นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เปิดเผยเกี่ยวกับเทรนด์คนรักสุขภาพในปัจจุบัน โดยเฉพาะความนิยมการรับประทาน "ถั่งเช่า" ซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณประโยชน์สำคัญในการมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ฤทธิ์ปกป้องไต ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ แต่การศึกษาสรรพคุณและความปลอดภัยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบยังพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น
ซึ่งนอกจากถั่งเช่าจะมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วยังมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซึ่งโลหะหนักดังกล่าวในถั่งเช่าสายพันธุ์ธรรมชาติมาจากดิน แหล่งน้ำ และกากตะกอนของเสียที่ปลดปล่อยจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรมต่างๆ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีข้อแนะนำให้ประชาชนในการเลือกซื้อถั่งเช่าที่สามารถตรวจสอบในฉลากผลิตภัณฑ์ว่าเป็นถั่งเช่าสายพันธุ์ชนิดใด ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ใช้ถั่งเช่าสีทองสายพันธุ์ Cordyceps militaris ในรูปแบบอบแห้งหรือบดผง เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้ ปริมาณไม่เกิน 230 มิลลิกรัมต่อวัน
โดยมีข้อกำหนดสารปนเปื้อนคือ สารหนู ไม่เกิน 2 mg/kg. ตะกั่ว ไม่เกิน 1 mg/kg. ปรอท ไม่เกิน 0.5 mg/kg. และเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคคือ Escherichia coli น้อยกว่า 3.0 MPN/g. ต้องไม่พบ Salmonella spp. ในอาหาร 25 กรัม และไม่พบ Staphylococcus aureus ในอาหาร 0.1 กรัม ทั้งนี้ ต้องมีปริมาณสารสำคัญ คอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกรัม และอะดีโนซีน (Adenosine) ไม่เกิน 1.7 มิลลิกรัมต่อกรัม และยังไม่สามารถแสดงการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีถั่งเช่าสีทอง (C.militaris) เป็นส่วนประกอบได้ จนกว่าจะได้รับการพิจารณาอนุญาตจาก อย. ตามคู่มือประชาชน เรื่อง การประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ
ดังนั้น การรับประทานถั่งเช่าควรทำตามข้อแนะนำที่ระบุในผลิตภัณฑ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการรับประทานถั่งเช่าในปริมาณที่มากเกินไปหรือเป็นระยะเวลานานอาจจะได้รับจุลินทรีย์ก่อโรคหรือโลหะหนักในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ และก่อนที่ซื้อควรตรวจสอบการได้รับใบอนุญาตจาก อย. ได้ที่เว็บไซต์ http://porta.fda.moph.go.th/.../MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
ผู้ที่ต้องการทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและปริมาณโลหะหนักของผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า สามารถส่งทดสอบได้ที่ กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2201-7000ในวันและเวลาราชการ
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประธานในพิธี มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ในฐานะที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ของบริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด มีระบบการทดสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล ได้รับการรับรองระบบงานฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025, ISO/IEC 17043 และ ISO 17034 โดยมี นางสาวทัศนีย์ เกื้อกูล หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพ แผนกประกันคุณภาพโรงงานวังม่วง บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด
Lab วิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช วว. รับมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบัน...
วศ. MOU ม.อ. เดินหน้าพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการฯ ตอบสนองความต้องการประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นป...
วศ. ร่วมกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
—
ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ...
วศ. จับมือ วช. เปิดตัวความร่วมมือ โครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ รูปแบบ Peer Evaluation
—
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร...
วศ.อว. เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ยกระดับตามมาตรฐานความปลอดภัย มอก.2677
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็น...
วศ.อว.จัดสัมมนาฯเสริมแกร่ง NQI ต่อยอดข้อมูลเชื่อมโยงเครือข่ายโครงสร้างคุณภาพของประเทศ
—
วันที่ 15 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์...
วศ.มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
—
วันที่ 7 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีก...
วศ. MOU มทร.พระนคร เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสู่ระดับสากล
—
19 สิงหาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...
วศ. พัฒนาเครื่องมือทดสอบชุด PAPRพร้อมให้บริการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยพัฒนาชุด PAPR คุณภาพสูง
—
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศ...