ไม่มีใครยอมปล่อยให้บุคคลที่เรารักต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ไร้การเหลียวแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยและผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ และไม่อยู่ในสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองได้ในขณะเดียวกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิจัยและนวัตกรผู้มีศักยภาพสูงในการนำเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์มาใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยไทย
ด้วยเทคโนโลยี "Nano Coating" ที่ได้นำมาใช้กับแผ่นรองนอน โดยเคลือบสารที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อ เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยคุณภาพของ รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณสงขลา ซึ่งได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียงของไทยดีขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าแผ่นรองนอนจากต่างประเทศที่มีราคาแพง
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา ยังได้ออกแบบแผ่นรองนอนเคลือบสารนาโนต้านแบคทีเรียดังกล่าว ให้เป็นแผ่นรองนอนแบบพร้อมใช้ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในบ้าน และสถานพยาบาล-พักฟื้น เพื่อขจัดปัญหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวพลิกตัวจนเกิดแผลกดทับ อีกทั้งยังต้องติดเชื้อจากการที่แผลกดทับนั้นไปสัมผัสกับแผ่นรองนอนที่เปื้อนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ซึ่งเป็นทิศทางการสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัยจากโจทย์จริงที่ได้จากผู้ป่วยโดยตรง โดยนอกจากที่ รองศาสตราจารย์ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา ได้นำเทคโนโลยี Nano Coating มาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียงดังกล่าวแล้ว ยังได้สร้างสรรค์และพัฒนาระบบส่งยาต้านมะเร็งโดยการใช้ชีววัสดุเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ และยืดระยะเวลาการรอดชีวิตของเซลล์ ซึ่งนับเป็นเทรนด์ใหม่ของการนำเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วยไทยในอนาคต
ด้วยการทดลองบรรจุยาต้านมะเร็งในสารอนุภาคนาโน แล้วทำการรักษาโดยฉีดเข้าเส้นเลือด จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า ไม่เป็นพิษต่อสัตว์ทดลอง และสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งตับได้
สำหรับในปีหน้า 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณสงขลา เตรียมวางแผนเดินหน้าโครงการวิจัยด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ถึง 12 โครงการ โดยเชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพแห่งนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล จะสามารถพิสูจน์ได้ถึงปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่พร้อมสร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้ป่วยชาวไทยได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษา และมีชีวิตที่ยืนยาวได้ต่อไป
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัญญาณต่างๆในร่างกายมนุษย์ นับเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อวงการสุขภาพการแพทย์ยุคใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรมาตรฐานโลก จาก ABET สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Biomedical Signals Processing
PCL ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
—
คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้...
ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน"Brain Track" เพื่อคนไทยห่างไกลภาวะสมองเสื่อม
—
"สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่ให้เ...
วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...
สายหวานมีเฮ! วช. นำเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด โชว์เวที NRCT Talk
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...
ม.มหิดล เปิดเว็บไซต์ AIThaiGen สร้างนักเรียน-ครูพันธุ์ใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยีแห่งอนาคต
—
หากสามารถทำให้แพทย์เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" และ "ผู้ใช้" เทคโนโลยีด้วยความ...
ม.มหิดลสร้างสรรค์และพัฒนาอุปกรณ์เทียบวัดสมรรถนะหัวเก็บภาพอัลตราซาวด์ ทางเลือกวินิจฉัยปลอดภัยจากรังสี
—
ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับความเหมาะ...
วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ
—
นวัตกรรมและวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BioMedica...
วิศวะมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ต้อนรับ นศ.ใหม่...สู่วิศวกรระดับโลก
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ผ่านระ...