จีดีพีเกษตรไทย ยังไปต่อ Q3 โต 4.5% คาดทั้งปี ปรับเป้าขยายเพิ่ม โตอยู่ในช่วง 3.0-4.0

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สศก. เผย จีดีพีเกษตร ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 59 แจง สาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และป่าไม้ ขยายตัว ในขณะที่สาขาประมงหดตัวลง ด้านเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ดันส่งออกมีทิศทางเพิ่ม คาด ทั้งปีขยายตัว 3.0 – 4.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้ เนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี 60 ขยายตัวได้ในระดับสูงถึงร้อยละ 10.25
          นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2560 (กรกฎาคม – กันยายน 2560) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ซึ่งแม้ว่าในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม 2560 หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลจากพายุ "เซินกา" ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนได้รับความเสียหาย อาทิ ข้าวนาปี และมันสำปะหลัง แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าพืชอื่น ๆ ที่มีความสำคัญในไตรมาส 3 เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และลำไย มีทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นกัน
          สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ประกอบกับระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน ในส่วนของสาขาประมง ผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงและสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือภาคใต้ลดลง ขณะที่การผลิตสัตว์น้ำจืดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ปรับตัวดีขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีทิศทางเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อหากพิจารณาเป็นรายสาขา พบว่าสาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย มังคุด และเงาะ โดย ข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากในช่วงฤดูเพาะปลูก มีฝนตกตามปกติ และปริมาณน้ำฝนสูงค่ากว่าเฉลี่ยในทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้ตามฤดูกาลทั้งในพื้นที่นาลุ่มและนาดอน รวมถึงพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่างในปีที่ผ่านมา ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก มันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณน้ำเพียงพอ ประกอบกับเกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งผลให้มันมีขนาดหัวใหญ่และมีน้ำหนักดี
          ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยางพาราที่ปลูกในปี 2554 ทดแทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และปลูกทดแทนในสวนยางพาราเก่า เริ่มให้ผลผลิต ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ในปี 2557 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอ ทำให้ทะลายปาล์มมีน้ำหนักดี
          สินค้าที่ราคาเฉลี่ยในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางแผ่นดิบ และทุเรียน โดยมันสำปะหลัง แม้มีราคาเพิ่มขึ้น แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเปอร์เซ็นต์แป้งลดลง ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2560 สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวรวม มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ยางพารา น้ำมันปาล์ม สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ลำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มังคุด และเงาะและผลิตภัณฑ์ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกในช่วงดังกล่าวลดลง
สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยสินค้าปศุสัตว์ทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการผลิตในช่วงที่ผ่านมาเพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลการเฝ้าระวังโรคระบาดได้ดี และสภาพอากาศที่เย็นขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2559 ทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดีราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2560 ไก่เนื้อ และน้ำนมดิบ มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่สุกร และไข่ไก่ มีราคาเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
          การส่งออก ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2560 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่ปรุงแต่ง การส่งออกไปยังตลาดหลักทั้งญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ขยายตัวได้ดี และการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากภายหลังการอนุญาตให้นำเข้าเนื้อไก่จากไทยได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559
          สาขาประมง หดตัวร้อยละ 3.2 เป็นผลมาจากกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงผลผลิตมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในแหล่งผลิตสำคัญภาคใต้ เกษตรกรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ชะลอการเลี้ยงในช่วงก่อนหน้าเนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกค่อนข้างมาก ราคา ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2560 ราคากุ้งขาวแวนนาไม และราคาปลานิลที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง
          เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ในขณะที่ราคาปลาดุกบิ๊กอุยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การส่งออก ช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2560 ปลาและผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าประมงที่ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง สำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าประมงที่ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
          สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากสถานการณ์การผลิตทางการเกษตรเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ มีฝนตกตามฤดูกาลเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น ทำให้มีการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และเกี่ยวนวดข้าว เพิ่มขึ้น อีกทั้งเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัดต้องปลูกข้าวซ่อมในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จึงทำให้มีการจ้างบริการเพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้น
          สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 2.2 เนื่องจากผลผลิตไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส และครั่ง ที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก สำหรับไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามการตัดโค่นต้นยางพาราเก่าที่หมดอายุ ซึ่งส่วนใหญ่นำไปทำไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ขณะที่ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ภายในประเทศ ส่วนครั่งมีการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดี เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยมากขึ้น
          ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2560 จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 – 4.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนมิถุนายน 2560 ว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 – 3.5 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ขยายตัวได้ในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 10.3 โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งแรกของปี ทั้งนี้ คาดว่าทุกสาขาการผลิต ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ประกอบกับมีแรงขับเคลื่อนจากการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกในปี 2560 ที่มีทิศทางดีขึ้น เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้ภาคเกษตรในปีนี้เติบโตได้ดี
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...