สศก. ศึกษาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เดินหน้ายกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้า GI จ.ร้อยเอ็ด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นหนึ่งในสินค้าข้าวที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เมื่อปี 2549 ซึ่งการผลิตสินค้าข้าว GI ในแหล่งภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียน เป็นการสร้างสินค้าข้าวที่มีเอกลักษณ์ต่างจากแหล่งผลิตอื่น จึงนับว่าเป็นโอกาสทางการค้า การตลาด รวมถึงเป็นการยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าข้าวคุณภาพที่ได้มาตรฐานการผลิต สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

สศก. ศึกษาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เดินหน้ายกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้า GI จ.ร้อยเอ็ด

ปัจจุบัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร (ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด) มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 2,707,390 ไร่ โดยในปี 2562 จังหวัดร้อยเอ็ดมีเนื้อที่เพาะปลูกมากที่สุดประมาณ 826,724 ไร่ ให้ผลผลิตรวม276,953 ตัน มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ หนองฮี ปทุมรัตน์ และโพนทราย

สศก. โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,449 บาท/ไร่ช่วงการเพาะปลูกระหว่างเดือน เมษายน - สิงหาคม ระยะเวลาเก็บเกี่ยวระหว่างเดือน ตุลาคม – ธันวาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 360 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทน 5,125 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 676 บาท/ไร่ โดยเกษตรกรส่งขายข้าวเปลือกให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 14.23 บาท/กิโลกรัม และในส่วนของการแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุง (ขนาดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม)ราคาเฉลี่ย 40 - 45 บาท/ถุง และข้าวกล้องบรรจุถุงสุญญากาศ ราคาเฉลี่ย 60 - 75 บาท/ถุง

สำหรับสถานการณ์ด้านตลาด พบว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ GI มีตลาดรองรับผลผลิต ที่ชัดเจนรวมถึงยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ ตลาด modern trade การออกบูธงานแสดงสินค้าและงานสำคัญของจังหวัด โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสุขภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถขายสินค้าเกรดพรีเมี่ยมได้ในราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากมีการขายในลักษณะของฝากของที่ระลึกขณะเดียวกันผู้บริโภคยังสามารถมั่นใจในเรื่องการผลิตของข้าวหอมมะลิ GI ได้อย่างแน่นอนเพราะในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีการดูแลจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกเป็นอย่างดี ตั้งแต่กระบวนการคัดเมล็ดพันธุ์ที่ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ การดูแลรักษา ไปจนถึงการแปรรูป

ด้านนายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการ สศท.4 กล่าวเสริมว่า สำหรับผลศึกษาดังกล่าว สศท.4 ได้มีการจัด focus group เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และจะมีการนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยและประเมินผล ภายในวันที่ 16 – 17 กันยายนนี้ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าว นอกจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายมาตรการสนับสนุนการผลิตสินค้า GI แล้ว ยังสามารถนำไปช่วยเกษตรกรในการบริหารจัดการต้นทุนให้เหมาะสม เกษตรกรมีอำนาจต่อรองในการจัดซื้อวัตถุดิบ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการ/โรงสี ยังได้รับเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน GI มีช่องทางการจำหน่าย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปแล้ว (ข้าวสาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ) ได้ราคาสูงกว่าข้าวที่ไม่ได้ตรารับรอง GI ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สศท.4 โทร. 043 261 513 ต่อ 17 หรืออีเมล [email protected]


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...