กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลกำหนดนโยบายปกป้องเกษตรกรจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู และผลกระทบอื่นจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กรีนพีซชี้รัฐบาลไทยต้องยกระดับมาตรการป้องกันอุตสาหกรรมหมูจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูที่กำลังคุกคามอุตสาหกรรมหมูของเอเชีย เพื่อไม่ให้ไทยกลายเป็นประเทศต่อไปที่เผชิญกับหมูติดเชื้อจากภัยระบาด
          โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วเอเชีย กระทรวงเกษตรของเวียดนามระบุในรายงานว่า เวียดนามกำจัดหมูไปแล้วกว่า 2.8 ล้านตัว คิดเป็นเกือบร้อยละ10 ของหมูในประเทศทั้งหมดจำนวน 30 ล้านตัว [1] โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตหมู แต่ไม่ส่งผลอย่างไรต่อมนุษย์ ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีการตรวจพบการแพร่ระบาดของโรคนี้ในเอเชีย เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้จีนจำเป็นต้องกำจัดหมูจำนวนราว 200 ล้านตัว [2]
          สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศสั่งชะลอการนำเข้าหมูจากลาวเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน [3] เพื่อป้องกันการระบาดในไทย อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยจำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์มองไกลไปกว่าการชะลอการนำเข้าหมูจากลาวหรือประเทศอื่น และเร่งดำเนินการเชิงนโยบายและสร้างนโยบายที่ปกป้องเกษตรกรจากการคุกคามของโรคระบาด รวมถึงออกกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
          "รัฐบาลไทยต้องสนับสนุนนโยบายเกษตรกรรมเชิงนิเวศอย่างจริงจัง รวมถึงนำมาพัฒนาปฏิบัติใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารในปัจจุบัน เนื่องจากระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเชิงปริมาณเพื่อต้นทุนอาหารที่ถูกที่สุดนั้นต้องแลกมาด้วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม" รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว "เกษตรกรไทยและผู้บริโภคไม่ควรจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในวิกฤตจากระบบอาหารเชิงอุตหกรรม สิ่งที่เร่งด่วนที่สุดคือ ประเทศไทยจะต้องมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะตลอดช่วงห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อปกป้องผู้บริโภคและวิถึชึวิตของเกษตรกรรายย่อยในประเทศ"
          วิกฤตโรคอหิวาต์แอฟริกาในขณะนี้คือสัญญาณชี้ชัดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะลดการสนับสนุนอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงนิเวศ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนานโยบายการระบุข้อมูลอย่างโปร่งใสบนฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ที่ระบุถึงกระบวนการผลิตต่าง ๆ [4] เพื่อคืนสิทธิในการรับรู้ข้อมูลและการเลือกบริโภคของประชาชน
          "การออกกฎหมายฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมทุกประเภท คือการแจ้งผู้บริโภคให้รับทราบถึงข้อมูลของเนื้อสัตว์ที่เลือกซื้อ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสิทธิพื้นฐานในการรับรู้ข้อมูลของประชาชน เช่น ข้อมูลของที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและการก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์ อันเกิดมาจากการเลี้ยงสัตว์ในปริมาณมหาศาลของระบบอุตสาหกรรม ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์คือสิ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่ทั้งดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเกษตรกรที่ผลิตอาหารอย่างใส่ใจและปลอดภัย [5]" รัตนศิริ กล่าว
          หมายเหตุ
          [1] https://mgronline.com/indochina/detail/9620000060451
          [2] https://www.reuters.com/article/us-vietnam-swinefever/african-swine-fever-hits-industrial-farms-in-vietnam-28-million-pigs-culled-idUSKCN1TQ0WG
          [3] https://news.thaipbs.or.th/content/281098?fbclid=IwAR3sbgkTALaziIBs9_mGm9U65g_zHwkHrZ-OcjeEyeAFthDZn4_nQaAyjKQ
          [4] กรีนพีซกำลังรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายติดฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทุกประเภทโดยเปิดเผยถึงข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ ที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์ https://act.gp/2FqV82F
          [5] ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ https://www.greenpeace.org/thailand/publication/2989/less-is-more/
 
 

ข่าวกระทรวงเกษตร+อุตสาหกรรมวันนี้

มกอช. ชูผลไม้คุณภาพไทยบุกใจคนจีน

Thai Festival 2025 ปักกิ่งคึกคัก มกอช. ชูผลไม้คุณภาพไทยบุกใจคนจีน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง เข้าร่วมจัดบูทนำเสนอมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย ภายในงาน Thai Festival 2025 Experience Creative Thailand in Beijing โดยได้คัดสรรผลไม้ไทยคุณภาพ อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย มะพร้าว ชมพู่ น้อยหน่า และผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป รวมถึงนวัตกรรมอาหารอนาคต (Future Food) เช่น โปรตีนจิ้งหรีดและไข่ผำ มาจัดแสดงให้ผู้เข้าชม

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

กรมประมง...ส่งเสริมการเพาะเลี้ยง "ปูทะเล"... กรมประมง...หนุนเกษตรกรเปลี่ยน "บ่อกุ้งร้าง" เพื่อสร้างรายได้ด้วยการเลี้ยง "ปูทะเล" — กรมประมง...ส่งเสริมการเพาะเลี้ยง "ปูทะเล" ในบ่อกุ้งร้าง หวังฟื้นแหล่ง...