ออมสิน จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลักดันโครงการ “มหาวิทยาลัยประชาชน” และ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พร้อมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ช่วยผู้มีรายได้น้อยหลุดพ้นความยากจน

14 May 2018
วันนี้ (11 พฤษภาคม 2561) ณ หอประชุมบุรฉัตร ธนาคารออมสิน ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการมหาวิทยาลัยประชาชน ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น และการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โดยมี นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศจำนวน 38 แห่ง เข้าร่วมในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
ออมสิน จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลักดันโครงการ “มหาวิทยาลัยประชาชน” และ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พร้อมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ช่วยผู้มีรายได้น้อยหลุดพ้นความยากจน

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาและมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP องค์กรชุมชน / กลุ่มอาชีพในชุมชน ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการ SMEs Startup รวมถึงการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ได้รับการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ มีความรู้ความสามารถและมีระดับทักษะที่สูงขึ้น จนสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต โดยการลงนามในครั้งนี้จะร่วมมือกันดำเนินการใน 3 กิจกรรม

กิจกรรมแรก โครงการมหาวิทยาลัยประชาชน โดยธนาคารออมสินร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาตามภูมิภาคทั่วประเทศในการเป็นเครือข่ายจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้แนวคิด "ความรู้สู่อาชีพ พร้อมเงินทุน" เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ นำทักษะไปประกอบอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน เลิกพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ร่วมกันผลักดันการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ยกระดับรายได้ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ซึ่งรองรับมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ ตามพื้นที่ของที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 18,000 คน

สำหรับกิจกรรมที่ 2 คือ การเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วย โครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ซึ่งธนาคารฯ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนที่กระจายอยู่ในทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ของนักศึกษามาพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการในท้องถิ่น ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ อย่างยั่งยืน ด้วยการร่วมเรียน ร่วมรู้ และร่วมทำ เพื่อช่วยกันจรรโลงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่สังคมไทย สมดังคำกล่าวที่ว่า "พัฒนาความรู้ เสริมภูมิปัญญา สร้างคุณค่าเศรษฐกิจชุมชน"

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า กิจกรรมที่ 3 คือ การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs ให้ก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจที่เข้มแข็ง เติบโตและยั่งยืนนั้น ธนาคารได้จัดทำโครงการ GSB Startup Academy ซึ่งมีโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ GSB Innovation Club และ Startup University Model สำหรับกิจกรรมภายใต้โครงการ GSB Innovation Club จะสนับสนุนการสร้าง CO-Working Space และจัดกิจกรรม Smart Start Idea และ Smart Start Company สำหรับเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่วนโครงการ Startup University Model เป็นโครงการที่ธนาคารฯ จะให้เงินสนับสนุนในการสร้าง/พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Proto type) หรือผลิตสินค้าจริง (Product) ให้แก่ทีมนักศึกษาที่มีไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ในการนำเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่มีนวัตกรรม ขณะที่โครงการ GSB Startup Academy นี้ ธนาคารฯ มุ่งหวังว่าจะเป็นโครงการที่ช่วยสร้างผู้ประกอบการ SMEs Startup ตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัย เมื่อน้องๆ ได้ทดลองคิดไอเดียสร้างสินค้าต้นแบบ ได้ทดลองทำธุรกิจจริงจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการออกมาสู่สนามการดำเนินธุรกิจจริง และเป็นจะเป็น Key Driver ใหม่ที่จะนำพาเศรษฐกิจของชาติให้เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป

"ธนาคารออมสินได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาล ในการเสริมสร้างโอกาสทางการเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาความยากจน โดยธนาคารฯ ตั้งเป้าหมายว่า ผู้ได้รับสิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐที่ลงทะเบียนกับธนาคารออมสิน 1 ล้านคน จะต้องหลุดพ้นจากความยากจนภายในปี 2563 ภายใต้กรอบแนวทางการทำงานด้วยยุทธศาสตร์ 3 สร้าง คือ 1.สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนไทย ผ่านโครงการมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อฝึกอบรมเสริมศักยภาพทางอาชีพ โดยใช้เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่ในทุกภูมิภาค และโครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" เข้ามาช่วย รวมทั้งเร่งอบรมยกระดับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ให้เข้มแข็ง 2.สร้างตลาด ด้วยการเปิดช่องทางการตลาดเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสขายสินค้าและบริการ เช่น ตลาดประชารัฐสีชมพู ร้านค้าประชารัฐ และออมสิน e-Market Place ซึ่งครอบคลุมช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้ง Online และ Offline เป็นการช่วยสนับสนุนสินค้าและบริการของผู้มีรายได้น้อยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น และ 3.สร้างประวัติทางการเงินให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ โดยส่งเสริมการชำระเงินผ่าน QR Code เพื่อนำไปสู่การออมโดยอัตโนมัติ เป็นการสร้างประวัติทางการเงิน นำไปสู่การขอสินเชื่อหรือการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้ต่อไป" ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวในที่สุด.

ออมสิน จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลักดันโครงการ “มหาวิทยาลัยประชาชน” และ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พร้อมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ช่วยผู้มีรายได้น้อยหลุดพ้นความยากจน ออมสิน จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลักดันโครงการ “มหาวิทยาลัยประชาชน” และ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พร้อมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ช่วยผู้มีรายได้น้อยหลุดพ้นความยากจน ออมสิน จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ผลักดันโครงการ “มหาวิทยาลัยประชาชน” และ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พร้อมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup และ SMEs มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ช่วยผู้มีรายได้น้อยหลุดพ้นความยากจน