วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติที่แรกของโลก ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20%

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ (Automate Vaccine) ช่วยดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า บรรจุลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว 4 นาทีทำได้ 12 เข็ม ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20% ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์

วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติที่แรกของโลก ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20%

ทั้งนี้ เครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ (Automate Vaccine) ได้รับการพัฒนาโดย ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมวิจัย ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และภาคเอกชน ทำให้การดูดวัคซีนและแบ่งบรรจุวัคซีนแต่ละโดสมีความแม่นยำตามที่กำหนด

ในการแบ่งบรรจุวัคซีนนั้น เจ้าหน้าที่จะเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศ ใช้หลักการดูดของเหลว โดยมี Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรงแล้วจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด เครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาที จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป

สำหรับภาคเอกชนที่สนใจสนับสนุนเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ สามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 089-495-5941 และสามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟสบุ๊คเพจ EngineLife


ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) จำนวนทั้งสิ้น 238 คน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ การพัฒนานวัตกรรม นำความรู้ที่ได้ไปสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในอนาคต โดยมีนายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยผู้บริหาร นักวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าร... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ย... นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในงาน 30 บาทรักษาทุกที่ — นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใ...