโรทรัสต์มาใช้ และผนวกความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยรับมือกับภัยคุกคามที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานการรับมือเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกจาก Unit 42 ประจำปี 2568 ฉบับนี้ เน้นย้ำถึงความสำคัญของกลยุทธ์การป้องกันเชิงรุกเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยให้ปลอดภัย"
รายงานฉบับนี้รวบรวมข้อมูลจากกรณีปัญหากว่า 500 รายการที่ Unit 42 ช่วยรับมือระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงธันวาคม 2567 รวมถึงข้อมูลจากกรณีปัญหาอื่นๆ ก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา โดยองค์กรที่ได้รับผลกระทบตั้งอยู่ใน 38 ประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิก
รายงานเปิดเผยรายละเอียดยุทธวิธีล่าสุดของแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ตลอดจนข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ตามข้อมูลที่ได้จากการสืบสวนของ Unit 42 ประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ในแถบญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก เมื่อคิดตามจำนวนการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ บริการเฉพาะด้านและบริการทางกฎหมาย รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ตกเป็นเป้าหมายหลักในไทย รายงานฉบับใหม่จากพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์พบว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่
Synology เผยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ พุ่ง 22% ต่อสัปดาห์ - ข้อมูลรั่วไหล 81% แนะองค์กรปรับเกม เปิด 4 โซลูชัน ใหม่ เพิ่มความปลอดภัยในยุคดิจิทัล
—
Synology ผู้นำร...
วันรหัสผ่านโลก: ขอพลังไซเบอร์จงสถิตอยู่กับท่าน
—
รหัสผ่านที่หละหลวมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามอันใหญ่หลวง และเป็นหนึ่งในจุดเปราะบางสำคัญที่นำไป...
Zoom เผยเทรนด์ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ปี 66
—
เมื่อเทรนด์การทำงานในองค์กรต่างๆทั่วโลกเปลี่ยนเป็นแบบไฮบริด เกิดการเพิ่มขึ้นของดิจิทัลฟุตพริ้นมากมาย นำ...
พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับเอเชียแปซิฟิก ในปี 2566:
—
การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบในอุตสาหกรรมต่างๆในปีที่ผ่านมามีสถานก...
หนึ่งในสี่ของบริษัททั่วโลกถูกละเมิดข้อมูลเสียหายมูลค่ากว่า 1 ถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสามปีที่ผ่านมา
—
สี่ในห้าขององค์กรทั่วโลกระบุว่า การเปิดเผยข้อมู...
รายงานฉบับใหม่จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผย ทั่วโลกทุบสถิติการจ่ายค่าไถ่ให้มัลแวร์ในปี 2564 เพราะข้อมูลรั่วเข้าตลาดมืดเพิ่มขึ้น
—
การเรียกค่า...
"ยิบอินซอย" เติมมิติใหม่จัดการข้อมูลให้พ้นภัยแรนซัมแวร์
—
ปัจจุบัน พฤติกรรมผู้ใช้งานและองค์กรธุรกิจต่างเปลี่ยนผ่านตัวเองสู่โลกออนไลน์ ได้เพิ่มปริมาณของข้อ...
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจปรับกลยุทธ์รับมือภัยไซเบอร์ปี 64
—
หลังแฮกเกอร์ฉวยโอกาสช่วงวิกฤตโควิด-19 จู่โจมระบบความปลอดภัยขององค์กรเพิ่มขึ้น PwC ประเทศไทย แนะธ...