หากสามารถทำให้แพทย์เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" และ "ผู้ใช้" เทคโนโลยีด้วยความเข้าใจ ประโยชน์ที่จะได้อย่างแน่นอนคือ ผู้ป่วย
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ผู้มากด้วยประสบการณ์ในการทำงานวิจัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำงานของแพทย์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จนได้ถ่ายทอดออกมาหล่อหลอม "แพทย์นวัตกร" ให้พร้อมก้าวทันโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
โดยเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันนักศึกษาแพทย์ให้เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" และ "ผู้ใช้" เทคโนโลยี เนื่องด้วยผู้ที่จะเข้าใจโจทย์ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดีที่สุด คือ "ผู้รักษา" และเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
แม้จะไม่ถึงกับเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีขึ้นเอง แต่หากสามารถทำให้ "นักศึกษาแพทย์นวัตกร" สื่อสารกับวิศวกรได้ด้วยความเข้าใจ จะเป็น ความสำเร็จที่แท้จริงของการพัฒนาหลักสูตรเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
และจากความพยายามในการร่วมผลักดันนักศึกษาแพทย์สู่โลกแห่งนวัตกรรมเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ ได้ขยายผลสู่ "ระดับรากฐาน" โดยหวังให้เยาวชนไทยได้ "หยั่งลึก" สู่ "โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์ (AI)" ด้วยการเปิดเว็บไซต์ AIThaiGen เพื่อสร้าง "นักเรียนและครูพันธุ์ใหม่ใส่ใจเทคโนโลยี" เสริมการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
เด็กๆ จะได้เรียนรู้เทคโนโลยี AI ใหม่ๆ อาทิ การสร้างโปรแกรมตรวจจับการเคลื่อนไหวของใบหน้า เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ตลอดจนเพื่อทำให้การใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย ผ่านการเรียนรู้ทักษะการใช้ AI ด้วยตัวเอง
ขอเพียงไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และใส่ใจสิ่งรอบตัวAIThaiGen พร้อมเปิดกว้างให้เด็กๆ ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ https://aithaigen.in.th โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ พร้อมอำนวยการ"ว่าที่นักนวัตกร" ซึ่งจะเป็นความหวังใหม่ของโลกแห่งอนาคต ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ภาพจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PCL ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน (ซ้าย) อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อสร้างความร่วมมือในหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์และสาขาที่เกี่ยวข้อง การวิจัย การพัฒนาบุคลากรทางด้านบริหารจัดการเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในห้องปฏิบัติการ (Medical Laboratory) และงานวิศวกรรมโรงพยาบาล โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความรู้ที่ตรงกับความต้องการของ "สถานประกอบการ"
วิศวะมหิดล จัดเวิร์กชอป "การประมวลผลและวิเคราะห์สัญญาณชีวการแพทย์" (Biomedical Signals Processing and Analysis) สมัครวันนี้ - 19 มิ.ย. 66
—
สัญญาณต่างๆในร...
ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน"Brain Track" เพื่อคนไทยห่างไกลภาวะสมองเสื่อม
—
"สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่ให้เ...
วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...
ม.มหิดล เชื่อมั่นใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไทย เข้าถึงการรักษา และชีวิตยืนยาว
—
ไม่มีใครยอมปล่อยให้บุคคลที่เรารักต้องกลายเป็...
สายหวานมีเฮ! วช. นำเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด โชว์เวที NRCT Talk
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...
ม.มหิดลสร้างสรรค์และพัฒนาอุปกรณ์เทียบวัดสมรรถนะหัวเก็บภาพอัลตราซาวด์ ทางเลือกวินิจฉัยปลอดภัยจากรังสี
—
ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับความเหมาะ...
วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ
—
นวัตกรรมและวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BioMedica...
วิศวะมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ต้อนรับ นศ.ใหม่...สู่วิศวกรระดับโลก
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ผ่านระ...