วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นวัตกรรมและวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BioMedical Engineering) มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของประเทศและโลก ดังนั้นการเสริมสร้างประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ (Medical Hub) ในภูมิภาคโลกอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องสร้างเสริมกำลังคนรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพี่อสร้างสรรค์เฮลท์แคร์และเฮลท์เทครองรับวิถีอนาคต ท่ามกลางความท้าทายของโรคอุบัติใหม่และปัญหาทางสุขภาพ

วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ

รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิศวะมหิดล ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ภายใต้แนวนโยบายการบริหารของ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี มีเป้าหมายที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ของไทยเป็น "วิศวกรชีวการแพทย์" ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างสูงในนานาประเทศ เนื่องด้วยแต่ละประเทศให้ความสำคัญต่อสุขภาพและสถานการณ์โรคภัยซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชน สังคม และเศรษฐกิจ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ สหราชอาณาจักร จะมอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่เข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในปีการศึกษา 2565 รอบ Academically Talented and Gifted Students จำนวน 2 ทุน เปิดสมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 23 มิถุนายน 2565 โดยเป็นนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าค่ายฝึกอบรมโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ศึกษา ค่าย 2 ของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ในทุกภาคการศึกษา วิศวะมหิดล - ม.สแตรธไคลด์ มอบทุนศึกษา 'วิศวกรรมชีวการแพทย์' สร้างนวัตกร...สู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์นานาชาติ

ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร ป.ตรีสองปริญญา หรือ Double Degree ระหว่าง 2 สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (University of Strathclyde) แห่งสหราชอาณาจักร เพื่อผลิตบัณฑิตที่คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลสู่ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากรและงานวิจัยคุณภาพเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ระดับโลก โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสบการณ์ด้านงานวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมศาสตร์ในระดับสากล รวมถึงความแข็งแกร่งทางวิชาการด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีมายาวนานกว่า 15 ปี และมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในหลายประเทศที่มีความพร้อมในการสร้างหลักสูตรร่วมกัน

ด้าน มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม การได้ทำหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สู่การเป็นผู้ประกอบการและรองรับภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของโลก นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในต่างประเทศที่มีความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันพัฒนากิจกรรมในหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและยกระดับพหุศาสตร์ด้านวิศวกรรม

นอกจากนี้ หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ) นี้ จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาเปิดโลกกว้างไปศึกษาในสหราชอาณาจักร ณ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ เป็นเวลา 2 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี โดยจะเน้นการศึกษาที่ก้าวหน้าในการทำโครงการและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน ซึ่งจะเสริมประสบการณ์ระดับนานาชาติที่มีคุณประโยชน์ยิ่งต่อผู้เรียน ได้แก่ ความหลากหลายด้านโครงงานและงานวิจัย ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการและธุรกิจสตาร์ทอัพจากความสำเร็จและประสบการณ์อันยาวนานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นต้น

ผู้สนใจเข้ารับทุนการศึกษา สมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 23 มิ.ย. 65 ผ่านเว็บไซต์ https://citly.me/MHDtE โดยเลือกสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-4414255 หรือ Email: [email protected] , [email protected]


ข่าววิศวกรรมชีวการแพทย์+คณะวิศวกรรมศาสตร์วันนี้

วิศวะมหิดล จัดเวิร์กชอป "การประมวลผลและวิเคราะห์สัญญาณชีวการแพทย์" (Biomedical Signals Processing and Analysis) สมัครวันนี้ - 19 มิ.ย. 66

สัญญาณต่างๆในร่างกายมนุษย์ นับเป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อวงการสุขภาพการแพทย์ยุคใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรมาตรฐานโลก จาก ABET สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "Biomedical Signals Processing

คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน... PCL ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ — คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้...

"สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยส... ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน"Brain Track" เพื่อคนไทยห่างไกลภาวะสมองเสื่อม — "สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่ให้เ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahid... วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... สายหวานมีเฮ! วช. นำเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด โชว์เวที NRCT Talk — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...

หากสามารถทำให้แพทย์เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" แล... ม.มหิดล เปิดเว็บไซต์ AIThaiGen สร้างนักเรียน-ครูพันธุ์ใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยีแห่งอนาคต — หากสามารถทำให้แพทย์เป็นทั้ง "ผู้สร้าง" และ "ผู้ใช้" เทคโนโลยีด้วยความ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน... วิศวะมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ต้อนรับ นศ.ใหม่...สู่วิศวกรระดับโลก — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ผ่านระ...