บอกลาร่างบอลลูน ด้วยการใส่บอลลูนลดอ้วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โรคอ้วน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ โรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น หรือ กระดูกสันหลังเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคอ้วนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับเมื่อ 30 ปีก่อน
          โดยในปี พ.ศ.2558 พบว่าทั่วโลกมีเด็กเป็นโรคอ้วน 107.7 ล้านคนและผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วน 603.7 ล้านคน
          ปัจจุบันมีแนวทางแบบใหม่ในการลดความอ้วน ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ คือการลดความอ้วน โดยการใช้บอลลูนลดความอ้วน พร้อมแนวคิดที่ว่า ไม่ต้องผ่าตัดจึงไม่มีแผลเป็น ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องใช้ยา พักฟื้นได้เร็ว ซึ่งการใส่บอลลูนผ่านการส่องกล้องเข้าสู่กระเพาะอาหาร ทำให้พื้นที่ในกระเพาะลดลงและรู้สึกอิ่ม ทานอาหารได้น้อยลง และสามารถปรับขนาดบอลลูนได้ตามต้องการ อายุการใช้งาน 1 ปี ลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 24 กิโลกรัม ต่อปี
          ขั้นตอนการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
          วิธีการใส่บอลลูนจะเหมือนกับการส่องกล้องกระเพาะอาหารทั่วไป โดยเมื่อบอลลูนเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในกระเพาะอาหาร ก็จะใส่สารสีฟ้าที่เรียกว่าเมธิลีนบลูเข้าไปในบอลลูนประมาณ 350 – 500 ซีซี หลังจากนั้นก็เอากล้องออก โดยใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที โดยบอลลูนสามารถปรับขนาดเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการในภายหลัง บอลลูนจะสามารถอยู่ได้นานสูงสุด 1ปี แต่หากพอใจในน้ำหนักที่ลดลง ก็สามารถเอาบอลลูนออกก่อน 1 ปีได้ โดยส่องกล้องเพื่อเอาลูกบอลลูนออกจากร่างกาย
บอกลาร่างบอลลูน ด้วยการใส่บอลลูนลดอ้วน

          ภาวะแทรกซ้อนของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
          ภาวะแทรกซ้อนของการใส่บอลลูนส่วนใหญ่จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้องช่วงสัปดาห์แรกหลังใส่บอลลูน หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นตามลำดับ ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น กระเพาะเป็นแผลสามารถเกิดได้แต่น้อยมากไม่ถึง 0.5% เท่านั้น
          ข้อห้ามในการใช้บอลลูนลดน้ำหนัก
          - ผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนรุนแรง หรือเคยผ่าตัดกระเพาะอาหารและหลอดอาหารมาก่อน
          - มีครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่
          - แพ้ยางซิลิโคน
          - ผู้ที่เป็นโรคประจำตัวรุนแรงอย่างโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงรุนแรงเป็นต้น
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
          ศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ชั้น 3 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
          โทร. 02-836-9999 ต่อ 3821-2

         

ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+ความดันโลหิตสูงวันนี้

เตือน! หัวใจไม่เคยหยุดพัก AF Awareness Month 2023 AF ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว ภัยเงียบที่อาจถึงชีวิต

เดือนกันยายนของทุกปี เป็น AF Awareness Month หรือเดือนแห่งการตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: AF) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่รุนแรงและพบได้บ่อยที่สุด เป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด AF คือ อายุที่มากขึ้น ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน โรคไทรอยด์

เมื่ออายุมากขึ้นและเข้าสู่ช่วง "วัยทอง" น... เติมพลังสำหรับชีวิตวัยทอง...ด้วยอาหารที่เสริมสร้างสุขภาพ — เมื่ออายุมากขึ้นและเข้าสู่ช่วง "วัยทอง" นอกจากการมีอารมณ์ที่แปรปรวนขึ้นแล้ว ระบบต่างๆ ในร่างกาย...

รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลา... รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? — รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลายคนอาจกำลังกังวลและตกใจกับข่าวที่เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิด...

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภ... เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ พร้อมปรับนาฬิกาชีวภาพ — การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพพอๆ กับอาหารและน้ำ เพราะในขณะที่นอนหลับสมองจะเกิดก...

ผู้เชี่ยวชาญชี้คนไทยยังละเลยโรคไขมันในเลื... ไขมันในเลือดสูง ภัยร้ายสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดที่ถูกมองข้าม — ผู้เชี่ยวชาญชี้คนไทยยังละเลยโรคไขมันในเลือดสูง ย้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญไม่แพ้เบาหวานและความด...

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร... ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2 — โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คื...

เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดไ... อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน — เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดัน...

ปัจจุบันความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มขอ... โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) — ปัจจุบันความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งรวมทั้งหลอด...