นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้ออย่างอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์ หรือ ชุด PAPR ที่ใช้ในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรทาง การแพทย์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนหนึ่งได้พัฒนาชุด PAPR ขึ้นเองในประเทศ
ซึ่ง วศ. มีความห่วงใยจึงได้พัฒนาเครื่องมือและงานบริการทดสอบชุด PAPR ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยที่พัฒนาและผลิตชุด PAPR เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งานบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจากการระบาดของโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น ดร.กรธรรม สถิรกุล หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม ให้ข้อมูลว่าที่ผ่านมา วศ. ได้จัดทำประกาศ เรื่อง "ข้อกำหนดคุณลักษณะอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์แบบหมวกคลุมครอบศีรษะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์" หรือ PAPR ลงวันที่ 16 ธ.ค 2563 และได้เร่งพัฒนาสร้างเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุด PAPRจนสามารถให้บริการทดสอบได้เป็นอย่างดี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตร อาทิ วชิรพยาบาล สจล. และภาคเอกชนต่างๆ
ปัจจุบัน วศ.ได้ให้บริการทดสอบประสิทธิภาพชุด PAPRให้แก่ผู้ผลิตไทยจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์นี้ที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ สำหรับชุดPAPR หรือ Powered air purifying respirator with a helmet or a hood for medical and health care personnel เป็นอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์สวมใส่ในขณะดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการรั่วซึมเข้า (total inward leakage) ความสามารถในการจ่ายอากาศ (air supply) และ การต้านการหายใจ (breathing resistance) ปัจจุบันมี วศ.หน่วยงานเดียวในประเทศไทยที่สามารถให้บริการทดสอบรายการดังกล่าว
หากมีผู้ผลิตรายใดมีความประสงค์ที่จะรับบริการทดสอบชุด PAPR และผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ โทร 02 201 7000 ได้ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางอีเมล [email protected]
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประธานในพิธี มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ในฐานะที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ของบริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด มีระบบการทดสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล ได้รับการรับรองระบบงานฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025, ISO/IEC 17043 และ ISO 17034 โดยมี นางสาวทัศนีย์ เกื้อกูล หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพ แผนกประกันคุณภาพโรงงานวังม่วง บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด
Lab วิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช วว. รับมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบัน...
วศ. MOU ม.อ. เดินหน้าพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการฯ ตอบสนองความต้องการประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นป...
วศ. ร่วมกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
—
ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ...
วศ. จับมือ วช. เปิดตัวความร่วมมือ โครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ รูปแบบ Peer Evaluation
—
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร...
วศ.อว. เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ยกระดับตามมาตรฐานความปลอดภัย มอก.2677
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็น...
วศ.อว.จัดสัมมนาฯเสริมแกร่ง NQI ต่อยอดข้อมูลเชื่อมโยงเครือข่ายโครงสร้างคุณภาพของประเทศ
—
วันที่ 15 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์...
วศ.มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
—
วันที่ 7 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีก...
วศ. MOU มทร.พระนคร เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสู่ระดับสากล
—
19 สิงหาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...