คัมภีร์ต้านโรคซึมเศร้าไม่ให้เข้ามาแทรกซึมเรา
เชื่อว่าสองสามปีมานี้ "โรคซึมเศร้า" ได้กลายเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยขึ้นเหมือนโรคมะเร็งเลยก็ว่าได้ เพราะในวงสังคมรอบๆ ตัวเราต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เคยป่วยเป็นโรคนี้แน่ๆ ซึ่งปัจจัยก็มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งสภาพแวดล้อม ความเครียดสะสม เคมีในสมองผิดปกติ รวมถึงการจมอยู่ในความทุกข์ตลอดเวลาก็ยิ่งส่งผลให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ซึ่งวันนี้หมอมีเทคนิคการรับมือไม่ให้เราก้าวเข้าไปสู่ด้านมืดของโลกซึมเศร้ามาฝาก รับรองว่าทำตามแล้วช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ขึ้นกับตัวเราได้แน่นอน
* สิ่งแรกคือต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือข้อเสียของตัวเรา เพื่อช่วยให้คุณรับมือกับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือผิดหวังได้ ที่สำคัญต้องรู้จักขอบคุณตัวเองและแสดงความภูมิใจในตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงหมั่นสังเกตความสุขเล็กๆ น้อยๆ ด้วย เช่น วันนี้ออกจากบ้านไปขึ้นรถไฟฟ้า แค่รถมาเร็วไม่ต้องรอนานก็สามารถเปลี่ยนทัศนะคติให้เป็นความสุขได้แล้วเห็นไหม ฝึกมองเรื่องต่างๆ รอบตัวให้เป็น Positive Thinking ฝึกมองคนอื่นในแง่ดีและรู้จักชื่นชมคนอื่นก็ช่วยให้เราไม่ทุกข์แล้ว
* ต่อมาอย่าเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีอัดอั้นเอาไว้ข้างใน การระบายและปลดปล่อยความรู้สึกออกมา ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธ เศร้า เสียใจ ร้องไห้ ก็ช่วยให้ร่างกายได้รีแล็กซ์ลงมาบ้างแล้ว อาจจะเริ่มจากการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ หรือไปร้านคาราโอเกะเพื่อตะโกนให้สุดเสียง หรือร้องไห้ออกมาดังๆ เมื่อเราไม่ไหว หรือเปลี่ยนความรู้สึกลงในสมุดบันทึกอะไรเหล่านี้ ก็จะช่วยให้รู้สึกดีกว่าเก็บเอาไว้ในใจ โดยแบกความเครียดเอาไว้เพียงคนเดียวนะ
* ที่สำคัญช่วงวันหยุดให้หาโอกาสออกไปเที่ยวบ้าง เพราะการหนีจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวจะทำให้เห็นโลกในมุมมองใหม่ๆ การที่ได้ไปพบเห็นผู้คน วัฒนธรรม และสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความเศร้า รวมถึงการออกท่องเที่ยวจะช่วยทำให้กลับมาแล้วรู้สึกมีพลังมากขึ้นอีกด้วย
* และในช่วงเวลาที่หม่นหมอง การพาตัวเองไปอยู่กับความสนุกสนาน เช่น ดูหนังตลก พูดคุยกับเพื่อนๆ เรื่องขำขัน หรือแม้กระทั่งนั่งเล่นกับสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ก็ช่วยให้อารมณ์ของเราผ่อนคลายลงได้ ถึงแม้ในบางครั้งจะเครียดหรือเศร้า แต่ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่ดีไร้ความหม่นหมองก็ช่วยให้คลายเครียดคลายเศร้าได้เช่นกันนะ
* และที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับสารเคมีเซโรโทนินในสมอง และเพิ่มการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดี แถมสุขภาพด้านอื่นๆ ก็ดีขึ้นตามด้วย พอสุขภาพดีไร้โรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ในมิติสุขภาพก็จะหายไปด้วย เรียกว่าออกกำลังกายทีเดียว ช่วยได้แบบ 2 in 1 เลยก็ว่าได้
หรือหากไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้จริงๆ ก็อย่าลังเลที่จะไปพบจิตแพทย์นะ เพราะเราคือคนป่วย ใครๆ ก็ป่วยกันได้ ฉะนั้นคนป่วยที่มาหาหมอก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะโรคซึมเศร้าคือ "โรค" การป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" เราสามารถรักษาหายได้นะ ไม่ใช่เป็นแล้วเป็นเลยต้องป่วยตลอดชีวิตเน้อ
ในวันที่คุณต้องตื่นเช้าขึ้นมา ทั้งที่ยังรู้สึกหมดแรง ทั้งที่ใจไม่ไหว แต่ก็ต้องฝืนเดินต่อ คุณไม่ได้เผชิญสิ่งนี้เพียงลำพัง หลายคนอาจคิดว่า...เหนื่อยก็พัก เดี๋ยวก็หาย แต่ในความเป็นจริง เมื่อความเหนื่อยล้าสะสมทั้งกายและใจ จนเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ หรือหน้าที่การงาน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของความเครียดเรื้อรัง หรือแม้แต่โรคซึมเศร้าโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนว่า...ใจคุณอาจไม่ไหวแล้ว รู้สึกหมดแรงแม้ไม่ได้ใช้แรงกาย นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป ไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบ
การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป
—
เมื่อพูดถึง "การฆ่าตัวตาย" หลายคนมักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริง ปัจจัยที่ผลัก...
ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา
—
ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออก...
ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
—
ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...
ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น
—
มาทำความความรู้จักกับ "ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น" หรือ Masked Depression เป็นภาวะที่หลายคน...
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดผลสำรวจเนื่องในวัน "Blue Monday": โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค ครองแชมป์ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
—
ความเครียดและควา...
ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ
—
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แม้ว่...
4 ขั้นตอนการดูแลจิตใจตัวเองของผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยซึมเศร้า
—
"เหนื่อยไหม?" คำถามที่แพทย์มักถามญาติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสมอ เพราะการดูแลคนที่เรารักที่กำลังเผชิญ...
โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
—
"โรคซึมเศร้า" อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าโรคนี้สามารถร...
การพัฒนาแอปพลิเคชัน "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน"
—
สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคม...