กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้พัฒนาชุดสมาร์ทคิท หรือชุดถ่ายโอนมาตรฐาน (transfer standard) ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการอ่านค่าอุณหภูมิของเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยตรวจหรือจุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID - 19 มีความมั่นใจว่ามีผลการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มีความห่วงใยในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID - 19 ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งยังมีแนวโน้มการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง จึงให้นักวิทยาศาสตร์เร่งเดินหน้างานวิจัยและนวัตกรรมในหลายๆ ด้าน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงในปัจจุบัน และในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดตั้งจุดคัดกรองเพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID - 19 ซึ่งสังเกตได้จากผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37.5 องศา ซึ่งปัจจุบันตามจุดคัดกรองต่างๆนิยมใช้เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) หรือ Non-Contact Thermometer ที่ใช้เทคโนโลยีอินฟาเรด เนื่องจากเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิที่สะดวกและปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้ถูกตรวจ และถึงแม้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิจะมีความสะดวกและปลอดภัยแต่ก็มีโอกาสผิดพลาดของผลการวัดและอาจส่งผลให้การคัดกรองผู้ป่วยมีความผิดพลาดได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัยพัฒนาที่ วศ. ให้ความสำคัญ และเป็นการเสริมประสิทธิภาพให้จุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น เป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ ด้านนายวันชัย ชินชูศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนายวีระชัย วาริยาตร์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว มีหลักการทำงานโดยเมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านวงจรของสารกึ่งตัวนำความร้อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นที่จุดรอยต่อด้านหนึ่งและจะถูกดูดกลืนอีกด้านหนึ่งเรียกว่า Peltier Effect ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้ในการพัฒนาชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว โดยสถานภาพปัจจุบันชุดสมาร์ทคิทนี้ ได้ยื่นขอใบรับรองการจดอนุสิทธิบัตรแล้ว น่าจะใช้เวลาในการรับรองไม่เกิน 6 เดือน โดย วศ. พร้อมทำเป็นเครื่องต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการต่อไป
นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านการบูรณาการงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยอาศัยศักยภาพด้านบุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยีของหน่วยงาน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "
กรมวิทย์ฯ บริการ ประกาศความพร้อม!! เปิดให้บริการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน "DSS Recognized Lab" ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการไทย
—
กรมวิทยาศาสตร์บ...
กรมวิทย์ฯ บริการ เดินหน้าพัฒนาผู้ประเมิน เสริมองค์ความรู้ การควบคุมคุณภาพผลการวิเคราะห์ทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม
—
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ประชุมวิชาการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันจากกัญชง ณ จังหวัดนครราชสีมา
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรว...
กรมวิทย์ฯ หารือ GISTDA เร่งสร้างความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและระบบทดสอบมาตรฐานสากล ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศแห่งอนาคต
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ก...
กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนเทคโนโลยีพัฒนาผู้ประกอบการด้านกระดาษและบรรจุภัณฑ์รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
—
เมื่อวันที่...
กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ อพวช. หนุนบุคลากร "พัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์" เสริมพลังการสื่อสารสร้างการรับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงประชาชน
—
กรมวิทยาศาสตร์บริ...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...