คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หนุนสร้างนวัตกรสายเฮลท์แคร์และเฮลเทค โดยจัดสนับสนุนทุนการศึกษา จำนวน 3 ทุน แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ, หลักสูตรพหุวิทยาการ) ในปีการศึกษา 2563 สำหรับนักศึกษารอบ Admission โดยมีคุณสมบัติดังนี้ ข้อ 1 มีคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่า 21,000 คะแนน ข้อ 2 คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 ข้อ 3. ต้องลงทะเบียนเรียนติดต่อกันทุกภาคการศึกษา
รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างผลงานวิจัยและบุคลากรมากว่า 22 ปี เปิดสอนเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย มาตั้งแต่ 2541 จนถึงปัจจุบัน สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เริ่มเปิดในปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่โลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดโควิด-19 หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรร่วมระหว่าง 2 สถาบันชั้นนำของไทยและสหราชอาณาจักร คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีกว่า 22 ปี กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (University of Strathclyde) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและการ พัฒนาประเทศ สู่ไทยแลนด์ 4.0 เพิ่มบุคลากรและงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ระดับโลก เป้าหมายของหลักสูตรมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถจัดการกับปัญหาทั้งทางด้านวิศวกรรมและทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประชาคมระหว่างประเทศได้ โดยหลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมชีวการแพทย์นี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 ปี
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 Active Learning การคิดวิเคราะห์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการทำโครงการและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน ซึ่งต่างมีลักษณะที่โดดเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ได้แก่ มีความหลากหลายทางด้านโครงงานและงานวิจัย, มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง, มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับผู้ประกอบการและธุรกิจ, ตลอดจนประสบการณ์ในความสำเร็จและประวัติศาสตร์อันยาวนานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เสริมสร้างนักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการและรองรับภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของโลกที่กำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมไปกับพัฒนาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่เป้าหมายร่วมกัน
สัญญาณต่างๆในร่างกายมนุษย์ นับเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อวงการสุขภาพการแพทย์ยุคใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรมาตรฐานโลก จาก ABET สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Biomedical Signals Processing
PCL ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
—
คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้...
ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน"Brain Track" เพื่อคนไทยห่างไกลภาวะสมองเสื่อม
—
"สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่ให้เ...
วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...
ม.มหิดล เชื่อมั่นใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไทย เข้าถึงการรักษา และชีวิตยืนยาว
—
ไม่มีใครยอมปล่อยให้บุคคลที่เรารักต้องกลายเป็...
สายหวานมีเฮ! วช. นำเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด โชว์เวที NRCT Talk
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...
ม.มหิดล เปิดเว็บไซต์ AIThaiGen สร้างนักเรียน-ครูพันธุ์ใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยีแห่งอนาคต
—
หากสามารถทำให้แพทย์เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" และ "ผู้ใช้" เทคโนโลยีด้วยความ...
ม.มหิดลสร้างสรรค์และพัฒนาอุปกรณ์เทียบวัดสมรรถนะหัวเก็บภาพอัลตราซาวด์ ทางเลือกวินิจฉัยปลอดภัยจากรังสี
—
ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับความเหมาะ...
วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ
—
นวัตกรรมและวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BioMedica...
วิศวะมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ต้อนรับ นศ.ใหม่...สู่วิศวกรระดับโลก
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ผ่านระ...